ลาว
ประกาศเมื่อ 11 ส.ค.64 จะจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ในปี 2565 ให้ครอบคลุมประชาชนทุกคน เนื่องจากวัคซีนให้เปล่าจากโครงการ COVAX ของ WHO และพันธมิตรจะครบสัญญาในปลายปี 2564
ประกาศเมื่อ 11 ส.ค.64 จะจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ในปี 2565 ให้ครอบคลุมประชาชนทุกคน เนื่องจากวัคซีนให้เปล่าจากโครงการ COVAX ของ WHO และพันธมิตรจะครบสัญญาในปลายปี 2564
หนังสือพิมพ์ Khmer Times ฉบับ 11 ส.ค.64 รายงานอ้างคำกล่าวของนาย Theng Savoeun ประธานกลุ่ม Coalition of Cambodian Farmer Communities (CCFC) เรียกร้องให้กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงกัมพูชา ควบคุมราคา ปรับลดภาษีการนำเข้าสินค้าทางการเกษตร และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการลดต้นทุนการทำการเกษตร ด้วยการดึงดูดให้นักลงทุนเข้าลงทุนการผลิตปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชใช้เองในประเทศแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ เป้าหมายเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนในห้วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ห้วงเดียวกัน กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง เริ่มดำเนินโครงการแจกจ่ายพันธ์ุสัตว์ให้กับประชาชนที่อาศัยใกล้พื้นที่ป่าสงวน ครอบคลุม จังหวัดมณฑลคีรี พระวิหาร และฟาร์มปศุสัตว์ในราชธานีพนมเปญ จังหวัดกัมปงสปือ จังหวัดกัมปงจาม จังหวัดกัมปงทม เพื่อสร้างรายได้และส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน รวมทั้งปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและลดการลักลอบตัดและค้าไม้ พันธุ์สัตว์ดังกล่าวประกอบไปด้วย แพะ 267 ตัว แกะ 247 ตัว กระบือ 216 ตัว โคเลี้ยงขนาดเล็ก 153 ตัว โคเลี้ยงขนาดใหญ่ 61 ตัว สุกร 50…
สำนักข่าวเมียนมานาว รายงานเมื่อ 10 ส.ค.64 ว่า เกิดเหตุระเบิด 7 แห่ง ในย่างกุ้ง เมื่อช่วงบ่ายของ 10 ส.ค.64 ต่อเป้าหมายสถานีตำรวจและสำนักงานของสมาคมยุวพุทธ (Young Men’s Buddhist Association-YMBA) เบื้องต้นกองกำลังป้องกันประชาชน (PDF) กลุ่ม Urban Guerrilla Revolution Force (UGRF) อ้างว่า เป็นผู้ก่อเหตุ 5 แห่ง ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเป้าหมายสถานีตำรวจและสถานีตำรวจจราจร และยังไม่มีกลุ่มใดอ้างความรับผิดชอบต่อเป้าหมาย YMBA
สำนักข่าว รอยเตอร์ส รายงานเมื่อ 10 ส.ค.64 อ้างการเปิดเผยของ กระทรวงการต่างประเทศเมียนมา ว่า เมียนมาจะได้รับเงินทุนสนับสนุนจากจีนจำนวน 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้กองทุนพิเศษของความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (Mekong – Lancang Cooperation-LMC) จำนวน 21 โครงการ ครอบคลุมประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ ทรัพยากรมนุษย์ การผลิตวัคซีนสำหรับสัตว์ วัฒนธรรม เกษตรกรรม การป้องกันภัยธรรมชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่าไม้ การค้าชายแดน การท่องเที่ยว และการเงิน โดยอูวันนะหม่องลวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา ระบุว่า เมียนมาจะมุ่งสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกับกลุ่มประเทศในกรอบความร่วมมือ LMC (จีน ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา และไทย) อนึ่ง จนถึงปัจจุบัน เมียนมา ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนพิเศษ LMC แล้วทั้งสิ้น 73 โครงการ
สำนักข่าว Tass ของรัสเซีย รายงานเมื่อ 10 ส.ค.64 ว่า นาย Stanislav Zas เลขาธิการองค์กรสนธิสัญญาความร่วมมือเพื่อความมั่นคงร่วม (Collective Security Treaty Organization-CSTO) พบหารือกับ นายกรัฐมนตรีนิโคล พาชินยาน ของอาร์เมเนีย เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนอาร์เมเนีย-อาเซอร์ไบจาน โดย CSTO จะติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งตามแนวชายแดนอย่างใกล้ชิด พร้อมแสดงความวิตกต่อเหตุปะทะกันที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเน้นย้ำว่าความตึงเครียดในปัจจุบันส่งผลเสียต่อความมั่นคงของอาร์เมเนียและสถานการณ์ความมั่นคงในเขตความรับผิดชอบของ CSTO ซึ่งขัดขวางการดำเนินงานตามข้อตกลงสันติภาพที่ผู้นำรัสเซีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน ลงนามไว้เมื่อ 9 พ.ย.63 และ 11 ม.ค.64 แนวทางการแก้ไขที่เกิดขึ้นโดยใช้กลไก CSTO อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังหารือในประเด็นการเตรียมการสำหรับกิจกรรมของ CSTO ใน ก.ย.64 ซึ่งรวมถึงการประชุมคณะมนตรีความมั่นคง CSTO และการประชุมร่วม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของ CSTO ที่ทาจิกิสถาน และแผนการสำหรับปี 2565 เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีของสนธิสัญญาความร่วมมือเพื่อความมั่นคง…
สำนักข่าว Interfax ของรัสเซีย รายงานเมื่อ 10 ส.ค.64 อ้างคำกล่าวของ พล.อ.เซียร์เกย์ ชอยกู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ระหว่างการประชุม All-Russian youth educational “Territory of Smyslov” ที่ระบุว่า กลุ่มตอลิบัน (องค์กรก่อการร้ายผิดกฎหมายในรัสเซีย) ที่ควบคุมพื้นที่ชายแดนติดทาจิกิสถานและอุซเบกิสถาน ให้คำมั่นว่าจะไม่ขยายการโจมตีเข้ามาในสองประเทศ ขณะเดียวกัน กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศแผนการฝึกซ้อมทางทหารระหว่างรัสเซียกับประเทศพันธมิตรที่มีพรมแดนติดกับอัฟกานิสถานเป็นประจำ เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งในอัฟกานิสถานทวีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งกลุ่มตอลิบันเริ่มเข้ายึดพื้นที่ตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้น โดยมีการฝึกซ้อมไปแล้ว 2 ครั้งคือ การฝึกซ้อมร่วมรัสเซีย-อุซเบกิสถาน ภายใต้รหัส South-2021 ห้วง 2-8 ส.ค.64 จัดขึ้นทางตอนใต้ของอุซเบกิสถานใกล้ชายแดนติดกับอัฟกานิสถาน และการฝึกซ้อมร่วม 3 ฝ่าย รัสเซีย-อุซเบกิสถาน-ทาจิกิสถาน ห้วง 5-10 ส.ค.64 โดยมีกำลังพลเข้าร่วมประมาณ 25,000 นาย พร้อมด้วยรถถัง รถหุ้มเกราะกว่า 300 คัน เครื่องบินโจมตี Su-25 จำนวน 25 ลำ…
กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์แถลงเมื่อ 11 ส.ค.64 คาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของสิงคโปร์ในปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 6-7 จากก่อนหน้านี้ประมาณการจะขยายตัวที่ร้อยละ 4-6 โดยเป็นผลมาจากเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ GDP ในไตรมาส 2/2564 ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันเมื่อปี 2663 ร้อยละ 14.7 ส่วนสำคัญมาจากสถานการณ์แพร่ระบาดที่คงตัว และการฉีดวัคซีนตามเป้าหมาย โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3-4 อีกทั้งปัจจัยที่ภาคอุตสาหกรรมที่เปิดกว้าง และความคืบหน้าของการผ่อนคลายมาตรการพรมแดน จะช่วยให้อุตสาหกรรมที่อิงกับผู้บริโภคโดยตรงฟื้นตัว และลดปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างชาติ
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รายงานเมื่อ 10 ส.ค.64 เกี่ยวกับถ้อยแถลงของนางลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ/สหประชาชาติระหว่างการเยือนไทยว่า สหรัฐฯ มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวเมียนมามูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนองค์กรระหว่างประเทศและ NGOs ที่ดำเนินภารกิจช่วยชาวเมียนมา รวมทั้งผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นจากเมียนมาที่อยู่ในไทย นอกจากนี้ สหรัฐฯ มอบเงินช่วยเหลือไทยมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตโทมัส-กรีนฟิลด์ย้ำว่า เงินช่วยเหลือดังกล่าวมาจากชาวอเมริกันเพื่อช่วยเหลือเมียนมาและไทย พร้อมกับเรียกร้องให้ประเทศอื่น ๆ เพิ่มความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมา และช่วยเหลือไทยเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
หนังสือพิมพ์ The Guardian รายงานเมื่อ 10 ส.ค.64 อ้างการประเมินขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD) ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้ว 38 ประเทศทั่วโลกที่เป็นไปอย่างรวดเร็วช่วงต้นปี 2564 จากการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown และการเร่งฉีดวัคซีนเริ่มชะลอลง ทำให้ประเทศข้างต้นผ่านจุดสูงสุดของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2564 มาแล้ว เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง ทำให้การใช้จ่ายของประชาชนลดลง นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ญี่ปุ่น บางประเทศในยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี รวมถึงจีน เริ่มมีการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมและการค้า อีกทั้งประชาชนลังเลที่จะออกจากเคหสถานเพื่อรับประทานอาหารในร้านอาหาร ซื้อของ และเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ เหมือนกับก่อนการแพร่ระบาด ทั้งนี้ การชะลอลงของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วทำให้ความต้องการน้ำมันดิบลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ Brent ในทะเลเหนือปรับตัวลงเหลือประมาณ 70 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล จากระดับ 77 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล
เว็บไซต์ของกองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกรายงานเมื่อ 10 ส.ค.64 ว่า สหรัฐฯ เริ่มการฝึกร่วมรหัส SEACAT (Southeast Asia Cooperation and Training) กับประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และองค์การระหว่างประเทศ รวม 21 ประเทศ รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และติมอร์-เลสเต ทั้งนี้ การฝึกดังกล่าวแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การฝึกร่วมที่สถาบัน International Fusion Center สิงคโปร์ และการฝึกร่วมแบบออนไลน์ เน้นความมั่นคงทางทะเลและการทำงานร่วมกัน สหรัฐฯ ส่งเรือพิฆาต DESRON 7 และ เครื่องบินรุ่น P-8A Poseidon เข้าร่วมการฝึกด้วย นอกจากนี้ การฝึก SEACAT ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ให้องค์การระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วมในการฝึกวิเคราะห์ฉากทัศน์ด้านความมั่นคง ซึ่งองค์การระหว่างประเทศที่เข้าร่วม…