ในยุคที่ผู้คนใช้เวลาส่วนใหญ่บนโลกอินเทอร์เน็ต ทั้งการทำงาน การรับชมความบันเทิง การติดต่อสื่อสาร ทำให้การใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นช่วงเวลาการทำ “สงคราม” แย่งชิงจำนวนผู้ใช้งาน (user) ระหว่างแอปพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ต่างๆ ที่ต้องการรับข้อมูลหรือแสดงโฆษณาให้กับผู้ใช้งาน แอปพลิเคชั่นใดมีผู้ใช้งานเยอะก็จะสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจและการเติบโตได้มากขึ้น facebook, twitter, instragram, tiktok, youtube, shopee และ lazada แอปพลิเคชั่นเหล่านี้ต้องแข่งขันกันเพื่อให้ผู้คนส่วนใหญ่เลือกใช้เวลาและเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้มากที่สุด และผู้ที่สามารถดึงข้อมูลจากผู้ใช้งานได้มากที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ชนะทางการตลาดไป สภาพการณ์ดังกล่าวไม่แตกต่างจากการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะเงินดิจิทัล ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนกว่า 700,000 บัญชี (account) โดยมีแนวคิดว่า เงินดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซี (cryptocurrency) จะเป็นสินทรัพย์ในยุคใหม่ที่สามารถใช้จ่ายได้ แม้จะยังมีความเสี่ยงสูงจากมูลค่าที่ผันผวน แต่แนวโน้มการเข้าสู่ตลาดเงินดิจิทัลและการเติบโตทางมูลค่ายังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งมาพร้อมกับ “การยอมรับ” มากขึ้นด้วยเช่นกัน ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ยอมรับเงินดิจิทัลในการซื้อขายแลกเปลี่ยนบริการและสินค้า เช่น เทสล่าร์ สตาร์บัค บางกอกแอร์เวย์ส เดอะมอลล์ บ้านและคอนโดในเครืออนันดา ไปจนถึงการเริ่มยอมรับในระดับประเทศ เมื่อเอลซัลวาดอร์ประกาศยอมรับบิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่ถูกกฎหมายและสามารถใช้ชำระหนี้ต่างๆ ได้ และได้ลงทุนซื้อบิทคอยน์เข้าคลังไปกว่า 400 เหรียญแล้ว ในขณะเดียวกันก็ยังมีอีกหลายประเทศไม่ยอมรับบิทคอยน์ แต่ยังนำระบบของเงินดิจิทัลมาใช้แทนเงินสด เป็นสกุลเงินดิจิทัลประจำประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการทำธุรกรรมด้านการเงิน “บาทดิจิทัล…