จีน
ระบุเมื่อ 25 ก.พ.65 ขอให้ฮ่องกงควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ให้ได้ก่อนการเยือนฮ่องกงของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ใน 1 ก.ค.65 เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี ที่สหราชอาณาจักรส่งมอบฮ่องกงคืนให้จีน
ระบุเมื่อ 25 ก.พ.65 ขอให้ฮ่องกงควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ให้ได้ก่อนการเยือนฮ่องกงของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ใน 1 ก.ค.65 เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี ที่สหราชอาณาจักรส่งมอบฮ่องกงคืนให้จีน
ประกาศเมื่อ 25 ก.พ.65 จะผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรค COVID-19 เพิ่มเติมใน 1 มี.ค.65 อาทิ อนุญาตให้บุคคลที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ COVID-19 แต่ไม่แสดงอาการไม่ต้องกักตัว และยกเลิกข้อบังคับให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะที่เป็นที่เปิดโล่ง
ระบุเมื่อ 25 ก.พ.65 ลงนามสัญญากู้เงินจากธนาคารโลกมูลค่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 584 ล้านบาท) สำหรับใช้ในโครงการจัดการวิกฤต COVID-19 ในภาวะฉุกเฉิน และเตรียมความพร้อมระบบสาธารณสุข (CERHSP)
ระบุเมื่อ 25 ก.พ.65 อนุมัติเงินกู้ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 9,738 ล้านบาท) ให้บังกลาเทศ เพื่อให้รัฐบาลท้องถิ่นใช้ในการควบคุมและป้องกันโรค COVID-19
สำหรับค่าเงิน Pound sterling หรือ GBP ของอังกฤษ ปัจจุบันกราฟแท่งเทียนของห้วง 1 ปีที่ผ่านมา ยังนับว่าเป็นขาลงอยู่ หลังจากกราฟ GBPUSD ไม่สามารถทะลุผ่านแนวต้านเส้นสีส้มที่ $1.42349 (ตามภาพที่ 1) ไปได้เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาสกุลเงิน GBP ที่อิงกับมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวต่ำลงอย่างต่อเนื่องจนหลุดแนวรับสำคัญของตลาดขาขึ้นทั้งเส้นสีม่วงที่บริเวณ $1.38319 และเส้นสีเขียวบริเวณ $1.36638 ลงมาตามกรอบทแยง (descending channel) ตลอด โดยไม่สามารถขยับออกไปนอกกรอบได้เลยเป็นเวลามากกว่า 8 เดือน แม้ว่าช่วงพฤศจิกายนที่ผ่านมา จะได้เห็นความพยายามในการทะลุออกไปนอกกรอบแนวต้านเส้นสีดำก็ตาม แต่ไม่นานก็โดนแรงขายบริเวณแนวต้านเส้นสีม่วง $1.38319 เทขายจนราคาร่วงอย่างรุนแรง และหลุดจากแนวรับเส้นสีน้ำเงินที่ $1.34614 ลงจนถึงเส้นสีแดงบริเวณ $1.31618 ซึ่งเป็นแนวรับสุดท้าย และเป็นจุดที่ราคาของสกุลเงิน GBP ลงมาทำจุดต่ำสุดเมื่อช่วงปลายปี ความเป็นจุดต่ำสุดของปี 2021 นี้ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากเล็งเห็นว่าจะสามารถเป็นจุดกลับตัวของกราฟได้ และทยอยเข้ามาช้อนซื้อที่ราคาดังกล่าวจนกราฟพุ่งขึ้นไปทดสอบแนวต้านเส้นเขียวที่ $1.36638 ถึง 2 ครั้งแต่ไม่ผ่าน ทำให้ราคาถูกเทขายลงมาอีกครั้งในช่วงกุมภาพันธ์ 2565…
สำนักข่าวอิระวดี รายงานเมื่อ 24 ก.พ.65 ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ของเมียนมา ส่งหนังสือเตือนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy-NLD) ของอองซานซูจี ซึ่งชนะการเลือกตั้งทั่วไป (เมื่อ 8 พ.ย.63) และพรรค Shan Nationalities League for Democracy (SNLD) ในรัฐฉาน ซึ่งเป็นพรรคการเมืองชนกลุ่มน้อยที่ได้ที่นั่งมากที่สุด เพื่อให้ทั้งสองพรรคปฏิบัติตามคำสั่งของ กกต.เมียนมา ที่ให้ยื่นแสดงบัญชีการเงินเพื่อการตรวจสอบภายใน 9 มี.ค.65 มิเช่นนั้นอาจสั่งยุบพรรค NLD และพรรค SNLD เพราะถือเป็นการละเมิดกฎหมายการจดทะเบียนพรรคการเมืองของเมียนมา มาตรา 24 (c) (d) และ (e) ซึ่งมีโทษตั้งแต่ระงับการดำเนินการ 3 ปี ให้ยุติการดำเนินการ และยุบพรรคตามลำดับ หลังจาก กกต.เมียนมาเคยขอให้พรรค NLD และ SNLD รวมถึงพรรคการเมืองอื่น ๆ…
สำนักข่าวแห่งชาติมาเลเซีย (เบอร์นามา) รายงานเมื่อ 24 ก.พ.65 อ้างแถลงการณ์ของดาโต๊ะ ซรี อิสมาอิล ซาบรี ยากบ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ระหว่างการเยือนกัมพูชา เมื่อ 23-24 ก.พ.65 ในประเด็นเมียนมา ระบุว่า มาเลเซียต้องการเห็นเมียนมากลับสู่ภาวะปกติตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน และทุกฝ่ายควรทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลและครอบคลุม อย่างไรก็ดี ความรับผิดชอบหลักอยู่ที่รัฐบาลเมียนมาเอง เพราะเมียนมาเป็นส่วนหนึ่งในฉันทามติดังกล่าว นอกจากนี้ มาเลเซียต้องการเห็นพัฒนาการเชิงบวกในประเด็นชาวโรฮีนจาอพยพ โดยเห็นว่า กระบวนการส่งกลับชาวโรฮีนจาไปยังเมียนมาอย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรีเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการ เนื่องจากที่ผ่านมา มาเลเซียต้องรับภาระดูแลชาวโรฮีนจาที่อพยพเข้ามาอาศัยในมาเลเซีย ทั้งนี้ มาเลเซียยังคงสนับสนุนบทบาทกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียน รวมถึงบทบาทของผู้แทนพิเศษกัมพูชาในประเด็นเมียนมา
เว็บไซต์ asean.org รายงานเมื่อ 23 ก.พ.65 ว่าในวันเดียวกัน ดาโต๊ะ ปาดูกา ลิม จ็อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน พบหารือกับนาง Anne-Marie Trevelyan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศ ของสหราชอาณาจักร เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เฉพาะอย่างยิ่ง กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน (ASEAN Comprehensive Recovery Framework-ACRF) ความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมดิจิทัล และความเป็นแกนกลางของอาเซียนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก พร้อมทั้งผลักดันปฏิญญาที่เห็นชอบร่วมกันให้นำไปสู่การปฏิบัติ ควบคู่กับแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาอื่น ซึ่งรวมถึงความเป็นไปได้ที่จะจัดทำความตกลงการค้าเสรีหรือความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน นอกจากนี้ อาเซียนเชิญชวนสหราชอาณาจักรลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้นจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(Regional Comprehensive Economic Partnership – RCEP) ซึ่งจะเป็นปัจจัยส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
สำนักข่าว The Times of India รายงานเมื่อ 24 ก.พ.65 อ้างแถลงการณ์ขององค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (Indian Space Research Organization-ISRO) เมื่อ 22 ก.พ.65 ระบุว่า นาย Jonathan Zadka กงสุลใหญ่อิสราเอล ณ เมืองเบงคลูรู อินเดีย นำนาย Naor Gilon เอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำอินเดีย เข้าพบนาย S. Somanath ประธาน ISRO ที่สำนักงานใหญ่ ISRO เมืองเบงคลูรู รัฐกรณาฏกะ โดยทั้งสองฝ่ายร่วมหารือประเด็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านอวกาศของทั้งสองประเทศในปัจจุบัน และแนวทางการยกระดับความร่วมมือด้านอวกาศระหว่างกัน รวมถึงการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี การประกาศเอกราชของอินเดีย และครบรอบ 30 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอินเดียกับอิสราเอล
ณ วินาทีนี้คงไม่มีเรื่องราวต่างประเทศไหนจะร้อนแรงไปกว่าการเปิดปฏิบัติการทางการทหารของรัสเซียในยูเครน ที่ตึงเครียดกันตามแนวพรมแดนมาเป็นเวลาเดือนกว่า ๆ แล้ว กลายเป็นวาทกรรมและการต่อสู้ทางข้อมูลข่าวสารไปมาตลอดเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเดินทางเยือนของหลายผู้นำชาติยุโรปเพื่อหาทางออกอย่างสันติให้กับวิกฤตในครั้งนี้ อันมีต้นสายปลายเหตุสำคัญมาจากความพยายามเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ เนโต ทั้งนี้รัสเซียมองว่าการกระทำดังกล่าวหากปล่อยให้เกิดขึ้นจะกลายเป็นภัยคุกคามทางความมั่นคงอย่างยิ่งต่อรัสเซีย เปรียบเสมือนรัสเซียกำลังถูกปิดล้อมทางการทหารจากประเทศสมาชิกในกลุ่มเนโตเหล่านี้ ที่นับวันจะขยายตัวมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าภายใต้สถานการณ์ความตึงเครียดเช่นนี้ รวมถึงการเปิดปฏิบัติการทางการทหารในยูเครนของรัสเซีย จึงก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ไปจนถึงการออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของหลายประเทศ ทั้งในยุโรป รวมถึงสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกันก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ตัดสินใจอยู่ห่างจากวิกฤตนี้ หรือวางตัวนิ่งเฉยต่อการกระทำของรัสเซีย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเองเอาไว้ หนึ่งในประเทศเหล่านั้นที่ดูเหมือนจะแสดงท่าทีเป็นกลางแบบนี้นั้น รวมถึงประเทศอินเดียด้วย น่าสนใจว่าตลอดวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ผ่านมา อินเดียค่อนข้างมีท่าทีนิ่งเงียบอย่างยิ่ง และเลือกที่จะไม่วิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ต่อกรณีดังกล่าวมากนั้น แม้แต่ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ อินเดียแสดงท่าทีเพียงมุ่งหวังให้ทุกฝ่ายพูดคุยกัน และใช้ช่องทางการทูตเป็นสำคัญในการแก้ไขปัญหา ความเคลื่อนไหวที่ดูจะเห็นชัดเจนที่สุดของอินเดียในกรณีนี้ ดูเหมือนจะเป็นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมาภายหลังรัสเซียเปิดปฏิบัติการในยูเครน โดยนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีของอินเดียตัดสินใจต่อสายตรงกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่ออ่านในเนื้อหารายละเอียดการสนทนาระหว่าง 2 ผู้นำ กลับแทบไม่พบการวิจารณ์รัสเซียของอินเดียเลย มากที่สุดเพียงเรียกร้องให้รัสเซียยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้น แล้วหันกลับมาใช้ช่องทางการทูตในการแก้ไขปัญหา ยิ่งไปกว่านั้นโดยส่วนใหญ่การสนทนาจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาผลประโยชน์ของประชาชนอินเดียที่อยู่ในยูเครนด้วยซ้ำ โดยเฉพาะการอพยพคนอินเดียออกจากยูเครนอย่างปลอดภัย สิ่งเหล่านี้ยังสะท้อนผ่านการประชุมคณะรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงของอินเดียที่จัดขึ้นต่อจากนั้นเพื่อวางแผนช่วยเหลือคนอินเดียออกจากยูเครน ท่าทีของอินเดียที่ค่อนข้างนิ่งเฉยนี้ไม่ใช่รู้สึกได้จากสายตาคนนอกเท่านั้น แม้กระทั่งยูเครนเองยังเรียกร้องให้อินเดียแสดงบทบาทและท่าทีมากกว่านี้ โดยทั้งประธานาธิบดีของยูเครนและเอกอัครราชทูตยูเครนประจำอินเดีย ต่างเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีโมดี…