เวียดนาม
ระบุเมื่อ 16 ก.พ.65 จะเปิดการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่ตั้งแต่ 15 มี.ค.65 และกำลังจัดทำรายละเอียดแผนการฟื้นฟูการท่องเที่ยว นโยบายการตรวจลงตรา และระเบียบรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ระบุเมื่อ 16 ก.พ.65 จะเปิดการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่ตั้งแต่ 15 มี.ค.65 และกำลังจัดทำรายละเอียดแผนการฟื้นฟูการท่องเที่ยว นโยบายการตรวจลงตรา และระเบียบรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ประกาศเมื่อ 16 ก.พ.65 ให้ประชาชนระมัดระวังเด็ก ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 หลังการเปิด รร.ทั่วประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
ระบุเมื่อ 16 ก.พ.65 ตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ 1,160 ราย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละมากกว่า 1,000 ราย และสูงที่สุดตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
ระบุเมื่อ 15 ก.พ.65 จะหยุดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็มแรกให้ประชาชนชั่วคราว ตั้งแต่ 26 ก.พ.65 แต่จะให้ความสำคัญกับการเร่งฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 และเข็มที่ 3
กล่าวเมื่อ 15 ก.พ.65 ยินดีกับปากีสถานที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้ประชาชนครบ 200 ล้านโดส ซึ่งแสดงถึงความตั้งใจและความพยายามของรัฐบาลปากีสถานในการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชน
ระบุเมื่อ 15 ก.พ.65 จะผ่อนคลายมาตรการจำกัดจำนวนผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ โดยจะอนุญาตให้ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากวันละ 3,500 ราย เป็นวันละ 5,000 รายใน มี.ค.65
ประกาศเมื่อ 15 ก.พ.65 จะยกเลิกข้อกำหนดให้ผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศแสดงผลตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี PCR ตั้งแต่ 28 ก.พ.65 เฉพาะผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ครบโดส
แถลงเมื่อ 15 ก.พ.65 จะเปิดการเดินทางช่องทางพิเศษ Vaccinated Travel Lane (VTL) กับบรูไน โดยจะมีเที่ยวบินให้บริการระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ ของมาเลเซีย กับบันดาร์เสรีเบกาวัน ของบรูไน สัปดาห์ละ 4 เที่ยวบิน และผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ครบโดสแล้วไม่ต้องกักตัว
มนุษย์เราเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน ทั้งรูปลักษณ์ หน้าตา สีผิว ความสมบูรณ์ของร่างกาย และฐานะ …สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อโอกาสในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโอกาสทางการศึกษา ไปจนถึงหน้าที่การงานและการสร้างรายได้ อย่างไรก็ตาม รัฐมีเครื่องมือลดความแตกต่างนี้ลงด้วยสิ่งที่เรียกว่า “สวัสดิการ” จากรัฐ ที่เปลี่ยนบริการบางอย่างให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างสาธารณะ หรือควบคุมไว้ไม่ให้เกิดการผูกขาด ภายใต้การบริหารงบประมาณจากการเก็บภาษีตามอัตราส่วนต่าง ๆ แนวคิดของการบริหาร “ภาษี” ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมงบประมาณ ทั้งจากผู้มีรายได้สูงและรายได้ต่ำ โดยใช้ในการบริการประชาชนทุกระดับ ดังนั้น ภาษีจึงมีส่วนช่วยในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ โดยเฉพาะในลักษณะของ “รัฐสวัสดิการ” ที่จะมีการเก็บภาษีจากโอกาสต่างๆ มาชดเชยค่าเสียโอกาสต่างๆ เช่น การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม (ECO TAX) จากผู้ก่อมลพิษเพื่อจูงใจให้ลดการก่อมลพิษที่จะส่งผลกระทบต่อคนทั่วไป การเก็บภาษีน้ำจากการทำเกษตรเพื่อสร้างรายได้สำหรับการอนุรักษ์ระบบนิเวศในระดับลุ่มน้ำ ภาษีถือเป็นการให้มูลค่ากับสิ่งต่างๆ เป็นการตีความทางตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบค่าเสียโอกาสต่างๆ และเพิ่มเติมชดเชยให้เหมาะสม จากแนวคิดดังกล่าว ในอนาคตมนุษย์หากคนคนหนึ่งเกิดมามีความพิการ 60% จะได้รับการชดเชยเพื่อสร้างโอกาสให้เท่าเทียมกับคนที่เกิดมาสมบูรณ์ 100% นั่นหมายความว่า คนที่เกิดมาสมบูรณ์จะต้องทำ 140% เพื่อชดเชยให้คนพิการ หรือแบ่งให้เป็น 80% เท่ากันทั้งสองคน ถือเป็นความรับผิดชอบของส่วนรวมทางสังคมภายใต้แนวคิดแบบอำนาจนิยมที่จัดสรรให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในยุคที่ทุกอย่างสามารถตีค่าชี้วัดออกมาเป็นตัวเลขได้ ซึ่งในสังคมรูปแบบนี้ บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะต้องเสียภาษีคืนกำไรให้กับสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะรับผิดชอบต่อกลุ่มคนที่อยู่ในกระบวนการหรือได้รับผลกระทบจากธุรกิจนั้นๆ ไม่ใช่แค่ภาษีและการตีมูลค่าตัวเลขเท่านั้น แต่…
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์ รายงานเมื่อ 15 ก.พ.65 ว่า นางคำจัน วงแสนบุน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแผนการและการลงทุนลาว ผู้แทนรัฐบาลลาว และผู้แทนบริษัทนิกสัน พัฒนาบ่อแร่ (เอกชนลาว) ร่วมลงนามข้อตกลงขุดค้น ปรุงแต่ง และส่งออกแร่ทอง ในแขวงเชียงขวาง โดยเหมืองดังกล่าวมีพื้นที่ 18.28 ตารางกิโลเมตร ระยะเวลาสัมปทาน 20 ปี ซึ่งบริษัทฯ จะลงทุนประมาณ 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการขุดค้นและสร้างโรงงานมาตรฐานสากล อีกทั้งบริษัทฯ ได้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมล่วงหน้าให้รัฐบาลลาว 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมอบเงิน 24,000 ล้านกีบ เพื่อก่อสร้างถนนระยะทาง 48 กิโลเมตร เชื่อมเมืองคำ แขวงเชียงขวาง กับเมืองเฮี้ยม แขวงหัวพัน ทั้งนี้ โครงการเหมืองทองจะช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับรัฐบาล และสร้างงานให้กับคนท้องถิ่น