ญี่ปุ่น
ระบุเมื่อ 22 ก.พ.65 สหพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) เรียกร้องรัฐบาลให้ผ่อนปรนมาตรการเดินทางเข้าญี่ปุ่น เฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มจำนวนการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าญี่ปุ่นต่อวัน
ระบุเมื่อ 22 ก.พ.65 สหพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) เรียกร้องรัฐบาลให้ผ่อนปรนมาตรการเดินทางเข้าญี่ปุ่น เฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มจำนวนการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าญี่ปุ่นต่อวัน
ระบุเมื่อ 22 ก.พ.65 ส่งคืนวัคซีน AstraZeneca จำนวน 820,000 โดส จากทั้งหมด 1 ล้านโดส ที่โปแลนด์บริจาคให้อิหร่าน เนื่องจากตรวจพบว่าวัคซีนดังกล่าวผลิตในสหรัฐฯ ซึ่งผู้นำสูงสุดอิหร่านประกาศห้ามนำเข้าตั้งแต่ปี 2563
ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรามีประชากรผู้สูงอายุมากกว่า 20% ของโครงสร้างประชากรทั้งหมด ทำให้เกิดความหวาดวิตกของการเป็นสังคมผู้สูงอายุ วัยแรงงานจะต้องรับภาระในการเลี้ยงดูวัยชรา ส่งผลต่อการผลิตและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพื่อเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ไทยได้กำหนดแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) โดยมียุทธศาสตร์ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ สร้างระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ เผยแพร่องค์ความรู้ให้กับบุคลากรด้านผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่กำหนดไว้และได้ดำเนินการด้วยการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีอาชีพ สามารถหารายได้ วางแผนการเงินเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ มีสุขภาพที่แข็งแรง และได้ดำเนินการมาจนถึง พ.ศ. 2564 ตามแผนที่วางไว้…. คำถามสำคัญก็คือ แล้วหลังจากนี้คืออะไร? เมื่อจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุอยู่ในช่วง 60 ปีขึ้นไปในไทยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงร้อยละ 28 ของประชากร ในขณะที่วัยแรงงานลดลงเหลือร้อยละ 58 รวมถึงประชากรที่เกิดใหม่ก็กำลังลดลงเหลือร้อยละ 14 ในปี พ.ศ. 2575 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อปัญหาสังคมผู้สูงอายุไม่ได้รับการแก้ไข โครงสร้างประชากรยังอยู่ในความเสี่ยงที่มีความเปลี่ยนแปลงไป อะไรจะเข้ามาเติมศักยภาพให้กับวัยแรงงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แน่นอนว่าด้วยระบบสาธารณสุขในปัจจุบันทำให้คนมีอายุยาวขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้นในวัยชรา เกษียณช้าลง แต่กระนั้นก็ไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ทางออก…จึงมุ่งไปที่การนำ “เทคโนโลยี” เข้ามาช่วยในการทำงาน ซึ่งการใช้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์เข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ก็ทยอยเปลี่ยนถ่ายมาอย่างต่อเนื่อง…
ไฟฟ้าเป็นพลังงานสำคัญที่ไม่ว่าชุมชนแห่งหนไหนก็ต้องการทั้งสิ้น และเราพบว่า ความต้องการไฟฟ้ามีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การผลิตไฟฟ้าต้องมากขึ้นตาม ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าได้หลายวิธีตามแหล่งทรัพยากรที่แตกต่างกัน ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ การใช้พลังงานจลน์หรือพลังงานความร้อนสร้างไอน้ำเพื่อปั่นกระแสไฟฟ้า ทรัพยากรต่างๆที่ใช้ในการสร้างกระแสไฟฟ้าก็มีอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ กันไป ทางเลือกในการผลิตที่หลากหลายได้สร้างโอกาสที่จะทำให้เกิดโรงงานผลิตไฟฟ้ากระจายไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้มากขึ้น กระจายโอกาสการเข้าถึงไฟฟ้าได้ทั่วถึงมากขึ้น นอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานตามท้องถิ่นเพื่อให้มีไฟฟ้าใช้มากขึ้นแล้ว การสร้างโรงไฟฟ้ายังมีผลต่อบริบทพื้นที่รอบข้างอีกด้วย โดยเราจะชวนให้มาทำความรู้จักกับแหล่งผลิตพลังงานที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อพื้นที่ 3 ตัวอย่าง ตามนี้… “โรงไฟฟ้าพลังงานหญ้า” กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน มีแนวคิดในการก่อตั้ง โรงงานไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ห่างไกล ชุมชนบนดอยหรือหมู่บ้านกลางทุ่ง ที่การตั้งเสาเดินสายไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่ต้องใช้งบประมาณสูง ชุมชนเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานเดิมอยู่ในป่า ทำการเกษตรและหาของป่าเลี้ยงชีพ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟหรือโซล่าเซลล์ การใช้ไฟฟ้ายังขาดความเสถียรตามสภาพอากาศของวัน การตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กตามชุมชนจะช่วยให้ชุมชนมีพลังงานไฟฟ้าทางเลือกมากขึ้น และยังเป็นการพลิกฟื้นผืนดินด้วยการปลูกหญ้าเนเปียที่นำใช้ในการหมักเป็นก๊าซสำหรับการสร้างความร้อนในการผลิตกระแสไฟฟ้า หญ้าเนเปียสามารถทำการเพาะปลูกได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลงในการเพาะปลูก ปลอดภัยต่อสัตว์ป่า และทำให้ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์มากขึ้น “โรงไฟฟ้ากับการประมง” สำหรับประเทศที่หนาวเย็นอย่างประเทศฮังการี น้ำในทะเลสาบที่มีอุณหภูมิต่ำไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำสักเท่าไหร่ แต่ไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป สำหรับทะเลสาบโบโกดี (Bokodi tó horgászat) ที่มีการใช้น้ำในทะเลสาบในการหล่อเย็นเครื่องผลิตไฟฟ้า น้ำร้อนที่เหลือจากการผลิตไฟฟ้าจะถูกปล่อยลงทะเลสาบทำให้น้ำในทะเลสาบมีอุณภูมิอุ่นขึ้น 10 องศาเซลเซียส สัตว์น้ำมีขนาดตัวโตมากขึ้นจากพืชน้ำที่เป็นแหล่งอาหารและระยะเวลาในการเจริญเติบโตที่มากขึ้น พ้นฤดูหนาวที่ทะเลสาบกลายเป็นน้ำแข็ง เมื่อระยะเวลาในการกลายเป็นน้ำแข็งลดลงด้วยความอุ่นของน้ำ ระยะเวลาในการเจริญเติบโตของปลาก็จะเพิ่มขึ้นนั่นเอง ทำให้ทะเลสาบแห่งนี้ขึ้นชื่อเรื่องการตกปลา สร้างอาชีพและกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง โรงไฟฟ้ากับอาณานิคมต่างดาว เมื่อแนวคิดที่มนุษย์จะออกไปท่องอวกาศกำลังเป็นที่สนใจมากขึ้น…
สหรัฐฯ ประกาศยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Strategy) ฉบับประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดนอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565 เรียกได้ว่าเป็นฉบับใหม่ล่าสุดที่จะบอกชาวอเมริกันและประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกได้ว่า สหรัฐฯ ต้องการอะไรและจะทำอะไรต่อไปกับภูมิภาคนี้ในห้วง 2 ปีข้างหน้า ทำเนียบขาวประกาศไว้ในยุทธศาสตร์อย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯ มีความมุ่งหมายต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกอยู่อย่างน้อย ๆ 5 ประการ ซึ่งได้แก่ (1) ต้องการให้ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่ “เปิดกว้างและเสรี” หรือ Free and Open ซึ่งหมายถึงทุกประเทศมีเสรีภาพที่จะเลือกดำเนินนโยบายได้ ตราบใดที่สอดคล้องกับระเบียบและกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกฎหมายทางทะเลและอากาศที่ทำให้ทั่วโลกมีเสรีภาพในการเดินเรือและการบิน นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตย สิทธิพลเรือน และเสรีภาพของสื่อมวลชน ควบคู่กับต่อต้านการคอร์รัปชัน การใช้เครื่องมือด้านเศรษฐกิจข่มขู่คุกคามประเทศอื่น (2) ต้องการให้มีความเชื่อมโยง (connection) ทั้งในระดับรัฐบาลกับรัฐบาล และประชาชนกับประชาชน ผ่านเครือข่ายพันธมิตรและหุ้นส่วนของสหรัฐฯ ในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงอย่างไทย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น หรือหุ้นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาค เช่น มาเลเซีย มองโกเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์…
“ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน” เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่ทั่วโลกจับตามอง เพราะนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของความพยายามในการไม่แพร่กระจาย (nonproliferation) อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงแล้ว ยังเป็นข้อตกลงที่มีประเทศมหาอำนาจและขั้วอำนาจสำคัญในภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างอิหร่าน มาเกี่ยวข้องด้วย ประเทศมหาอำนาจ 5 ชาติ ได้แก่ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร กับอิหร่านได้เจรจากันที่เวียนนา ออสเตรีย มากกว่า 8 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ เมษายน 2564 ครั้งล่าสุดเมื่อกลางกุมภาพันธ์ 2565 เพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน หรือ Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA) โดยมีสหรัฐฯ อดีตสมาชิก JCPOA เข้าร่วมด้วยอย่างไม่เป็นทางการ …การเจรจาดังกล่าวมีขึ้นเพื่อให้ประเทศที่เกี่ยวข้องพูดคุยกันในเรื่องการกลับไปใช้ JCPOA แบบเวอร์ชั่น 2015 หรือข้อตกลงก่อนที่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะประกาศถอนสหรัฐฯ ออกจาก JCPOA เมื่อปี 2561 ด้วยเหตุผลเพราะต้องการ “ทำข้อตกลงใหม่” กับอิหร่าน (แต่ไม่สำเร็จ) นั่นเอง การกลับไปใช้ JCPOA…
หากมองการเมืองโลกเป็นหนังเป็นละคร โดยยกเอาความอาทรต่อชีวิตมนุษย์ที่กำลังเสี่ยงอันตรายออกไปก่อน สถานการณ์ความตึงเครียดที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ก็เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากสำหรับผู้ที่สนใจศาสตร์ด้านการระหว่างประเทศที่เกิดหลังทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ด้วยความที่ว่าคนรุ่นนี้เด็กเกินกว่าจะรู้ความในตอนที่สหภาพโซเวียตล่มสลายอันเป็นจุดจบของสงครามเย็นเมื่อปี 2534 จึงไม่มีประสบการณ์ร่วมโดยตรงกับ “สงครามเย็น” แต่ก็โตมากับช่วงรอยต่อที่สงครามเย็นยังไม่สิ้นกลิ่น จึงได้ยินคำว่า “สงครามเย็น” ลอยเข้าหูตั้งแต่เด็กยันโต จากที่เคยมีความสัมพันธ์แบบที่คุ้นเคยแต่ไม่เคยพบหน้า จึงเป็นความตื่นตาตื่นใจกับการได้พบเจอด้วยตนเองและติดตามสถานการณ์เรียลไทม์พร้อมกับคนทั้งโลกเกี่ยวกับความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ที่เป็นมรดกตกทอดจากสงครามเย็น และยังเป็นสถานการณ์ที่ชวนให้สำรวจถึงความพยายามสร้างดุลอำนาจ (balance of power) ของรัสเซีย เพื่อตอบสนองต่อบริบทเชิงโครงสร้างของประเทศหลังสงครามเย็นที่สหรัฐฯ ครอบครองความเป็นเจ้าในระบบโลกแบบขั้วเดียว รากฐานของความขัดแย้งที่มาจากความไม่สบายใจของรัสเซียต่อการแผ่ขยายอิทธิพลของสหรัฐฯ และพันธมิตรในพื้นที่ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นเขตอิทธิพลดั้งเดิมของรัสเซีย เห็นได้จากข้อเรียกร้องของรัสเซียที่ต้องการหลักประกันด้านความมั่นคง (security guarantee) ที่สำคัญคือการไม่ให้ NATO รับประเทศอดีตสหภาพโซเวียต (รวมทั้งยูเครน) เข้าเป็นสมาชิก จุดยืนของรัสเซียดังกล่าวชัดเจนมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มฟื้นสภาพความเป็นมหาอำนาจขึ้นมาได้ เห็นได้จากที่ประธานาธิบดีดมิทรี เมดเวเดฟ ประกาศหลักการ 5 ข้อ เมื่อปี 2551 ที่รวมถึงการจะสนใจเป็นพิเศษต่อภูมิภาคนี้ที่เป็นผลประโยชน์พิเศษ (privileged interests) ของรัสเซีย และรัสเซียก็เคยทำสงครามกับประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่เอาใจฝักใฝ่ตะวันตกและอยากเข้าร่วม NATO มาก่อนแล้ว (สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย ปี 2551 และการผนวกเอาดินแดนไครเมียของยูเครน ปี 2557)…
ระบุเมื่อ 22 ก.พ.65 จะไม่ประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในกัมพูชาอีก เนื่องจากปัจจุบันกัมพูชามีอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 สูง
ระบุเมื่อ 22 ก.พ.65 ให้ประชาชนต้องแสดงเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ก่อนเข้าสถานที่ราชการ และสถานที่สาธารณะ รวม 23 ประเภท อาทิ ร้านอาหาร ศูนย์การค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต โดยต้องลงทะเบียนเข้าใช้บริการด้วยการสแกน QR Code ผ่านแอปพลิเคชัน Leave Home Safe ตั้งแต่ 24 ก.พ.65
ระบุเมื่อ 21 ก.พ.65 อนุมัติใช้วัคซีน Corbevax ของบริษัท Biological E. (BE) ของอินเดีย ในเด็กอายุระหว่าง 12-18 ปี เป็นกรณีฉุกเฉิน หลังจากที่อินเดียอนุมัติใช้วัคซีน Corbevax ในผู้ใหญ่แล้วเมื่อ 28 ธ.ค.64