โอมาน
ระบุเมื่อ 30 มี.ค.65 ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็มแรกให้ประชาชนแล้วร้อยละ 97 และเข็มที่ 2 ร้อยละ 90
ระบุเมื่อ 30 มี.ค.65 ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็มแรกให้ประชาชนแล้วร้อยละ 97 และเข็มที่ 2 ร้อยละ 90
ระบุเมื่อ 30 มี.ค.65 กำหนดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องซื้อประกันสุขภาพซึ่งมีวงเงินครอบคลุมการรักษาพยาบาล รวมถึงกรณีติดเชื้อ COVID-19 อย่างน้อย 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 666,000 บาท)
ระบุเมื่อ 30 มี.ค.65 ได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 สำหรับฉีดให้เด็กอายุ 5-11 ปี ของบริษัท Pfizer เพิ่มอีก 936,000 โดส ซึ่งเป็นวัคซีนที่รัฐบาลฟิลิปปินส์จัดซื้อผ่านธนาคารโลก ก่อนหน้านี้ ฟิลิปปินส์ได้รับวัคซีนที่จัดซื้อดังกล่าว 1.2 ล้านโดส เมื่อ 26 มี.ค.65
ระบุเมื่อ 30 มี.ค.65 ได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ของบริษัท Sinovac จำนวน 2.2 ล้านโดส ที่จีนบริจาคให้ผ่านโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก (WHO) และพันธมิตร
ระบุเมื่อ 30 มี.ค.65 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ปิดประเทศเมื่อปี 2563 โดยการท่องเที่ยวหดตัวร้อยละ 80 การจ้างงานในท้องถิ่นลดลง 130,000 คน และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 46,600 ล้านบาท)
เว็บไซต์ Malaymail รายงานเมื่อ 29 มี.ค.65 อ้างดาโต๊ะ ซรี ฮิชัมมุดดิน ตุน ฮุสเซ็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย ระหว่างกล่าวปาฐกถาพิเศษที่งาน Putrajaya Forum 2022 กรุงกัวลาลัมเปอร์ ว่า มาเลเซียย้ำถึงความห่วงกังวลในประเด็นความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยุติความรุนแรงในทันที โดยมาเลเซียเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council-UNSC) ทำหน้าที่หลักในการรักษาสันติภาพและและความมั่นคงระหว่างประเทศ สำหรับจุดยืนของมาเลเซียในประเด็นทะเลจีนใต้ยังคงชัดเจนเช่นเดิม คือ การร่วมแก้ไขปัญหาข้อพิพาทผ่านการเจรจา โดยเคารพกฎหมายและอนุสัญญาระหว่างประเทศ
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission-EC) เปิดเผยเมื่อ 28 มี.ค.64 ว่า อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางจัดตั้งช่องทางการค้าสำหรับสินค้าทางการเกษตรและอาหาร หรือ Green Corridor ระหว่างสหภาพยุโรป (European Union-EU) กับโปแลนด์และยูเครน เพื่อเป็นการประกันความมั่นคงด้านอาหาร โดยจะใช้ช่องทางทะเลบอลติกเป็นเส้นทางขนส่งสินค้า แทนเส้นทางเดิมที่ใช้ท่าเรือทะเลดำ ซึ่งถูกรัสเซียจำกัดการขนส่งสินค้าทางทะเล
กระทรวงมหาดไทยของเยอรมนีชี้แจงเมื่อ 28 มี.ค.65 กรณีออกข้อกำหนดห้ามแสดงสัญลักษณ์ Z เพื่อแสดงถึงการสนับสนุนการรุกรานของรัสเซียต่อยูเครน โดยผู้ฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจในการพิจารณาว่า การใช้สัญลักษณ์ Z ถือเป็นการก่ออาชญากรรมหรือไม่ ทั้งนี้ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีที่มาจากการประทับตราสัญลักษณ์ Z V และ O ที่ยุทโธปกรณ์ทางทหารของกองทัพรัสเซีย ซึ่งกระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุว่า สัญลักษณ์ Z สื่อถึงชัยชนะในภาษารัสเซีย
สำนักข่าว Mainichi รายงานเมื่อ 29 มี.ค.65 อ้างถ้อยแถลงของนายฮากิอูดะ โคอิจิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่นว่า รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติการระงับส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องประดับ รถยนต์หรู และงานศิลปะ ไปรัสเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรัสเซียจากการใช้กำลังบุกรุกยูเครนลักษณะเดียวกับของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (European Union-EU) ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 5 เม.ย.65 โดยการระงับส่งออกสินค้าข้างต้นมีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างแรงกดดันให้กับชนชั้นสูงที่มีอิทธิพลทางการเมืองรัสเซียหรือสนับสนุนประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินของรัสเซีย ทั้งนี้ ญี่ปุ่นออกมาตรการระงับการส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือยดังกล่าวกับเกาหลีเหนือเมื่อปี 2549 หลังเกาหลีเหนือประกาศทดสอบอาวุธนิวเคลียร์
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงเมื่อ 28 มี.ค.65 ว่า จีนจะจัดประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กลุ่มประเทศรอบบ้านอัฟกานิสถาน ครั้งที่ 3 ประกอบด้วย ปากีสถาน อิหร่าน รัสเซีย ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน ที่เมืองทานซีในมณฑลอันหุย ระหว่าง 30-31 มี.ค.65 และนาย Amir Khan Muttaqi รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐบาลอัฟกานิสถานจะเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย โดยมีวาระสำคัญเรื่องการส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับอัฟกานิสถาน รวมทั้งการเรียกร้องให้สหรัฐฯ นำทรัพย์สินที่อายัดไว้คืนให้กับอัฟกานิสถาน โดยจีนได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียและกาตาร์เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ในฐานะแขกพิเศษด้วย