องค์การอนามัยโลก (WHO)
ระบุเมื่อ 25 มี.ค.65 ไม่อนุมัติใช้วัคซีน Medicago ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ที่แคนาดาวิจัยและพัฒนาขึ้นเองเป็นกรณีฉุกเฉิน ทำให้แคนาดายังไม่สามารถส่งวัคซีนดังกล่าวให้โครงการ COVAX ของ WHO และพันธมิตร
ระบุเมื่อ 25 มี.ค.65 ไม่อนุมัติใช้วัคซีน Medicago ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ที่แคนาดาวิจัยและพัฒนาขึ้นเองเป็นกรณีฉุกเฉิน ทำให้แคนาดายังไม่สามารถส่งวัคซีนดังกล่าวให้โครงการ COVAX ของ WHO และพันธมิตร
ระบุเมื่อ 25 มี.ค.65 จะมอบเงินช่วยเหลือ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 50.4 ล้านบาท) ให้ประเทศในแคริบเบียน อาทิ กรีเนดา ซูรินาม เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ลูเชีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ดอมินีกา ตรินิแดดและโตเบโก และบาฮามาส เพื่อสนับสนุนการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้ครอบคลุม
ระบุเมื่อ 24 มี.ค.65 เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็มที่ 4 ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 แล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ได้แก่ จนท.ด่านหน้า ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้มีโรคประจำตัว
ระบุเมื่อ 24 มี.ค.65 อนุมัติใช้ยา Evusheld ของบริษัท AstraZeneca ซึ่งเป็นยาสำหรับป้องกันโรค COVID-19 โดยแนะนำให้ใช้เฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เคยติดเชื้อ รวมทั้งกลุ่มที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
สำนักข่าวยอนฮับของเกาหลีใต้ รายงานเมื่อ 23 มี.ค.65 ว่า นายยุน ซ็อก-ย็อล ว่าที่ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ หารือทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีเหวียน ซวน ฟุก ของเวียดนาม โดยผู้นำเวียดนามแสดงความยินดีต่อว่าที่ผู้นำเกาหลีใต้ในชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ และเชิญว่าที่ผู้นำเกาหลีใต้เยือนเวียดนาม นอกจากนี้ ทั้งสองเห็นพ้องจะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับเวียดนาม และส่งเสริมความร่วมมือในการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ รวมถึงพัฒนาเสถียรภาพในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ทั้งนี้ ประธานาธิบดีเหวียน ซวน ฟุก เป็นผู้นำประเทศคนที่ 6 ที่หารือทางโทรศัพท์กับว่าที่ผู้นำเกาหลีใต้ ภายหลังผู้นำสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และอินเดีย กระชับความสัมพันธ์กับว่าที่ผู้นำเกาหลีใต้ผ่านการหารือทางโทรศัพท์
นาย Jens Stoltenberg เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เปิดเผยเมื่อ 23 มี.ค.65 ว่า NATO เตรียมเสริมกำลังทางทหารเพิ่มเติมในประเทศยุโรปตะวันออก เช่น ฮังการี สโลวะเกีย บัลแกเรีย และโรมาเนีย และจะจัดส่งยุทโธปกรณ์ป้องกันการโจมตีด้วยอาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ อาวุธรังสี และอาวุธนิวเคลียร์จากรัสเซีย โดยปัจจุบัน NATO มีกองกำลังประจำการในพื้นที่ยุโรปตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ทะเลบอลติกจนถึงทะเลดำ ประกอบด้วยทหารบก 140,000 นาย เรือรบ 140 ลำ และเครื่องบินรบ 130 ลำ พร้อมทั้งเตือนว่า การโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และจะเผชิญผลลัพธ์ตอบโต้รุนแรง แต่หลีกเลี่ยงการกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ NATO จะส่งทหารเข้าพื้นที่ยูเครน หากรัสเซียโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission – EC) เปิดเผยเมื่อ 23 มี.ค.65 ถึงมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือสูงสุด 400,000 ยูโร (ประมาณ 14.7 ล้านบาท) ลดภาษี สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ และเงินชดเชยสูงสุดร้อยละ 30 ของค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านยูโร ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวมีขึ้นหลังจากภาคธุรกิจในยุโรปร้องเรียนผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตร เฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจในภาคเกษตรกรรม ประมง อุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก ไฟเบอร์กลาส ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ท่องเที่ยว สินค้าฟุ่มเฟือย และสินค้าโภคภัณฑ์ อนึ่ง มาตรการดังกล่าวจะมีผลระหว่าง 1 เม.ย.-31 ธ.ค.65
สำนักข่าว Reuters รายงานเมื่อ 24 มี.ค.65 อ้างแถลงของ พล.จ.ซอมินตุน โฆษกรัฐบาลสภาบริหารแห่งรัฐ (State Administration Council-SAC) ของเมียนมา ปฏิเสธข้อกล่าวหาของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ประกาศให้กรณีการใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮีนจาในรัฐยะไข่ของเมียนมาเมื่อปี 2560 เป็นปฏิบัติการปราบปรามอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ซึ่งนับเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดย SAC ยืนยันว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการก่ออาชญากรรมของนายทหารในระดับบุคคลเท่านั้น
เว็บไซต์ Free Malaysia Today รายงานเมื่อ 23 มี.ค.65 ว่า ดาโต๊ะ ซรี อิสมาอิล ซาบรี ยากบ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จะหารือกับผู้นำประเทศอาเซียนที่ใช้ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) ได้แก่ อินโดนีเซีย บรูไน และสิงคโปร์ ประเด็นการเสนอให้ภาษามาเลย์เป็นภาษาที่สองของอาเซียน เพื่อยกระดับภาษามาเลย์ให้อยู่ในระดับสากล เนื่องจากภาษามาเลย์ใช้สำหรับการสอนในประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่ง รวมถึงตอนใต้ของไทยและฟิลิปปินส์ และในบางพื้นที่ของกัมพูชา ดังนั้นจึงถือเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักในการผลักดันให้ภาษามาเลย์เป็นหนึ่งในภาษาทางการของอาเซียน โดยมาเลเซียจะพยายามหยิบยกประเด็นดังกล่าวห้วงการประชุมกับต่างประเทศตามที่โอกาสจะอำนวย
สำนักข่าวยอนฮับของเกาหลีใต้รายงานเมื่อ 24 มี.ค.65 ว่า ในวันเดียวกัน เกาหลีเหนือยิงทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกลไปตกในทะเลตะวันออก (ทะเลญี่ปุ่น) ขีปนาวุธบินได้ไกล 1,080 กิโลเมตร เพดานบินสูงสุด 6,200 กิโลเมตร โดยกองทัพเกาหลีใต้ประเมินว่า เป็นขีปนาวุธข้ามทวีป (Intercontinental Ballistic Missile – ICBM) ก่อนหน้านี้ เมื่อ 20 มี.ค.65 เกาหลีเหนือยิงทดสอบจรวดหลายลำกล้อง (Multiple rocket launchers-MRL) จำนวน 4 ลูก จากจังหวัดพย็องอันใต้ ไปตกในทะเลเหลือง และเมื่อ 16 มี.ค.65 เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธไม่ทราบชนิด 1 ลูก จากสนามบิน Sunan ในกรุงเปียงยาง โดยเสนาธิการทหารร่วมของเกาหลีใต้ประเมินว่า การยิงทดสอบดังกล่าวล้มเหลว ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวด้านการทดสอบขีปนาวุธอย่างต่อเนื่องของเกาหลีเหนือ มีขึ้นหลังจากเมื่อ ม.ค.65 เกาหลีเหนือขู่จะยกเลิกคำมั่นในการระงับการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์และขีปนาวุธข้ามทวีป