ชวนมองสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ตอนที่ 2 : นี่หรือ…เสรีนิยม
ในตอนที่ 2 จะชวนทุกคนมามองสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ผ่านแว่นตาของทฤษฎีกระแสหลักทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างทฤษฎีเสรีนิยม (Liberalism) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เป็นที่มักนำมาอธิบายปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 โดยมีคำอธิบายของตัวบททฤษฎีที่เป็น “ขั้วตรงข้าม” กับทฤษฎีสัจนิยมเชิงรุกรานในบทความตอนที่ 1 อย่างสิ้นเชิง และทฤษฎีเสรีนิยมมีสหรัฐฯ เป็นผู้นำทางความคิด การปฏิบัติ และเผยแพร่แนวความคิดไปสู่ประชาคมโลก ทฤษฎีเสรีนิยม ให้ความสำคัญกับหลักการพึ่งพาระหว่างรัฐ (interdependence) โดยเชื่อว่า “รัฐ” ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวในโลกได้ จำเป็นที่จะต้องมี “ความร่วมมือ” ระหว่างรัฐเพื่อความอยู่รอด แม้ว่าแต่ละรัฐจะมีผลประโยชน์แห่งชาติที่ต่างกัน แต่ก็สามารถมาร่วมมือกันได้ด้วยหลักการผลประโยชน์ร่วม (harmony of interests) และแต่ละรัฐจะเห็นความสำคัญของความมั่นคงร่วมกัน ทำให้เมื่อรัฐใดรัฐหนึ่งมีท่าทีว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคง เข้าทำนองที่ว่า “มีศัตรูร่วมกัน” รัฐต่าง ๆ ก็จะร่วมมือกันตอบโต้รัฐที่เป็นภัยคุกคามนั้นทันที และรัฐที่เป็นประชาธิปไตยมักใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเป็น “อาวุธ” จัดการกับรัฐที่เป็นเผด็จการหรือรัฐที่เป็นภัยคุกคาม ความร่วมมือระหว่างประเทศ จึงจะมีเครื่องมือทางการทูตเป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือ และอาศัยองค์การระหว่างประเทศเป็นเวทีกลางในการปรึกษาหารือ ทำให้องค์การระหว่างประเทศมีความสำคัญและเป็นพื้นที่ที่คอยสอดส่องดูแลพฤติกรรมของรัฐต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างกันอย่างเคร่งครัด สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน เป็นหนึ่งสถานการณ์ที่ทำให้เราเห็น “ตัวแบบ” ของชุดความเชื่อแบบ “เสรีนิยม” ที่มีสหรัฐฯ…