ชวนมองสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ตอนที่ 1 : ผ่านแว่นตาของทฤษฎีสัจนิยมเชิงรุกราน (Offensive Realism)
สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ได้รับความสนใจและวิเคราะห์ออกมาหลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้อยากจะชวนทุกคนมามองสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ผ่านแว่นตาของทฤษฎีทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ “ทฤษฎีสัจนิยมเชิงรุกราน (Offensive Realism)” ของ John J. Mearsheimer ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มองระบบโลกแบบอนาธิปไตย (anarchy) คือ สภาวะที่ปราศจากศูนย์กลางอำนาจในการปกครองดูแลระบบโลกทำให้สามารถนำไปสู่ความขัดแย้งหรือความร่วมมือกันระหว่างประเทศได้ ในระบบโลกแบบนี้ รัฐต่าง ๆ ต้องแสวงหาอำนาจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แสนยานุภาพทางทหาร” เพื่อที่จะป้องกันการรุกรานและการโจมตีจากรัฐอื่นและเชื่อในระบบสองขั้วอำนาจ ร้อยวันผ่านไป หากมองสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ผ่านแว่นตาของทฤษฎีนี้ จะเห็นได้ว่าการที่รัสเซีย บุกยูเครนและยังคงใช้กำลังทหารรุกรานอย่างต่อเนื่อง สื่อให้เห็นถึงระบบโลกแบบอนาธิปไตย ที่แม้แต่องค์การสหประชาชาติ (United Nations – UN) ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ยังไม่สามารถเป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหานี้ได้ และเมื่อเมษายนที่ผ่านมา สำนักข่าว BBC รายงานว่า เลขาธิการ UN ยอมรับว่า UN ไร้ความสามารถในการป้องกันและยุติสงครามในยูเครน ถือเป็นความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council – UNSC) รวมทั้งบทบาทของหน่วยงานยุติธรรมระหว่างประเทศก็เผชิญความท้าทายในการยับยั้งการรุกรานของรัสเซีย เช่น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International…