ขั้วอำนาจโลกทางเศรษฐกิจ : เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน ?
ก่อนจะคุยกันว่า ขั้วอำนาจโลกทางเศรษฐกิจ : เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน ? ขอสำรวจสภาวะแวดล้อมโลกในช่วงนี้ก่อน…. เห็น ๆ กันว่าสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความซับซ้อนมากขึ้นจากการที่ประเทศต่าง ๆ มีผลประโยชน์ทับซ้อน พึ่งพา และแข่งขันกันทั้งในมิติความมั่นคง การทหาร การเมือง เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ ทำให้เห็นสัญญาณว่า ประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันในลักษณะที่เป็นผลประโยชน์ร่วม (common interest) เฉพาะเรื่องมากกว่าที่จะร่วมมือหรือพึ่งพากันอย่างครอบคลุม สิ่งที่เห็นชัดเจนกันเรื่อย ๆ คือ การแข่งขันอิทธิพลระหว่างสหรัฐฯ จีน และรัสเซีย เพราะต้องการช่วงชิงความได้เปรียบในการเป็นผู้กำหนดระเบียบและมาตรฐานของโลก จึงพยายามเพิ่มบทบาทของตัวเอง ควบคู่กับสกัดกั้นและบ่อนทำลายบทบาทของคู่แข่ง นอกจากนี้ การที่ทั้ง 3 ประเทศ ยังไม่ลดระดับการแข่งขันกัน ยิ่งทำให้แนวโน้มบรรยากาศความมั่นคงระหว่างประเทศ มีการแข่งขัน และแบ่งขั้วอำนาจระหว่างประเทศมากขึ้น ประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดนระบุชัดเจนตั้งแต่รับตำแหน่งเมื่อปี 2563 ว่า สหรัฐฯ จะแข่งขันกับจีน ควบคู่กับร่วมมือกับประเทศพันธมิตรและหุ้นส่วนที่มีผลประโยชน์ร่วม ขณะที่จีนจะตอบโต้สหรัฐฯ ในระดับที่เท่าเทียม และเดินหน้าใช้ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจเป็นช่องทางพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ส่วนรัสเซีย…