บูรณาการ 5 ภาคี แห่งการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย
การดำเนินนโยบาย โครงการ แผนงานต่างๆ กล่าวได้ว่าการมีส่วนร่วมหรือการบูรณาการเป็นปัจจัย/เครื่องมือสำคัญในการผลักดันให้บังเกิดความสำเร็จหรือในการบรรลุเป้าหมาย โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องเข้ามาร่วมในการรับรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันตามขั้นตอนต่างๆ ของโครงการ (Project) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรม จะลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ได้ ไม่ใช่แค่ความขัดแย้งในกลุ่มประเภทเดียวกัน แต่หมายถึง กลุ่มผู้เกี่ยวข้องที่มีบทบาทหน้าที่ในโครงการที่แตกต่างกัน มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน สามารถหนุนเสริมและปิดข้อบกพร่องให้กันได้ โดยจะสามารถสรุปได้ 5 กลุ่มภาคี ดังนี้ ภาครัฐ ยักษ์ใหญ่ทรงอำนาจแต่อุ้ยอ้าย เป็นกลุ่มที่มีบทบาทหลักในการช่วยเหลือชาวบ้านกำหนดแนวทางนโยบายเป็นแนวทางนำให้กับส่วนอื่นๆ ภาคเอกชน คล่องแคล่วว่องไว มีทุนสามารถหนุนเสริมภาครัฐเพื่อการสร้างผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นร่วมกัน ช่วยกระชับกระบวนการให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เป็นลักษณะการดำเนินการในรูปแบบธุรกิจที่มุ่งหวังให้เกิดความคุ้มทุน หากพิจารณาจากกำไรทีได้จากโครงการเพียงอย่างเดียว จะทำให้ไม่เกิดการกระจายตัวในการพัฒนาช่วยเหลือชาวบ้าน จึงเป็นบทบาทที่แตกต่างจากภาครัฐนั่นเอง ภาควิชาการ ฝ่ายข้อมูลสำหรับการชี้วัดเพื่อการตรวจสอบเก็บข้อมูลอย่างแม่นยำ และติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปต่อยอดโครงการอื่นๆ ต่อไป ภาคสื่อมวลชน ต่อยอดวิชาการ สื่อสาร ย่อยข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้กับผู้อื่นรับทราบ สร้างความเข้าใจร่วมกัน จึงเป็นการลดความขัดแย้งไปในระหว่างการทำงานได้ด้วย ในกรณีที่ข้อมูลที่สื่อสารออกไปเป็นข้อเท็จจริง ภาคประชาชน หน่วยย่อยผู้มักได้รับบทบาทเป็นผู้รับการช่วยเหลือหรือกลุ่มเป้าหมาย ในทางกลับกันพวกเขาเป็นแหล่งข้อมูลในพื้นที่ที่จะสามารถสะท้อนปัญหาออกมาได้อย่างชัดเจน และยังเป็นกลุ่มคนที่จะอยู่กับความสำเร็จดำเนินกิจกรรมต่อไปเมื่อภาคส่วนต่างๆ แยกย้ายกันไปหรือจบโครงการแล้ว นั่นหมายความว่า ความสำเร็จของโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อทั้ง 5 ภาคีร่วมบูรณาการทำงานร่วมกันไปตามบทบาทหน้าที่ ตั้งแต่การกำหนดแผนระยะยาวของหน่วยงานส่วนกลางของภาครัฐสู่การตอบรับนโยบายในหน่วยงานท้องถิ่นร่วมมือกับมหาวิทยาลัยตามภูมิภาค ภาคธุรกิจในระดับชุมชน…