สาธารณรัฐเคนยา
Republic of Kenya
เมืองหลวง ไนโรบี
ที่ตั้ง ภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก ระหว่างเส้นละติจูดที่ 1 องศาเหนือ กับเส้นลองจิจูดที่ 38 องศาตะวันออก พื้นที่ 580,367 ตร.กม. มีชายแดนทางบกยาว 3,457 กม. และมีชายฝั่งยาว 536 กม.
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับเอธิโอเปีย 867 กม.
ทิศใต้ ติดกับแทนซาเนีย 775 กม.
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับโซมาเลีย 684 กม.
ทิศตะวันออกเฉียงใต้. ติดกับมหาสมุทรอินเดีย 536 กม.
ทิศตะวันตก ติดกับยูกันดา 814 กม.
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับเซาท์ซูดาน 317 กม.
ภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบก่อนที่จะยกตัวเป็นที่ราบสูง Great Rift Valley ในภาคกลางของประเทศ และมีที่ราบสูงที่อุดมสมบูรณ์ทางตะวันตกของประเทศ
ภูมิอากาศ มีอากาศแบบเขตร้อน ร้อนชื้นบริเวณชายฝั่งทะเล ตอนกลางของประเทศมีอากาศเย็น และร้อนแห้งแล้งทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุด คือ ก.พ.-มี.ค. มีฝนตกชุกประมาณ มี.ค.-พ.ค. หนาวที่สุด คือ ก.ค.-ส.ค. และฝนตกประปรายประมาณ ต.ค.-พ.ย.
ศาสนา คริสต์ 85.5% (เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ 33.4% นิกายโรมันคาทอลิก 20.6% นิกายอีแวนเจลิค 20.4% และนิกายอื่น 11.1%) อิสลาม 10.9% และอื่น ๆ 3.6%
ภาษา ภาษาสวาฮีลี หรือคิสวาฮีลี และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ และมีการใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก
การศึกษา อัตราการรู้หนังสือ 81.5%
การก่อตั้งประเทศ นายโจโม เคนยัตตา (Jomo Kenyatta) นำประเทศพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของ สหราชอาณาจักรเมื่อปี 2506 และจัดการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2507 ซึ่งพรรค Kenya African National Union (KANU) ชนะการเลือกตั้ง และนายเคนยัตตาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก พร้อมทั้งประกาศให้เคนยาเป็นสาธารณรัฐอยู่ในเครือจักรภพของสหราชอาณาจักร ประธานาธิบดีเคนยัตตาบริหารประเทศจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี 2521 นาย Daniel arap Moi ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีขึ้นดำรงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีแทนจนถึงปี 2545 เคนยาปกครองโดยพรรคการเมืองเดียวจนถึงเมื่อ ธ.ค.2534 จึงเปลี่ยนการบริหารประเทศมาสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยหลายพรรคแบบตะวันตก
วันชาติ 12 ธ.ค. (วันประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2506)
นายอูฮูรู มุยไก เคนยัตตา
Uhuru Muigai Kenyatta
(ประธานาธิบดีเคนยา)
ประชากร 53,771,300 คน (ปี 2563 ประมาณการของสหประชาชาติ)
รายละเอียดประชากร มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์จากหลายชนเผ่า ได้แก่ เผ่า Kikuyu 17.1% Luhya 14.3% Kalenjin 13.4% Luo 10.7% Kamba 9.8% Somali 5.8% Kisii 5.7% Mijikenda 5.2% Meru 4.2% Masai 2.5% Turkana 2.1% อื่น ๆ 9.2% อัตราส่วนประชากรจำแนกตามอายุ : วัยเด็ก (0-14 ปี) 38.71% วัยรุ่นถึงวัยกลางคน (15-64 ปี) 58.21% วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) 3.07% อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโดยรวม 69 ปี เพศชาย 67.3 ปี เพศหญิง 70.6 ปี อายุเฉลี่ยของประชากรโดยรวม 20 ปี เพศชาย 19.9 ปี เพศหญิง 20.1 ปี อัตราการเกิด 27.2 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการตาย 5.2 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการเพิ่มของประชากร 2.2%
การก่อตั้งประเทศ นายโจโม เคนยัตตา (Jomo Kenyatta) นำประเทศพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของ สหราชอาณาจักรเมื่อปี 2506 และจัดการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2507 ซึ่งพรรค Kenya African National Union (KANU) ชนะการเลือกตั้ง และนายเคนยัตตาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก พร้อมทั้งประกาศให้เคนยาเป็นสาธารณรัฐอยู่ในเครือจักรภพของสหราชอาณาจักร ประธานาธิบดีเคนยัตตาบริหารประเทศจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี 2521 นาย Daniel arap Moi ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทนจนถึงปี 2545 เคนยาปกครองโดยพรรคการเมืองเดียวจนถึงเมื่อ ธ.ค.2534 จึงเปลี่ยนการบริหารประเทศมาสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยหลายพรรคแบบตะวันตก
การเมือง ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐที่มีประธานาธิบดีมีอำนาจสูงสุด
ฝ่ายบริหาร : ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และ ผบ.ทหารสูงสุด วาระดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ไม่เกิน 2 วาระ ปัจจุบัน คือ ประธานาธิบดี Uhuru Kenyatta (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 9 เม.ย.2556) ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐ และหัวหน้าฝ่ายรัฐบาล ตำแหน่ง นรม.ยกเลิกไปตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อปี 2556 การเลือกตั้งเมื่อ 8 ส.ค.2560 ประธานาธิบดี Uhuru Kenyatta ชนะ การเลือกตั้งด้วยคะแนน 54.17% แต่นาย Raila Odinga (คู่แข่ง) ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และร้องเรียนต่อศาลฎีกา ซึ่งต่อมาศาลฎีกาได้ประกาศให้การเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นโมฆะ และกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน ซึ่งกำหนดจัดเลือกตั้งใหม่เป็น 17 ต.ค.2560 แต่เลื่อนเป็น 26 ต.ค.2560 ซึ่งประธานาธิบดี Uhuru Kenyatta ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนน 98.26% จากผู้ออกมาใช้สิทธิ 38.84% แต่ฝ่ายค้านไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาว่าการเลือกตั้งไม่ชอบธรรม ต่อมาเมื่อ 20 พ.ย.2560 ศาลฎีกายก คำร้องดังกล่าว จากนั้นเมื่อ 28 พ.ย.2560 ประธานาธิบดี Uhuru Kenyatta สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ทั้งนี้การเลือกตั้งประธานาธิบดีเคนยาครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในปี 2565
ฝ่ายนิติบัญญัติ : เป็นระบบ 2 สภา ได้แก่ วุฒิสภา มีสมาชิก 67 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 47 คน และ 20 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน ในจำนวนนี้เป็นสตรี 16 คน ผู้แทนเยาวชน 2 คน และผู้แทนคนทุพพลภาพ 2 คน วาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ส่วนสภาผู้แทนราษฎร (National Assembly) มีสมาชิก 349 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 290 คน เป็นสตรี 47 คน และสภาผู้แทนราษฎรเสนอ 12 คน โดยแบ่งเป็นผู้แทนเยาวชน 6 คน และผู้แทนคนทุพพลภาพ 6 คน วาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในปี 2565
ฝ่ายตุลาการ : มีศาลฎีกา ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และองค์คณะผู้พิพากษา 5 คน
พรรคการเมืองสำคัญ : พรรค Jubilee Party of Kenya หัวหน้าพรรค คือ ประธานาธิบดี Uhuru Kenyatta ซึ่งเป็นการรวมตัวของพรรคต่าง ๆ รวม 11 พรรค ได้แก่ พรรค Jubilee Alliance Party (JAP), พรรค Alliance Party of Kenya หรือ AKP [Kiraitu MURUNGI], พรรค United Republican Party (URP), พรรค Grand National Union (GNU), พรรค New FORD–Kenya (NFK), พรรค FORD People (FP), พรรค United Democratic Forum (UDF), พรรค Chama Cha Uzalendo (CCU), พรรค Republican Congress (RC), พรรค The National Alliance (TNA) และพรรค The Inde-pendence Party (TIP)
พรรคการเมืองอื่น เช่น พรรค National Super Alliance (NASA) หัวหน้าพรรค คือ นาย Raila Odinga ซึ่งเป็นการรวมตัวของพรรค Orange Democratic Movement (ODM), พรรค Wiper Democratic Movement (Wiper), พรรค Forum for the Restoration of Democracy-Kenya (FORD-Kenya), พรรค Amani National Congress (ANC), พรรค National Rainbow Coalition, พรรค Progressive Party of Kenya, พรรค Chama Cha Uzalendo (CCU) และพรรค Muungano Party (MP)
กลุ่มการเมืองที่เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาล : Council of Islamic Preacher of Kenya, Kenya Human Rights Commission, Muslim Human Rights Forum, National Muslim Leaders Forum, Protestant National Council of Churches of Kenya
เศรษฐกิจ เคนยาเป็นศูนย์กลางของกลุ่มประเทศสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern Africa-COMESA) โดยเป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการเงิน ตลอดจนเป็นแหล่งกระจายสินค้าในแอฟริกาตะวันออก ปัจจุบัน เคนยาประสบปัญหาขาดดุลการค้าจำนวนมาก เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของเคนยาเป็นสินค้าเกษตร ซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศและราคาในตลาดโลกได้ง่าย
รัฐบาลเคนยามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยกำหนดมาตรการที่เปิดโอกาสให้ต่างชาติลงทุนได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องมีหุ้นส่วนเป็นคนท้องถิ่น รวมทั้งให้การสนับสนุนและให้สิทธิพิเศษสำหรับภาคธุรกิจที่เน้นเรื่องการพัฒนาหรือยังขาดแคลน เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เกษตรแปรรูป การสื่อสาร สถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ การผลิตและการค้า การก่อสร้าง
เศรษฐกิจเคนยาขยายตัวได้ดี เนื่องจากแรงงานมีคุณภาพ ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารได้ดี แต่ประสบภาวะเศรษฐกิจหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โรค COVID-19 โดยการส่งออกไม้ตัดดอกและผักของเคนยาลดลง 35% เพราะมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในตลาดสำคัญ เช่น สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร ภาคบริการที่พักและอาหาร หดตัว 83% นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมายังท่าอากาศยานนานาชาติ Jomo Kenyatta ลดลง 99.5% ขณะที่บริการด้านสุขภาพขยายตัว 10% ด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง ขยายตัวมากขึ้นจนเกือบเป็น 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจเคนยา อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศยังมีปัญหาอาชญากรรมและความไม่ปลอดภัยจาก กลุ่มก่อการร้ายส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ขณะที่ปัญหาคอร์รัปชันอย่างกว้างขวางเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากในและต่างประเทศ
สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน : Kenyan Shilling หรือ KES
อัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลลาร์สหรัฐ : 1 ดอลลาร์สหรัฐ : 109.55 Kenyan Shilling
อัตราแลกเปลี่ยนต่อบาท : 1 บาท : 3.61 Kenyan Shilling (พ.ย.2563)
ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) : 101,050 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการปี 2563 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ)
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ : หดตัว 5.7% (ต.ค.2563 ของสำนักงานสถิติเคนยา)
รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี : 2,080 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการปี 2563 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ)
แรงงาน : 25,593,770 คน (ปี 2562 ของสำนักงานสถิติเคนยา)
อัตราการว่างงาน : 10.4% (ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563)
อัตราเงินเฟ้อ : 4.84% (ต.ค.2563 ของสำนักงานสถิติเคนยา)
ผลผลิตทางการเกษตร : ชา กาแฟ ข้าวโพด ข้าวสาลี อ้อย ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อวัว ปลา หมู
สัตว์ปีก ไข่
ผลผลิตอุตสาหกรรม : สินค้าอุปโภคบริโภคขนาดเล็ก เช่น พลาสติก เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอ เสื้อผ้า สบู่ แป้งทำอาหาร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร พืชสวน การกลั่นน้ำมัน อลูมิเนียม เหล็กกล้า ตะกั่ว การท่องเที่ยว
ดุลการค้าระหว่างประเทศ : ขาดดุล 4,950 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการปี 2563 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ)
มูลค่าการส่งออก : 6,630 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2561)
สินค้าส่งออก : ชา ไม้ตัดดอก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม กาแฟ แร่ไทเทเนียม
คู่ค้าส่งออกที่สำคัญ : ยูกันดา 9.7% ปากีสถาน 8.68% สหรัฐฯ 7.95% เนเธอร์แลนด์ 7.71% สหราชอาณาจักร 6.53%
มูลค่าการนำเข้า : 19,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2561)
สินค้านำเข้า : ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยานยนต์ เวชภัณฑ์ น้ำมันปาล์ม เหล็ก
คู่ค้านำเข้าที่สำคัญ : จีน 24% อินเดีย 10.2% ซาอุดีอาระเบีย 8.44% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 8.21% ญี่ปุ่น 4.8%
คู่ค้าสำคัญ : จีน อินเดีย ยูกันดา ปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย
ทรัพยากรธรรมชาติ : หินปูน โซดาไฟ เกลือ อัญมณี แร่ฟลูออไรต์ ดินเบา (diatomite) แร่สังกะสี ยิปซัม
สัตว์ป่า และพลังงานน้ำ
การทหารและความมั่นคง
การทหาร : งบประมาณด้านการทหาร 1,231 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1.25% ของ GDP (ปี 2562) กำลังพลรวม : ทหาร 24,100 คน แยกเป็น ทบ. 20,000 คน ทร. 1,600 คน และ ทอ. 2,500 คน นอกจากนี้ยังมีกองกำลังกึ่งทหาร 5,000 คน
ยุทโธปกรณ์สำคัญ :
ทบ. ได้แก่ รถถังหลัก (MBT) รุ่น Vickers Mk3 จำนวน 78 คัน รถหุ้มเกราะลาดตระเวน (RECCE) รุ่น AML-60/AML-90 จำนวน 72 คัน รุ่น Ferret จำนวน 12 คัน รุ่น S52 Shorland จำนวน 8 คัน รถสายพานลำเลียงพลหุ้มเกราะ (APC) จำนวน 200 คัน ปืนใหญ่แบบต่าง ๆ จำนวน 111 กระบอก ฮ.อเนกประสงค์ (MRH) รุ่นต่าง ๆ จำนวน 37 เครื่อง อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่ผิวพื้น (ASM) ไม่ปรากฏจำนวน
ทร. ได้แก่ เรือตรวจการณ์นอกชายฝั่ง (PCO) รุ่น Jasiri จำนวน 1 ลำ เรือเร็วตรวจการณ์ (PCF) รุ่น Nyayo จำนวน 2 ลำ เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (PCC) รุ่นต่าง ๆ จำนวน 3 ลำ เรือเร็วตรวจการณ์ (PBF) รุ่น Archangel จำนวน 1 ลำ
ทอ. ได้แก่ บ.ขับไล่ (FTR) รุ่น F-5E Tiger II จำนวน 17 เครื่อง รุ่น F-5F Tiger II จำนวน 4 เครื่อง บ.ลำเลียง (TPT) รุ่นต่าง ๆ จำนวน 17 เครื่อง ฮ.โจมตี (ATK) รุ่น AH-1F Cobra จำนวน 3 เครื่อง ฮ.อเนกประสงค์ (MRH) รุ่น H125M (AS550) Fennec จำนวน 9 เครื่อง อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ (AAM) และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่ผิวพื้น (ASM) ไม่ปรากฏจำนวน
ปัญหาด้านความมั่นคง
1) ภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้าย ได้แก่ กลุ่ม al-Shabaab นอกโซมาเลีย ที่โจมตีเคนยาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่ทรัพย์สินหรือบุคลากรของรัฐบาลเคนยาหรือต่างชาติในเมืองหลักต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองหรือทางทหารกับโซมาเลีย โดยเมื่อ ก.ย.2556 หลังจากกลุ่ม al-Shabaab ก่อเหตุบุกยึดห้างสรรพสินค้า Westgate ในในโรบี ได้แถลงว่าหากต้องการสร้างสันติภาพกับ กลุ่ม al-Shabaab เคนยาควรถอนกำลังทหารออกจากโซมาเลีย ไม่เช่นนั้นจะมีการโจมตีเคนยาอีก ซึ่งหลังจากนั้น กลุ่ม al-Shabaab มีการโจมตีเคนยาอีก โดยในห้วง 10 ปีที่ผ่านมา เคนยาถูกโจมตีอย่างน้อย 30 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตกว่า 600 คน บาดเจ็บหลายพันคน สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานของรัฐและเอกชน คิดเป็นมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ
2) ปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย เนื่องจากเคนยามีฤดูฝน 2 ครั้ง ได้แก่ เม.ย.-มิ.ย. และ ต.ค.-พ.ย. ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วม ขณะเดียวกันเคนยายังเผชิญปัญหาภัยแล้งด้วย ซึ่งทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารของคนและปศุสัตว์ ประชาชนบางส่วนเสี่ยงอดอยากจากการขาดแคลนน้ำและอาหารอย่างรุนแรง
3) การต่อสู้ของรัฐบาลกับปัญหาคอร์รัปชันขนาดใหญ่ซึ่งมีมาโดยตลอด เช่น เมื่อปี 2562 มีการฟ้องร้อง รมว.กระทรวงการคลัง กรณีโครงการสร้างเขื่อน Arror และเขื่อน Kimwarer ในภูมิภาค Rift Valley ของเคนยา โดยอัยการระบุว่า บริษัทของอิตาลีชนะการประมูลเมื่อปี 2558 มีการจ่ายเงิน 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ไม่มีการดำเนินการโครงการใด ๆ เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี เหตุการณ์นี้ส่งผลให้รัฐบาลจริงจังกับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันมากขึ้น
ความสัมพันธ์ไทย-เคนยา
ความสัมพันธ์ด้านการทูต
ไทยและเคนยาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อ 25 ก.ค.2510 ไทยเปิด สอท. ณ ไนโรบี เมื่อปี 2521 ส่วนเคนยาเปิด สอท.เคนยา/กรุงเทพฯ เมื่อ ต.ค.2549 ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เคนยาราบรื่น
เคนยามีความสำคัญต่อไทยในทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เคนยามีศักยภาพเป็นหุ้นส่วนหลักทางยุทธศาสตร์ของไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม โดยการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission-JC) ระหว่างไทยกับเคนยา ครั้งแรกเมื่อ 17-18 มิ.ย.2553 ที่ไนโรบี ทั้งสองฝ่ายตกลงจะสำรวจลู่ทางเพิ่มปริมาณการค้า และผลักดันการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee) เพื่อเป็นกลไกในการดำเนินการดังกล่าว และเร่งรัดการจัดทำความตกลงด้านต่าง ๆ ระหว่างกันที่คั่งค้างอยู่
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
เมื่อปี 2562 การค้าระหว่างไทย-เคนยา มีมูลค่า 257.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (7,997.70 ล้านบาท) ไทยส่งออกไปเคนยา 223.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (6,921.63 ล้านบาท) และนำเข้าจากเคนยา 34.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,076.07 ล้านบาท) ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้าเคนยา 189.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (5,845.56 ล้านบาท) และในช่วง ม.ค.-ก.ย.2563 การค้าไทย-เคนยา มีมูลค่า 116.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3,633.47 ล้านบาท) ไทยส่งออก 101.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3,160.27 ล้านบาท) และนำเข้า 14.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (473.20 ล้านบาท)
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเคนยา ได้แก่ ข้าว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ยาง ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ และในช่วง ม.ค.-ก.ย.2563 ได้แก่ ข้าว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์
สินค้าที่ไทยนำเข้า ได้แก่ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป และกึ่งสำเร็จรูป เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ และในช่วง ม.ค.-ก.ย.2563 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป และกึ่งสำเร็จรูป เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ทั้งนี้ ปี 2563 มีคนไทยในเคนยา 55 คน
ด้านการท่องเที่ยว ปี 2562 นักท่องเที่ยวเคนยาเดินทางมาไทย มีจำนวน 4,710 คน และในช่วง ม.ค.-ก.ย.2563 คนสัญชาติเคนยามาไทย (เพื่อการท่องเที่ยวและวัตถุประสงค์อื่น ๆ) มีจำนวน 1,994 คน
ข้อตกลงสำคัญ : ความตกลงว่าด้วยการเดินอากาศ (6 ก.ย.2534) ความตกลงด้านการค้า (8 มี.ค.2536) ความตกลงระหว่างสภาหอการค้าไทยและ Kenya National Chamber of Commerce and Industry (KNCCI) (10 มิ.ย.2536) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (2 ธ.ค.2547) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจัดการอุทยานและสัตว์ป่า (9 พ.ย.2548) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคี (9 พ.ย.2548)
ร่างความตกลงที่อยู่ระหว่างการพิจารณาได้แก่ 1) Draft Agreement for the Promotion and Protection of Investments 2) Draft MOU on Health Collaboration 3) Draft MOU between Kenya Investment Authority and the office of the Board of Investment of Thailand 4) Draft MOU on Cooperation in Higher Education, Science and Technology 5) Draft MOU in the Area of Geology and Mineral Exploration, Min-ing, Processing, Trade and Investment in Minerals และ 6) Draft Convention for the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income