องค์การอนามัยโลก (WHO)
กล่าวเมื่อ 15 ก.พ.65 ยินดีกับปากีสถานที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้ประชาชนครบ 200 ล้านโดส ซึ่งแสดงถึงความตั้งใจและความพยายามของรัฐบาลปากีสถานในการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชน
กล่าวเมื่อ 15 ก.พ.65 ยินดีกับปากีสถานที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้ประชาชนครบ 200 ล้านโดส ซึ่งแสดงถึงความตั้งใจและความพยายามของรัฐบาลปากีสถานในการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชน
ระบุเมื่อ 15 ก.พ.65 จะผ่อนคลายมาตรการจำกัดจำนวนผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ โดยจะอนุญาตให้ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากวันละ 3,500 ราย เป็นวันละ 5,000 รายใน มี.ค.65
ประกาศเมื่อ 15 ก.พ.65 จะยกเลิกข้อกำหนดให้ผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศแสดงผลตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี PCR ตั้งแต่ 28 ก.พ.65 เฉพาะผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ครบโดส
แถลงเมื่อ 15 ก.พ.65 จะเปิดการเดินทางช่องทางพิเศษ Vaccinated Travel Lane (VTL) กับบรูไน โดยจะมีเที่ยวบินให้บริการระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ ของมาเลเซีย กับบันดาร์เสรีเบกาวัน ของบรูไน สัปดาห์ละ 4 เที่ยวบิน และผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ครบโดสแล้วไม่ต้องกักตัว
มนุษย์เราเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน ทั้งรูปลักษณ์ หน้าตา สีผิว ความสมบูรณ์ของร่างกาย และฐานะ …สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อโอกาสในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโอกาสทางการศึกษา ไปจนถึงหน้าที่การงานและการสร้างรายได้ อย่างไรก็ตาม รัฐมีเครื่องมือลดความแตกต่างนี้ลงด้วยสิ่งที่เรียกว่า “สวัสดิการ” จากรัฐ ที่เปลี่ยนบริการบางอย่างให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างสาธารณะ หรือควบคุมไว้ไม่ให้เกิดการผูกขาด ภายใต้การบริหารงบประมาณจากการเก็บภาษีตามอัตราส่วนต่าง ๆ แนวคิดของการบริหาร “ภาษี” ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมงบประมาณ ทั้งจากผู้มีรายได้สูงและรายได้ต่ำ โดยใช้ในการบริการประชาชนทุกระดับ ดังนั้น ภาษีจึงมีส่วนช่วยในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ โดยเฉพาะในลักษณะของ “รัฐสวัสดิการ” ที่จะมีการเก็บภาษีจากโอกาสต่างๆ มาชดเชยค่าเสียโอกาสต่างๆ เช่น การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม (ECO TAX) จากผู้ก่อมลพิษเพื่อจูงใจให้ลดการก่อมลพิษที่จะส่งผลกระทบต่อคนทั่วไป การเก็บภาษีน้ำจากการทำเกษตรเพื่อสร้างรายได้สำหรับการอนุรักษ์ระบบนิเวศในระดับลุ่มน้ำ ภาษีถือเป็นการให้มูลค่ากับสิ่งต่างๆ เป็นการตีความทางตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบค่าเสียโอกาสต่างๆ และเพิ่มเติมชดเชยให้เหมาะสม จากแนวคิดดังกล่าว ในอนาคตมนุษย์หากคนคนหนึ่งเกิดมามีความพิการ 60% จะได้รับการชดเชยเพื่อสร้างโอกาสให้เท่าเทียมกับคนที่เกิดมาสมบูรณ์ 100% นั่นหมายความว่า คนที่เกิดมาสมบูรณ์จะต้องทำ 140% เพื่อชดเชยให้คนพิการ หรือแบ่งให้เป็น 80% เท่ากันทั้งสองคน ถือเป็นความรับผิดชอบของส่วนรวมทางสังคมภายใต้แนวคิดแบบอำนาจนิยมที่จัดสรรให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในยุคที่ทุกอย่างสามารถตีค่าชี้วัดออกมาเป็นตัวเลขได้ ซึ่งในสังคมรูปแบบนี้ บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะต้องเสียภาษีคืนกำไรให้กับสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะรับผิดชอบต่อกลุ่มคนที่อยู่ในกระบวนการหรือได้รับผลกระทบจากธุรกิจนั้นๆ ไม่ใช่แค่ภาษีและการตีมูลค่าตัวเลขเท่านั้น แต่…
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์ รายงานเมื่อ 15 ก.พ.65 ว่า นางคำจัน วงแสนบุน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแผนการและการลงทุนลาว ผู้แทนรัฐบาลลาว และผู้แทนบริษัทนิกสัน พัฒนาบ่อแร่ (เอกชนลาว) ร่วมลงนามข้อตกลงขุดค้น ปรุงแต่ง และส่งออกแร่ทอง ในแขวงเชียงขวาง โดยเหมืองดังกล่าวมีพื้นที่ 18.28 ตารางกิโลเมตร ระยะเวลาสัมปทาน 20 ปี ซึ่งบริษัทฯ จะลงทุนประมาณ 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการขุดค้นและสร้างโรงงานมาตรฐานสากล อีกทั้งบริษัทฯ ได้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมล่วงหน้าให้รัฐบาลลาว 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมอบเงิน 24,000 ล้านกีบ เพื่อก่อสร้างถนนระยะทาง 48 กิโลเมตร เชื่อมเมืองคำ แขวงเชียงขวาง กับเมืองเฮี้ยม แขวงหัวพัน ทั้งนี้ โครงการเหมืองทองจะช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับรัฐบาล และสร้างงานให้กับคนท้องถิ่น
เว็บไซต์ Ukrinform.net และสำนักข่าว Tass รายงานเมื่อ 13 ก.พ.65 อ้างทวิตเตอร์ของนายดมีโตร คูเลบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยูเครน ระบุว่า ยูเครนเรียกร้องให้องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe-OSCE) จัดประชุมฉุกเฉิน หลังจากรัสเซียเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของยูเครนภายใต้ Vienna Document 2011 ให้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาในเรื่องความโปร่งใสทางทหารเพื่อลดความตึงเครียด มาตรการสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคง ที่เสนอขอเจรจากับรัสเซียไปเมื่อ 11 ก.พ.65 และขอคำตอบจากรัสเซียภายใน 48 ชั่วโมง ให้ระบุพื้นที่แน่นอนของกิจกรรมทางทหาร วันที่เสร็จสิ้น รหัสการฝึกซ้อม การบังคับบัญชา จำนวน รูปแบบการทหาร ประเภทของอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารที่เกี่ยวข้อง
“สุขภาพ (healthy) สิ่งแวดล้อม (environment) การทารุณกรรมต่อสัตว์ (Cruelty to Animals)” แนวคิดเหล่านี้ทำให้ผู้คนต่างเริ่มมีความคิดที่จะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลง และในขณะเดียวกันก็ทำให้พืชกลายเป็นทางเลือกในการบริโภคที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการทำปศุสัตว์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมาก ทั้ง “พื้นที่” ในการเลี้ยงและการเพาะปลูกพืชเป็นอาหารสัตว์ จนทำให้เกิดการขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดสำหรับผลิตอาหารสัตว์รุกคืบเข้าไปในพื้นที่ป่าในประเทศไทย ปัจจุบัน พื้นที่การเกษตรกว่า 80% เป็นพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ และท้ายที่สุดมักมีการทำเกษตรกรรมด้วยการปลูกพืชแบบเดิม ๆ ทำให้เกิดพื้นที่ “เขาหัวโล้น” มากกว่า 8.6 ล้านไร่ ดังนั้น…การตัดวงจรการสร้างเขาหัวโล้นดังกล่าวด้วยการหันมาบริโภคพืช จึงมีส่วนช่วยในการรักษาสภาพแวดล้อมได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะจะช่วยลดขั้นตอนการผลิต จากการปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ ก็กลายเป็นการบริโภคพืชโดยตรง นอกจากนี้ การรณรงค์เรื่องการบริโภคพืชแทนเนื้อสัตว์ยังสร้างความตระหนักรู้ในการเลือกวิธีการปลูกพืชที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะผู้บริโภคต้องการความมั่นใจว่าจะไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ในอาหาร ไม่ว่าจะเริ่มตั้งแต่การใช้พืชตัดแต่งพันธุกรรม ปลูกบนพื้นที่ที่ราดด้วยยาฆ่าหญ้า เร่งการโตด้วยปุ๋ยเคมี และป้องกันด้วยยาฆ่าแมลง ซึ่งที่ผ่านมา…พืชที่เต็มไปด้วยสารเคมีเหล่านี้ถูกป้อนให้กับสัตว์จำนวนมากเพื่อทำน้ำหนักให้โตไว และกลายมาเป็นเนื้อสัตว์บนโต๊ะอาหารของเรา แม้ผู้ผลิตจะยืนยันว่าสัตว์เหล่านั้นได้รับการเลี้ยงดูอย่างปลอดภัย แต่อาหารสัตว์ก็ยังมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ดี ในทางกลับกัน….การเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษทำให้เราได้รับสารพิษจากกระบวนการผลิตวัตถุดิบลดลง ผู้คนจึงนิยมที่จะบริโภคพืชผักกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ปลูกโดยวิธีธรรมชาติ ปลอดสารเคมี เพื่อความปลอดภัยทางอาหาร (food safety) และการบริโภคพืชผักเป็นหลักจะช่วยทำให้ร่างกายดูดซับสารอาหารและย่อยได้ง่ายกว่า ทำให้สุขภาพดีขึ้นด้วย เมื่อค่านิยมในการบริโภคอาหารเปลี่ยนไป ความต้องการเนื้อสัตว์ลดลงสวนทางกับความต้องการบริโภคโปรตีนทางเลือกจากพืช (plant-based protein)…
ศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติ (National Counterterrorism Center – NCTC)ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยข่าวกรองประกาศเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ว่าได้จัดทำและเริ่มใช้งานแอปพลิเคชั่นแจ้งเตือนภัยคุกคามเกี่ยวกับการก่อการร้าย ชื่อว่า “aCTknowledge” เพื่อแชร์ข้อมูลและรายงานวิเคราะห์เกี่ยวกับการก่อร้ายให้หน่วยงานราชการและหน่วยความมั่นคงของสหรัฐฯ เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการกำหนดนโยบาย รวมทั้งหาแนวทางป้องกันการก่อการร้ายได้อย่างรวดเร็ว การเปิดตัวแอปพลิเคชั่น aCTknowledge ที่มีจุดโฟกัสที่เรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย เป็นการบอกชาวอเมริกันและทั่วโลกว่า สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยคุกคามจากการก่อการร้าย ไม่น้อยไปกว่าประเด็นภัยคุกคามอื่น ๆ เพราะในห้วง 2 ปีที่ผ่านมามีรายงานว่า สหรัฐฯ เผชิญความเสี่ยงจากการก่อการร้ายภายในประเทศ หรือประเภท homegrown มากกว่าจากกลุ่มก่อการร้ายต่างประเทศอย่างกลุ่ม Islamic State (IS) และอัลกออิดะฮ์ (Al-Qaeda-AQ) ทำให้หน่วยความมั่นคงสหรัฐฯ ต้องปรับตัวเพื่อติดตามและป้องกันทุกความเสี่ยง พร้อมกันนี้ ความพยายามของ NCTC ยังสะท้อนว่า หน่วยงานของสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดเหตุก่อการร้ายที่จะเป็นผลเสียต่อความปลอดภัยของชาวอเมริกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในส่วนของ NCTC เองก็เป็นหน่วยงานที่สหรัฐฯ ก่อตั้งขึ้นหลังเกิดเหตุวินาศกรรม 9/11 เมื่อปี 2544 เพราะต้องการลดจุดอ่อนในงานความมั่นคงของสหรัฐฯ ที่ไม่ได้ประสานงานกันมากพอจนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ก่อการร้ายประสบความสำเร็จในการก่อเหตุดังกล่าว…
ระบุเมื่อ 15 ก.พ.65 ความเสี่ยงของวิกฤต COVID-19 ในภูมิภาคยุโรปตะวันออกและภูมิภาคเอเชียกลางยังอยู่ในระดับสูง จากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน