การวิเคราะห์ภาพยนตร์ผ่านกรอบแนวคิดและทฤษฎี ความไม่ทัดเทียมของคนผิวสี ภาพยนตร์มีการสะท้อนปัญหาเรื่องสีผิวอยู่ในภาพยนตร์เรื่อง Get Out (ปี 2560) ได้กล่าวถึงชายผิวดำถูกหลอกให้หลงรักกับสาวผิวขาว ก่อนที่สุดท้ายเขาจะทราบความจริงว่าที่แท้มันคืออุบายของฝ่ายหญิงที่จะนำร่างกายอันแข็งแรงของคนผิวดำไปผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เพื่อให้คนผิวขาวที่เจ็บป่วยหรือชราภาพได้มีชีวิตยืนยาว ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงภาพของคนผิวขาวที่ดูเป็นมิตรกับคนผิวสี แต่เบื้องหลังคือการหลอกใช้เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน นักวิเคราะห์ภาพยนตร์ Valarie Wong กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้ว่า “หักมุมและลุ้นระทึกเมื่อสถานการณ์ในเรื่องพลิกอย่างไม่คาดฝัน แถมเดาตอนจบได้ยาก มีสารของความอัดอั้นตันใจของชาวผิวสี และวิธีการปฏิบัติของคนผิวขาวที่มีต่อคนผิวดำ เป็นหนังจิกกัดเรื่องการเหยียดผิวได้เจ็บแสบและสะใจ” ขณะที่ เบิกโรง กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่อง Get Out ไว้ในทำนองเดียวกัน “จับเอาเรื่องราวของคนดำที่ตกเป็นเหยื่อมานำเสนอ ในขณะที่คนร้ายของเรื่องก็คือครอบครัวคนขาว ซึ่งในมุมหนึ่งได้สะท้อนทัศนคติที่คนขาวบางคนมีต่อคนดำที่ทุกวันนี้สังคมอเมริกันก็ยังมีทัศนคติแบบนี้อยู่” ส่วนภาพยนตร์เรื่องต่อมาคือเรื่อง Us (ปี 2562) ในหนังมีการเน้นถึงความคิดเกี่ยวกับการเป็นอเมริกัน หรือความพยายามในการเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกาอย่างเช่น ครอบครัว Wilson ครอบครัวของตัวเอกที่เน้นภาพให้เข้าใจความคิด “We’re Americans” เพื่อรับการยอมรับจากสังคมอเมริกันและได้รับอภิสิทธิ์ และจากการกระทำในความคิดของ Addy ตัวละครนำหญิงในเรื่องที่พยายามจะกลมกลืนเป็นอเมริกันและยกระดับครอบครัว การทำทุกวิถีทางเพื่อขึ้นมาใช้ชีวิตแบบคนบนดินซึ่งเป็นผลมาจากอยากจะหนีออกมาจากความโหดร้ายจากการกดขี่ถูกกีดกันให้เป็นอื่นของผู้ที่มีมโนทัศน์ชาตินิยมความเป็นอเมริกัน อีกทั้งชื่อของภาพยนตร์ “Us” อาจตีความหมายถึง…