ข้อเสนอแนะต่อนโยบายรับมือกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทย
ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) หมายถึงมีสัดส่วนผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มากกว่าชนชั้นวัยแรงงาน ทำให้โครงสร้างประชากรไทยต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพราะกลุ่มวัยแรงงานมีจำนวนน้อยกว่ากลุ่มคนที่ต้องการการดูแล เพราะนอกจาก Aging Society จะหมายถึงการมีประชาชนเป็นวัยชรามากขึ้นแล้ว ยังมีอัตราการเกิดที่ต่ำลงด้วย รูปแบบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรนี้เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ภูมิภาคเอเชียต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างรวดเร็วฉับพลัน ปรากฏการณ์นี้จึงเป็นความท้าทายสำคัญ จนนักวิชาการในต่างประเทศเรียกการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อความมั่นคงโลกนี้ว่า “Silver Tsunami” หรือคลื่นสึนามิสีเงิน.. สภาวะดังกล่าวทำให้ทางสังคมไทยเสี่ยงเผชิญแรงกดดันจากปัญหาแรงงาน เศรษฐกิจ การพัฒนาสวัสดิการสังคมและโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้เตรียมการสร้างระบบเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการ เช่น สวีเดน ญี่ปุ่น หรือเยอรมนี ที่มีกฎหมายรวมทั้งนโยบายดูแลผู้สูงวัยครอบคลุมในด้านของสุขภาพ การเงิน และอยู่อาศัย เช่น ญี่ปุ่นออกกฎหมายชื่อ “Kaigo Hoken Seido” ตั้งแต่ปี 2540 ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข เพื่อใช้กลไกภาษีรับมือกับสังคมผู้สูงอายุประมาณ 35 ล้านคน โดยประชากรอายุครบ 40-64 ปี จะต้องเสียภาษีรายเดือนในอัตรา ร้อยละ1.6 เพื่อสมทบกองทุนที่จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ ภาษีรายเดือนนี้จะสมทบกับภาษีอื่น ๆ ในท้องถิ่นอีกร้อยละ…