สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย
Federal Democratic Republic of Ethiopia
เมืองหลวง กรุงแอดดิสอาบาบา
ที่ตั้ง อยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันออกบริเวณ Horn of Africa ละติจูด 8 องศาเหนือ 38 องศาตะวันออกพื้นที่ 1,104,300 ตร.กม.
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับเอริเทรีย 1,033 กม.
ทิศใต้ ติดกับเคนยา 867 กม.
ทิศตะวันออก ติดกับโซมาเลีย 1,640 กม.
ทิศตะวันตก ติดกับซูดาน 744 กม. และเซาท์ซูดาน 1,299 กม.
ภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูงมีแนวเขาตอนกลางประเทศ แยกโดยหุบเขา Great Rift Valley ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการไหวตัวทางธรณีวิทยาบ่อยครั้งตรงกลางประเทศ
ภูมิอากาศ มีอิทธิพลของลมมรสุมเขตร้อน และมีความแปรปรวนของภูมิอากาศเนื่องจากภูมิประเทศ
ศาสนา คริสต์นิกาย Ethiopian Orthodox 43.8% มุสลิม 31.3% โปรเตสแตนต์ 22.8% คาทอลิก 0.7% ความเชื่อดั้งเดิม 0.6% อื่น ๆ 0.8%
ภาษา Oromo (ภาษาทางการในรัฐ Oromiya) 33.8% Amharic (ภาษาทางการของชาติ) 29.3% Somali (ภาษาทางการของรัฐ Sumale) 6.2% Tigrigna (Tigrinya) (ภาษาทางการของรัฐ Tigray) 5.9% Sidamo 4% Wolaytta 2.2% Gurage 2% Afar (ภาษาทางการของรัฐ Afar) 1.7% Hadiyya 1.7% Gamo 1.5% Gedeo 1.3% Opuuo 1.2%Kafa 1.1% อื่นๆ 8.1% ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศหลักสอนในโรงเรียนอาหรับ
การศึกษา อัตราการรู้หนังสือ 51.8%
วันชาติ 28 พ.ค.
นาง Sahle-Work Zewde
(ประธานาธิบดีเอธิโอเปีย)
นาย Abiy Ahmed Ali
(นรม.เอธิโอเปีย)
ประชากร 107,334,000 คน (ปี 2566)
รายละเอียดประชากร เป็นชนเผ่า Oromo 35.8% Amhara (Amara) 24.1%Somali 7.2% Tigray 5.7% Sidama 4.1% Guragie 2.6% Welaita 2.3% Afar 2.2% Silte 1.3% Kefficho 1.2% และอื่น ๆ 13.5% อัตราส่วนประชากรจำแนกตามอายุ : วัยเด็ก (0-14 ปี) 39.8% วัยรุ่นถึง วัยกลางคน (15-64 ปี) 56.8% วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) 3.3% อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโดยรวม 68.25 ปี เพศชายประมาณ 66.12 ปี เพศหญิงประมาณ 70.44 ปี อัตราการเกิด 30.49 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการตาย
การก่อตั้งประเทศ เอธิโอเปียเป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นดินแดนที่ได้รับอารยธรรมจากอียิปต์และกรีกตั้งแต่สมัยโบราณ ดินแดนเอธิโอเปียก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่าอบิสสิเนีย ปกครองโดยราชวงศ์เอธิโอเปีย ซึ่งได้รับการสถาปนาโดยพระเจ้าเมเนลิก พระราชโอรสของพระเจ้าโซโลมอน และพระนางชีบา เมื่อปี 2412 อิตาลีได้เข้ายึดครองแคว้นเอริเทรียของเอธิโอเปีย และประกาศให้แคว้นเอริเทรียเป็นอาณานิคมของตนเมื่อปี 2433 แต่ในสนธิสัญญาสันติภาพอิตาลียังคงยอมรับเอกราชของเอธิโอเปียต่อไป เอธิโอเปียอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตรยิ์ไฮเล เซลัซซี (Haile Selassie) เป็นเวลากว่า 50 ปี โดยเซลัซซี ได้รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ (Regent) ในปี 2459 ต่อมาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อปี 2471
เมื่อปี 2479 อิตาลีได้รุกรานเอธิโอเปียและยึดเอธิโอเปีย เอริเทรีย และโซมาลีแลนด์ และประกาศรวมกันเป็นแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2484 ภายใต้ความช่วยเหลือของกองทัพอังกฤษ กษัตริย์เซลัซซี สามารถยึดเอธิโอเปียคืนจากอิตาลีได้เป็นผลสำเร็จแต่อิตาลียังคงยึดแคว้นเอริเทรียไว้ หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เอธิโอเปียได้เรียกร้องดินแดนเอริเทรียคืน และสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 380 A (V) เมื่อปี 2492 โดยให้เอริเทรียเป็นดินแดนปกครองตนเองภายใต้จักรวรรดิเอธิโอเปีย แต่ต่อมาเมื่อปี 2505 เอธิโอเปียได้ผนวกเอริเทรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ในฐานะจังหวัดที่ 14 และได้กลายเป็นชนวนการสู้รบระหว่างชาวเอริเทรียที่ต้องการเอกราชกับฝ่ายเอธิโอเปียเรื่อยมา จนกระทั่เมื่องปี 2536 รัฐบาลเอธิโอเปียยอมให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับอนาคตการปกครองของประชาชนเอริเทรีย ซึ่งผลปรากฏว่า ประชามติเป็นเอกฉันท์ให้เอริเทรียแยกตัวออกจากเอธิโอเปีย
การเมือง
ปกครองแบบสาธารณรัฐ (Republic) ประธานาธิบดีเป็นประมุขมีวาระ 6 ปี ไม่เกิน 2 สมัย
การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อ 25 ต.ค.2562 การเลือกตั้งครั้งต่อไปกำหนดมีขึ้นในปี 2568
ฝ่ายบริหาร : นรม.มาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากหลังการเลือกตั้ง นรม.คนปัจจุบันคือ นาย Abiy Ahmed ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 2 เม.ย.2561
ฝ่ายนิติบัญญัติ : สภาแห่งชาติเป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย 1) สภาแห่งรัฐหรือวุฒิสภา หรือ Yefedereshein Mikir Bete มีสมาชิก 153 คน ซึ่งได้รับเลือกโดยอ้อมจากสภาของแต่ละรัฐ มีหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญ วาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี และ 2) สภาผู้แทนราษฎรหรือ Yehizb Tewokayoch Mekir Bete
มีสมาชิก 547 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อ
21 มิ.ย.2564 และ 30 ก.ย.2564 โดยพรรค Prosperity Party ของ นรม.Ahmed เป็นฝ่ายได้รับเสียงข้างมากได้รับ 410 ที่นั่ง
ฝ่ายตุลาการ : ศาลสูงมีผู้พิพากษา 11 คน ประธานและรองประธานเสนอชื่อโดย นรม.และแต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร ผู้พิพากษาคนอื่นเสนอชื่อโดยคณะกรรมการตุลาการ ให้สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้ง ผู้พิพากษาเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปี มีหน้าที่วินิจฉัยกฏหมายรัฐธรรมนูญ ศาลอื่นได้แก่ ศาลสูงของรัฐ และศาลชั้นต้น ศาลอิสลาม
พรรคการเมืองสำคัญ : Ethiopian People’s Revolutionary Democratic Front หรือ EPRDF (เป็นพรรครัฐบาล ประกอบด้วย 4 พรรคการเมือง) ได้แก่ The Oromo Peoples’ Democratic Organization (OPDO), the Amhara National Democratic Movement (ANDM), the Southern Ethiopian People’s Democratic Move-ment (SEPDM) และ The Tigrayan People’s Liberation Front (TPLF). Afar National Democratic Party หรือ ANDP (Mohammed Kedir) All Ethiopian Unity Organization หรือAEUO (Hailu Shawel) Arena Tigray (GE-BRU Asrat) Argoba People’s DemocraticOrganization หรือ APDO (Abdulkader Mohammed) Benishangul Gumuz People’s Democratic Party หรือ BGPDP (Mulualem Besse) Blue Party (Semayawi Party) (Yanatan Tesfaye, spokesman) Coalition for Unity and Democratic Party หรือ CUDP (Ayele Chamiso) Ethiopian Democratic Party หรือ EDP (Mushe Semu) Ethiopian Federal Democratic Forum หรือ FORUM (Dr. Moga Frissa) Gambella Peoples Unity Democratic Movement หรือ GPUDM Gurage Peoples Democratic Front (Girma Bogale) Harari National League หรือ HNL (Yasin Husein) Oromo Federalist Democratic Movement or OFDM Oromo People’s Congress หรือ OPC (Imerera Gudina) Somali Democratic Alliance Forces หรือ SODAF (BUH Hussien) Somali People’s Democratic Party หรือ SPDP (Abdulfetah Sheck Abdulahi) South Ethiopian People’s Democratic Union หรือ SEPDU (Tilahun Endeshaw) United Ethiopian Democratic Forces หรือ UEDF (Beyene Petros) Unity for Democracy and Justice หรือ UDJ (Dr. Negasso Gida-da) Ethiopian People’s Patriotic Front หรือ EPPF (ประกาศเข้าร่วมกับรัฐบาล เมื่อ ก.ย.2559)
กลุ่มที่เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาล : Ogaden National Liberation Front หรือ ONLF และOromo Liberation Front หรือ OLF (Daoud Ibsa)
เศรษฐกิจ เศรษฐกิจเอธิโอเปียปรับตัวดีขึ้นเมื่อปี 2566 โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 5.6% จากปี 2565 ที่มีอัตราการเติบโต 5.3% ซึ่งภาคส่วนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเอธิโอเปีย คือภาคอุตสาหกรรม ภาคการบริโภคของภาคเอกชน และการลงทุน ตั้งแต่ปี 2563 เศรษฐกิจเอธิโอเปียได้รับผลกระทบอย่างมากจากปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ความแห้งแล้ง การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน สำหรับอัตราเงินเฟ้อของเอธิโอเปียอยู่ที่ 29.1% เมื่อปี 2566 ปรับลดลงจาก 33.9% เมื่อปี 2565 จากการที่เอธิโอเปียนำเข้าสินค้าจำพวกอาหารและธัญพืชเพิ่มขึ้น โดยนำเข้าข้าวสาลีมากถึง 25%อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเอธิโอเปียยังคงเผชิญความเสี่ยงที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศเพิ่มขึ้น จากปัจจัยการขาดดุลงบประมาณการคลัง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน : เบอร์เอธิโอเปีย (Ethiopian Birr) หรือ ETB
อัตราแลกเปลี่ยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ : 55.73 เบอร์เอธิโอเปีย
อัตราแลกเปลี่ยนต่อ 1 บาท : 1.54 เบอร์เอธิโอเปีย (ต.ค.2566)
ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ (ปี 2566)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) : 155,804 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ : 5.6%
รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี : 1,226 ดอลลาร์สหรัฐ
แรงงาน : 60,026,672 คน
อัตราการว่างงาน : 4%
อัตราเงินเฟ้อ : 34.8%
ผลผลิตทางการเกษตร : ธัญพืช กาแฟ พืชน้ำมัน ฝ้าย อ้อย พืชผัก คัด (Khat) ไม้ตัดดอก หนังสัตว์ วัวควาย แกะ แพะ และปลา
ผลผลิตอุตสาหกรรม : การแปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม สิ่งทอ หนัง เสื้อผ้า เคมีภัณฑ์ โลหะแปรรูป และซีเมนต์
ดุลการค้าระหว่างประเทศ : ขาดดุล 12,780 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการส่งออก : 10,450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออก : กาแฟ พืชน้ำมัน ไม้ตัดดอก ถั่วเมล็ดแห้ง เนื้อแกะและเนื้อแพะ
คู่ค้าส่งออกที่สำคัญ : จีน สหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย เกาหลีใต้ เยอรมนี
มูลค่าการนำเข้า : 23,230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้านำเข้า : อากาศยาน เช่น บ. และ ฮ. เครื่องกังหันก๊าซ (Gas Turbine) ยา ผ้า ข้าวสาลี
คู่ค้านำเข้าที่สำคัญ : จีน อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร
คู่ค้าสำคัญ : จีน ฝรั่งเศส อินเดีย สหรัฐฯ
ทรัพยากรธรรมชาติ : มีปริมาณไม่มาก ได้แก่ ทอง แพลตตินัม ทองแดง โปแตส ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานน้ำ
การทหารและความมั่นคง
การทหาร :งบประมาณด้านการทหารเมื่อปี 2565 มีมูลค่า 1,580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 1.31% ของ GDP กองทัพเอธิโอเปียได้รับความช่วยเหลือด้านการทหารจากกองกำลังสหประชาชาติ สหรัฐฯ และจีน กำลังพลรวม 503,000 นาย แบ่งเป็น ทบ. 500,000 นาย และ ทอ. 3,000 นาย
ยุทโธปกรณ์สำคัญ : ทบ. ได้แก่ รถถังหลัก (MBT) รุ่น T-55/T-62 จำนวน 120 คัน รุ่น T-72B/UA1 จำนวน 100 คัน รถหุ้มเกราะลาดตระเวน (RECCE) รุ่น BRDM-1/BRDM-2 ประมาณ 50 คัน รถรบทหารราบ (IFV) รุ่น BMP-1 ประมาณ 20 คัน รถสายพานลำเลียงพลหุ้มเกราะ (APC) อย่างน้อย 275 คัน ยานหุ้มเกราะอเนกประสงค์ (AUV) รุ่น Ze’ev ยานหุ้มเกราะกู้ภัย (ARV) รุ่น T-54/T-55 และรุ่น BTS-5B สะพานปล่อยรถหุ้มเกราะ (VLB) รุ่น GQL-111 และรุ่น MTU ยานกู้ภัยทุ่นระเบิด (MW) รุ่น Bozena ยานหุ้มเกราะติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง (MSL) ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังต่อสู้รถถัง (RCL) ปืนต่อสู้รถถังรุ่น D-44 ปืนใหญ่แบบต่าง ๆ มากกว่า 450 กระบอก อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ (SAM) ชนิดพิสัยกลาง รุ่น S-75Dvina (SA-2 Guideline) พิสัยใกล้ รุ่น S-125 Pechora (SA-3 Goa) และป้องกันเป็นจุด (point-defence) รุ่น 9K32 Strela-2 (SA-7 Grail) รุ่น 96K6 Pantsir-S1 (SA-22Greyhound) ไม่ปรากฏจำนวน ปืนต่อสู้ทางอากาศ (อัตตาจร (SP) รุ่น ZSU-23-4 Shilka และลากจูง (TOWED) รุ่น ZU-23 รุ่น M-1939 และรุ่น S-60)
ทอ. ได้แก่ บ.ขับไล่ (FTR) รุ่น Su-27 Flanker จำนวน 8 เครื่อง รุ่น Su-27UB Flanker จำนวน 3 เครื่อง บ.โจมตีภาคพื้นดิน (FGA) รุ่น MiG-23ML/UB Flogger G/C มากกว่า 6 เครื่อง บ.โจมตี (ATK) รุ่น Su-25T Frogfoot 1 เครื่อง และรุ่น Su-25/UB Frogfoot 2 เครื่อง บ.ลำเลียง (TPT) ขนาดกลางและขนาดเบา จำนวน 14 เครื่อง บ.ฝึกรบ (TRG) จำนวน 24 เครื่อง ฮ.โจมตีจำนวน 18 เครื่อง (รุ่น Mi-24 Hind 15 เครื่อง และรุ่น Mi-35 Hind 3 เครื่อง) ฮ.อเนกประสงค์ (MRH) รุ่นต่าง ๆ จำนวน 21 เครื่อง อากาศยานไร้คนขับ CISR อาวุธโจมตีทางอากาศสู่อากาศ (AAM) ประเภทนำวิถีด้วยอินฟราเรด (IR) และประเภท IR/Semi-Active RADAR Homing (SARH) ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นผิว (ASM) รุ่น Kh-25ML รุ่น Kh-29T รุ่น TL-2 ระเบิดนำวิถีด้วย TV รุ่น KAB-500KR
ปัญหาด้านความมั่นคง :
1) ความตึงเครียดระหว่างเอธิโอเปียกับประเทศใกล้เคียง เฉพาะอย่างยิ่งอียิปต์และซูดาน จากการที่เอธิโอเปียสร้างเขื่อน Grand Ethiopian Renaissance (GERD) บนต้นน้ำสายหลักของแม่น้ำไนล์ ซึ่งอียิปต์มีแม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำสายหลักและเป็นประเทศปลายน้ำ โดยเอธิโอเปียเริ่มดำเนินการเติมน้ำในเขื่อนครั้งแรกเมื่อ ก.ค.2563 ครั้งที่สองเมื่อ ก.ค.2564 และครั้งที่สามเมื่อ 12 ส.ค.2565 ทำให้ระดับน้ำมีความสูง 600 เมตร คาดว่าขั้นตอนการเติมน้ำในเขื่อน GERD จะใช้เวลาประมาณ 4-7 ปี ทั้งนี้ อียิปต์และซูดานประณามการเติมน้ำในเขื่อนของเอธิโอเปียว่า เป็นการกระทำเพียงฝ่ายเดียว
2) ความขัดแย้งระหว่างพรรค Tigray People’s Liberation Front (TPLF) ในภูมิภาค Tigray ทางเหนือของเอธิโอเปียกับรัฐบาลเอธิโอเปีย โดยทั้งสองฝ่ายเริ่มสู้รบกันตั้งแต่ 4 พ.ย.2563 ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน และประชาชนในภูมิภาค Tigray จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือด้านอาหารและการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน โดยเด็กประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประสบภาวะทุพโภชนาการอย่างรุนแรง ปัจจุบันเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นหลังจากสหภาพแอฟริกา (AU) จัดการเจรจาสันติภาพที่แอฟริกาใต้ ระหว่าง 24 ต.ค.-2 พ.ย.2565จนทำให้รัฐบาลเอธิโอเปียและกองกำลัง TPLF บรรลุข้อตกลงหยุดยิงร่วมกันในภูมิภาคTigray เมื่อ 2 พ.ย.2565
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ ACP, AfDB, ATMIS, AU, COMESA, EITI, FAO, G-24, G-77, IAEA, IBRD, ICAO, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, IGAD, ILO, IMF, IMO, Interpol, IOC, IOM, IPU, ISO, ITSO, ITU, ITUC (NGOs), MIGA, NAM, OPCW, PCA, UN, UNAMID, UNCTAD, UNESCO, UNHCR, UNIDO, UNISFA, UNMIL, UNOCI, UNWTO, UPU, WCO, WFTU (NGOs), WHO, WIPO, WMO และ WTO (ผู้สังเกตการณ์)
การขนส่งและโทรคมนาคม ท่าอากาศยาน 57 แห่ง ท่าอากาศยานนานาชาติที่สำคัญคือ Addis Ababa Bole International Airport เส้นทางรถไฟ 659 กม. ถนนระยะทาง 120,171 กม. การโทรคมนาคม :โทรศัพท์พื้นฐานให้บริการประมาณ 1.25 ล้านเลขหมาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ 44.50 ล้านเลขหมาย รหัสโทรศัพท์ +251 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 24% ของจำนวนประชากร รหัสอินเทอร์เน็ต .et เว็บไซต์การท่องเที่ยว : http://www.moct.gov.et
การเดินทาง มีสายการบิน Ethiopian Airlines ที่บินตรงมาไทย และสามารถขอรับการตรวจลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เวลาเอธิโอเปียช้ากว่าไทยประมาณ 4 ชม.
ความสัมพันธ์ไทย-เอธิโอเปีย :
ไทยมีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับเอธิโอเปีย โดยไทยเห็นความสำคัญของเอธิโอเปียในฐานะเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่สหภาพแอฟริกา ซึ่งเป็นเสมือนเมืองหลวงของทวีปนี้ รวมทั้งเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญใน Horn of Africa ส่วนเอธิโอเปียเห็นความสำคัญของไทยในฐานะมิตรประเทศที่เป็นตัวอย่างในการพัฒนา
ไทยและเอธิโอเปียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อ 10 เม.ย.2507 และในปีเดียวกัน ไทยได้เปิด สอท. ณ กรุงแอดดิสอาบาบา แต่ต่อมาได้ปิด สอท. ณ กรุงแอดดิสอาบาบา ลงเมื่อปี 2524 เนื่องจากความไม่สงบภายในเอธิโอเปีย ปัจจุบันได้มอบหมายให้ สอท. ณ กรุงไคโร มีเขตอาณาครอบคลุมเอธิโอเปีย ในขณะที่เอธิโอเปียได้มอบหมายให้ สอท.เอธิโอเปียประจำอินเดีย มีเขตอาณาครอบคลุมไทย
การค้าระหว่างไทย–เอธิโอเปีย เมื่อปี 2564 มีมูลค่า 45.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 43.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 2.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 41.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วง ม.ค.-ก.ย.2565 การค้าไทย–เอธิโอเปีย มีมูลค่า 28.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 24.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 3.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 21.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเอธิโอเปีย เมื่อปี 2564 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ ผ้าผืน ยางพารา
สินค้าที่ไทยนำเข้า เมื่อปี 2564 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ
สถานการณ์สำคัญที่น่าติดตาม:
1) การผ่อนคลายความตึงเครียดกรณีการสร้างเขื่อน GERD ระหว่างเอธิโอเปียกับประเทศใกล้เคียง เช่น อียิปต์ และซูดาน
2) การคลี่คลายสถานการณ์ความรุนแรงในภูมิภาค Tigray และการควบคุมผลกระทบที่มีต่อชาวเอธิโอเปียและประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงความมั่นคงในภูมิภาค
3) สถานการณ์สู้รบระหว่างกองกำลังทหารของรัฐบาลกลางกับกองกำลัง Fano ซึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมในภูมิภาค Amhara ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง และการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในภูมิภาค Amhara