อินโดนีเซีย
ระบุเมื่อ 23 ส.ค.64 ประสบความสำเร็จในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกรุงจาการ์ตา โดยมีผู้เข้ารับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็มแรกทั้งสิ้น 9.3 ล้านคน และเข็มที่สอง 4.7 ล้านคน จากประชากรในจาการ์ตาทั้งหมด 11 ล้านคน
ระบุเมื่อ 23 ส.ค.64 ประสบความสำเร็จในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกรุงจาการ์ตา โดยมีผู้เข้ารับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็มแรกทั้งสิ้น 9.3 ล้านคน และเข็มที่สอง 4.7 ล้านคน จากประชากรในจาการ์ตาทั้งหมด 11 ล้านคน
ระบุเมื่อ 23 ส.ค.64 มีแผนฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้ จนท.ในหน่วยงานรัฐบาล 44 แห่ง เพื่อเตรียมรับมือก่อนถึงฤดูกาลแพร่ระบาด และลดภาระในการบริหารทรัพยากรสำหรับตรวจหาเชื้อ และกักตัวกลุ่มที่มีอาการต้องสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19 เนื่องจากทั้งสองโรคมีอาการคล้ายคลึงกัน
ประกาศเมื่อ 23 ส.ค.64 ปรับลดราคาค่าตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR ให้อยู่ระหว่าง 450,000-550,000 รูเปียะฮ์ (ประมาณ 1,035-1,265 บาท) จากเดิมที่กำหนดไว้สูงสุด 900,000 รูเปียะฮ์ (ประมาณ 2,070 บาท) หรือลดลงประมาณร้อยละ 39-50
สถานการณ์เข้ายึดกรุงคาบูลของกลุ่มตอลิบันในอัฟกานิสถานเมื่อไม่นานมานี้ถือได้ว่าสร้างแรงสั่นสะเทือนอย่างมากทั้งในเชิงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะมีผลอย่างมากต่อภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งนักวิเคราะห์บางส่วนถึงกับเอ่ยว่าเหตุการณ์นี้จะเปลี่ยนฉากทัศน์ของภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียกลาง และเอเชียตะวันตก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเฉพาะสมดุลของสมการด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียใต้ถือได้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงในระดับที่เรียกว่า “พลิกผัน” เพราะตลอดหลายปีมานี้นับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาส่งทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานเมื่อปี 2544 นั้น มหาอำนาจในเอเชียใต้อย่างอินเดีย ถือเป็นผู้สนับสนุนด้านมนุษยธรรม และลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากในอัฟกานิสถาน อินเดียมีจุดยืนตรงข้ามกับกลุ่มตอลิบันมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2539 ที่ตอลิบันเข้าปกครองอัฟกานิสถาน เพราะในช่วงเวลานั้นอินเดียให้การสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฝ่ายเหนือโดยใช้สถานทูตในกรุงดูชานเบ ประเทศทาจิกิสถานในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มดังกล่าวเพื่อต่อสู้กับตอลิบัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลังการล่มสลายของรัฐบาลตอลิบันในปี 2544 อินเดียจะมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลชุดใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร ทำไมอัฟกานิสถานถึงสำคัญกับอินเดีย สำหรับเหตุผลที่อินเดียให้ความสำคัญอย่างมากต่ออัฟกานิสถานคงไม่แตกต่างไปจากประเทศอื่น ๆ มากนัก นั่นคือประเด็นเรื่องความมั่นคงและการก่อการร้าย ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมาอินเดียกล่าวหากลุ่มตอลิบันมาโดยตลอดว่าให้ที่พักพิงกลุ่มติดอาวุธที่ปฏิบัติการในพื้นที่แคชเมียร์ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของอินเดีย ฉะนั้นการที่รัฐบาลอัฟกานิสถานไม่อยู่ภายใต้การบริหารของตอลิบันจึงมีส่วนดีอย่างมากต่อการจัดการเรื่องความมั่นคงของอินเดีย ตลอดหลายปีก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน และกลุ่มตอลิบันจะกลับขึ้นมามีอำนาจนั้น อินเดียถือได้ว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีมากโดยเฉพาะในประเด็นเรื่องความมั่นคงกับรัฐบาลอัฟกานิสถาน ทั้งยังมอบทุนการศึกษาและงบประมาณจำนวนมากให้กับกองทัพอัฟกานิสถานเพื่อฝึกอบรมให้กับกองทัพและหน่วยข่าวกรองของอัฟกานิสถาน ยิ่งไปกว่านั้นตลอด 20 ปีที่ผ่านมาอินเดียได้ลงทุนด้านเศรษฐกิจให้กับอัฟกานิสถานไปมากถึง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ S Jaishankar รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอินเดียถึงกับกล่าวในการประชุมที่เจนีวาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ว่า “วันนี้ไม่มีส่วนใดของอัฟกานิสถานที่ไม่ถูกแตะต้องโดยโครงการมากกว่า 400 โครงการที่อินเดียดำเนินการใน 34 จังหวัดของอัฟกานิสถานทั้งหมด” อาจกล่าวได้ว่าอินเดียมีความผูกพันอย่างมากกับรัฐบาลอัฟกานิสถานในตลอด 20 ปีที่ผ่านมา…
จากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้เราต้องทำงานบนโลกออนไลน์อยู่ที่บ้านมากขึ้น ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีจ้องที่จะโจมตีเรามากขึ้นกว่าเดิม แล้วเราจะทำอย่างไร ?? ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ Episode นี้ มีคำตอบครับ เชิญรับชมรับฟังได้เลยครับ
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานอ้างแหล่งข่าวเมื่อ 23 ส.ค.64 ว่า สหราชอาณาจักรมีแผนจะโน้มน้าวให้ผู้นำกลุ่ม G7 ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (European Union-EU) พิจารณาใช้มาตรการคว่ำบาตรกลุ่มตอลิบัน ระหว่างการประชุมกลุ่ม G7 เพื่อหารือประเด็นอัฟกานิสถานใน 24 ส.ค.64 โดยสหราชอาณาจักรประเมินว่า กลุ่ม G7 ควรใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและระงับความช่วยเหลือต่าง ๆ หากกลุ่มตอลิบันละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนและปล่อยให้อัฟกานิสถานเป็นฐานของกลุ่มติดอาวุธ นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของสหราชอาณาจักร พยายามโน้มน้าวให้สหรัฐฯ ขยายระยะเวลาการถอนกองทัพออกจากอัฟกานิสถานออกไป จากเดิมที่จะสิ้นสุดใน 31 ส.ค.64 เพื่อให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ มีเวลาอพยพพลเมืองของตนออกจากอัฟกานิสถาน
นายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง ของสิงคโปร์ แถลงเมื่อ 23 ส.ค.64 ว่า ได้เสนอให้สหรัฐฯ ใช้เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ A330 Multi-Role Tanker Transport (A330 MRTT) เพื่อสนับสนุนภารกิจการอพยพออกจากอัฟกานิสถาน ทั้งนี้ สิงคโปร์เริ่มประจำการเครื่องบิน A330 MRTT เมื่อ เม.ย.64 ซึ่งมีศักยภาพในการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและขนส่งทางอากาศได้พร้อมกัน โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ บรรเทาสาธารณภัย และสนับสนุนการปฏิบัติการด้านสันติภาพของกองทัพสิงคโปร์ ด้านรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส ของสหรัฐฯ กล่าวขอบคุณการช่วยเหลือดังกล่าวกับนายกรัฐมนตรีลี และคาดว่าจะหารือกันต่อไป นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีลี ยังแสดงทัศนะเกี่ยวกับสถานการณ์ในอัฟกานิสถานว่า สิงคโปร์ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชน รวมถึงคาดหวังทุกฝ่ายจะร่วมมือกันในเรื่องดังกล่าว โดยสิงคโปร์ส่งเจ้าหน้าที่ไปอัฟกานิสถานเพื่อร่วมสนับสนุนกองกำลังนานาชาติเพื่อการช่วยเหลือด้านความมั่นคง (Internationl Security Assistance Force-ISAF) รวมถึงส่งไปเป็นแนวรบในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย ขณะที่แนวคิดหัวรุนแรงได้แผ่ขยายมายังภูมิภาค ซึ่งสิงคโปร์ขอบคุณสหรัฐฯ ที่เข้าไปช่วยให้กลุ่มก่อการร้ายหยุดใช้พื้นที่อัฟกานิสถานเป็นที่ฐานหลบซ่อนในห้วง 20 ปี ที่ผ่านมา และหวังว่าอนาคตอัฟกานิสถานจะไม่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มก่อการร้ายอีกครั้ง
สำนักข่าวKyodo รายงานเมื่อ 22 ส.ค.64 ว่า นายสึกะ โยชิฮิเดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น พบกับนาย Takeo Akiba ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเพื่อหารือถึงแผนที่จะส่งเครื่องบินของกองกำลังป้องกันตนเอง (Self-Defense Forces-SDF) ไปยังอัฟกานิสถาน เพื่ออพยพชาวญี่ปุ่นและลูกจ้างท้องถิ่นที่ทำงานให้กับญี่ปุ่น อาทิ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น/กรุงคาบูล และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency-JICA) ในอัฟกานิสถาน โดยจะส่งเครื่องบินไปยังอัฟกานิสถานอย่างเร็วที่สุดเมื่อการเตรียมการเสร็จสิ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสึกะจะหารือเพิ่มเติมกับ นายคิชิ โนบุโอะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น และ เจ้าหน้าที่อาวุโสอื่น ๆ ในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงญี่ปุ่น ใน 23 ส.ค.64
สำนักข่าวNHK รายงานเมื่อ 23 ส.ค.64 ว่า นายโทชิมิทสึ โมเทกิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เข้าพบกับประธานาธิบดีอิบรอฮีม เราะอีซี ของอิหร่าน ในการเยือนตะวันออกกลาง เมื่อ 22 ส.ค.64 โดยญี่ปุ่นขอให้อิหร่านแสดงความพยายามเชิงสร้างสรรค์ในการฟื้นฟูข้อตกลงนิวเคลียร์ (Joint Comprehensive Plan of Action-JCPOA) ระหว่างอิหร่านกับมหาอำนาจอื่น ๆ โดยเร็ว นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังต้องการกระชับความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรแบบดั้งเดิมกับอิหร่าน โดยแสดงถึงความตั้งใจของญี่ปุ่นที่จะเพิ่มความร่วมมือเพื่อช่วยอิหร่านรับมือกับโรค COVID-19 ผ่านมาตรการต่าง ๆ อาทิ การจัดหาวัคซีน ด้านสถานการณ์ในอัฟกานิสถาน นายโมเทกิเห็นว่า อิหร่านมีบทบาทสำคัญอย่างมากในอัฟกานิสถาน ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะดำเนินงานร่วมกันเพื่อป้องกันอัฟกานิสถานจากความไม่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ หลังจากการหารือ นายโมเทกิแถลงกับผู้สื่อข่าวทางออนไลน์ว่า ประเทศต่าง ๆ อาทิ อิหร่านและตุรกี มีช่องทางสื่อสารกับกลุ่มตอลิบันหลายช่องทาง
หนังสือพิมพ์ Global Times รายงานเมื่อ 23 ส.ค.64 ว่า สำนักงานไซเบอร์สเปซจีน (Cyberspace Administration of China-CAC) พบแอปพลิเคชัน 351 รายการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และได้ลบแอปพลิเคชัน 25 รายการ ออกจาก App stores เมื่อ 21 ส.ค.64 เนื่องจากรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้จีนประกาศจะบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับแรก ใน 1 พ.ย.64 ทั้งนี้ จีนปราบปรามการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง และ CAC ได้ลบแอปพลิเคชันเรียกรถโดยสารสาธารณะส่วนบุคคล “Didi” จาก App stores เมื่อ 9 ก.ค.64 เนื่องจากการใช้ข้อมูลผู้ใช้บริการโดยผิดกฎหมาย และก่อนหน้านี้ได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลผิดกฎหมาย และอนุญาตให้บริษัทเทคโนโลยีสามารถรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเมื่อปี 2562