องค์การอนามัยโลก (WHO)
ระบุเมื่อ 7 ต.ค.64 จัดส่งยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์สำหรับการรักษาโรค COVID-19 ที่จำเป็นให้เกาหลีเหนือผ่านท่าเรือ Dalian ของจีน
ระบุเมื่อ 7 ต.ค.64 จัดส่งยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์สำหรับการรักษาโรค COVID-19 ที่จำเป็นให้เกาหลีเหนือผ่านท่าเรือ Dalian ของจีน
ระบุเมื่อ 7 ต.ค.64 ลงนามจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ ซึ่งเป็นยารักษาโรค COVID-19 จากบริษัท Merck ของสหรัฐฯ ซึ่งบริษัทจะต้องยื่นคำขออนุมัติใช้ยาดังกล่าวในสิงคโปร์ก่อนที่ สธ.สิงคโปร์ จะนำออกใช้ได้
ระบุเมื่อ 6 ต.ค.64 ระงับการใช้วัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ของบริษัท Moderna สำหรับผู้ที่เกิดตั้งแต่ปี 2534 จากความเสี่ยงการเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบในผู้ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี เฉพาะอย่างยิ่งหลังจากได้รับวัคซีนเข็มสอง
ระบุเมื่อ 6 ต.ค.64 มีผู้เสียชีวิตจากโรค COVID-19 จำนวน 929 ราย ใน 24 ชม. สูงที่สุดตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันสูงเกิน 25,000 คน ติดต่อกันเป็นวันที่ 6 ตั้งแต่ 2 ต.ค.64
ระบุเมื่อ 6 ต.ค.64 อยู่ระหว่างพิจารณาเพิ่มชุดตรวจหาเชื้อ COVID-19 แบบ Rapid Test ไว้ในบัญชีสินค้าควบคุมราคา หลังจากราคาชุดตรวจในเวียดนามเพิ่มสูงกว่าราคาขายส่งต่างประเทศ 30 เท่า จากราคาประมาณ 35,000 ด่ง (1.54 ดอลลาร์สหรัฐ)
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์ รายงานเมื่อ 6 ต.ค.64 ว่า กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ลาว ตั้งเป้าหมายจะใช้โครงการเส้นทางรถไฟลาว-จีน ซึ่งจะเปิดดำเนินการใน ธ.ค.64 เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าทางการเกษตร และปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้สามารถส่งออกไปยังจีนได้ หลังจากที่รัฐบาลลาวและเอกชนจีนลงนามข้อตกลงเมื่อ พ.ค.64 ว่าด้วยส่งออกสินค้าเกษตร 9 ชนิดไปยังจีน ระหว่างปี 2564-2569 มูลค่ารวม 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ โดยกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ จะทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า หอการค้าลาว และผู้ประกอบการ ประสานงานกับจีน เพื่อจัดทำรายการสินค้าเกษตรส่งออกรวมถึงขั้นตอนรักษามาตรฐานผลผลิต เพื่อส่งออกสินค้าไปยังจีน และที่ผ่านมา กระทรวงฯ ประสบความสำเร็จในการเปิดตลาดและเจรจาเงื่อนไขคุณภาพผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะส่งออกไปจีน เช่น ข้าว ข้าวโพดหวาน มันสำปะหลัง กล้วย และแตงโม เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าลาวระบุว่า ตั้งแต่ปี 2558 – 2562 ลาวส่งออกสินค้าไปยังจีนเพิ่มขึ้นปีละมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เว็บไซต์ ChannelNews Asia รายงานเมื่อ 6 ต.ค.64 ว่า ทางการสิงคโปร์ (กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทยและตำรวจ) ออกคำแนะนำเป็นภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย อังกฤษ เมียนมา ตากาล็อก และทมิฬ ให้แรงงานต่างชาติไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย อันเป็นผลจากสถานการณ์ในอัฟกานิสถาน ซึ่งอาจทำให้ผู้มีแนวคิดรุนแรงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับแรงบันดาลใจและเดินทางไปอัฟกานิสถานเพื่อฝึกอาวุธกับกลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเตือนให้แรงงานตระหนักว่าจะไม่สนับสนุนหรือมีส่วนนำแนวคิดทางการเมืองจากต่างประเทศเข้ามาเผยแพร่ ระมัดระวังในการบริจาคด้านมนุษยธรรมที่อาจนำไปสู่การสนับสนุนการก่อการร้าย ไม่มีพฤติกรรมหรือสนับสนุนการยั่วยุทั้งทางกายภาพและออนไลน์ที่ทำให้เกิดความรุนแรง และแจ้งให้ทางการทราบหากพบพฤติกรรมหรือบุคคลต้องสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุดังกล่าว อนึ่ง ChannelNews Asia ระบุว่า กระทรวงแรงงานส่งคำแนะนำผ่านนายจ้างซึ่งมีกลุ่มแรงงานที่ทำงานตามบ้าน เพื่อแจ้งเตือนต่อไปยังกลุ่มแรงงานดังกล่าวด้วย
หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ รายงานเมื่อ 5 ต.ค.64 ว่า สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (Food and Drug Administration-FDA) กำลังพิจารณากรณีบริษัท AstraZeneca ยื่นเรื่องขอให้ FDA รับรองการใช้ยาแอนติบอดี AZD7442 ของบริษัท เพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 เป็นกรณีฉุกเฉิน (สหรัฐฯ ยังไม่รับรองการใช้วัคซีนป้องกัน COVID-19 ของ AstraZeneca ภายในสหรัฐฯ) ซึ่งยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพลดอาการป่วยจากการติดเชื้อได้ร้อยละ 77 โดยหากได้รับการรับรองก็จะเป็นครั้งแรกในสหรัฐฯ ที่จะใช้ยาแอนติบอดี้เพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่ตอบสนองวัคซีน นอกเหนือจากการใช้ยาแอนติบอดีในสหรัฐฯ เพื่อรักษาผู้ที่ติดเชื้อแล้ว ซึ่งเป็นยาที่ผลิตโดยบริษัท Regeneron และบริษัท Roche สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งองค์การอนามัยโลกให้การรับรองการใช้แอนติบอดีในผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง อย่างไรก็ดี การใช้ยาแอนติบอดีดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายสูง โดยราคาประมาณ 2,100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อโดส
สำนักข่าววีโอเอรายงานเมื่อ 5 ต.ค.64 ว่า นายเจคอบ ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะพบหารือกับนายหยาง เจี่ยฉือ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการต่างประเทศกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่สวิตเซอร์แลนด์ในห้วงสัปดาห์นี้ เพื่อลดบรรยากาศความขัดแย้งและความหวาดระแวงระหว่างกัน ทั้งนี้ สื่อคาดว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะเน้นหารือประเด็นความสัมพันธ์ทางการค้า และกรณีไต้หวัน โดยการหารือครั้งนี้เป็นการเพิ่มช่องทางปฏิสัมพันธ์ตามเป้าหมายของผู้นำสหรัฐฯ และจีนเมื่อ 9 ก.ย.64 ที่ต้องการให้ทั้ง 2 ประเทศหารือกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้การแข่งขันระหว่างกันเป็นประเด็นขยายความขัดแย้ง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อความมั่นคงของทั้ง 2 ประเทศ
หนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอร์นัลรายงานเมื่อ 5 ต.ค.64 ว่า บริษัท Johnson&Johnson ของสหรัฐฯ ยื่นขอให้องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (Food and Drug Administration-FDA) อนุมัติการใช้วัคซีนของบริษัทเป็นเข็มกระตุ้น (booster) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรค COVID-19 โดยบริษัทระบุว่า วัคซีนเข็มที่ 2 ของบริษัท Johnson&Johnson จะเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันอาการป่วยรุนแรงจากโรคได้ร้อยละ 94 ทั้งนี้ FDA จะพิจารณากรณีดังกล่าวใน 15 ต.ค.64 ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนให้ชาวอเมริกันฉีดวัคซีนทั้งเข็มแรกและเข็มกระตุ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ปัจจุบัน FDA อนุมัติวัคซีนเข็มกระตุ้นของบริษัท Pfizer แล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณาวัคซีนเข็มกระตุ้นของบริษัท Moderna