The Intelligence Weekly Review (03/07/2022)
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
สำนักข่าว Ukrinform รายงานเมื่อ 29 มิ.ย.65 ว่า ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย เดินทางถึงกรุงเคียฟ ยูเครน ผ่านทางรถไฟจากโปแลนด์เพื่อพบหารือกับประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ทั้งนี้ ภายหลังการหารือ ประธานาธิบดียูเครนทวีตข้อความในแอปพลิเคชัน Telegram ขอบคุณอินโดนีเซียที่สนับสนุนในห้วงเวลายากลำบาก และตอบรับคำเชิญของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุม G-20 ห้วง พ.ย.65 แต่ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความมั่นคงในยูเครน และรายชื่อประเทศที่เข้าร่วม ด้านประธานาธิบดีอินโดนีเซีย แถลงให้คำมั่นว่า อินโดนีเซียจะทำทุกวิถีทางไม่ให้เกิดการสกัดกั้นการส่งออกธัญพืชของยูเครน เพื่อบรรเทาวิกฤตอาหารโลก และสร้างความมั่นคงด้านอาหาร รวมถึงพร้อมสนับสนุนความพยายามของสหประชาชาติ (United Nations-UN) เพื่อให้ยูเครนส่งออกอาหารได้ จากผลกระทบสงครามในยูเครน การปิดกั้นท่าเรือต่าง ๆ ในยูเครน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการส่งออกธัญพืชมากกว่า 20 ล้านตันภายใต้โครงการอาหารโลกของ UN ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยูเครน ร่วมกันลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการยกเลิกข้อจำกัดวีซ่าพำนักระยะสั้น ส่งผลให้ชาวยูเครนสามารถเดินทางเข้าอินโดนีเซียได้นานสูงสุดครั้งละ 30 วัน ขณะที่ชาวอินโดนีเซียสามารถเดินทางไปยังยูเครนได้นานสูงสุด 30 วัน ก่อนหน้านี้ชาวยูเครนสามารถเข้าอินโดนีเซียได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าตั้งแต่ปี 2559…
เว็บไซต์ทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย รายงานเมื่อ 30 มิ.ย.65 ว่า ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ของรัสเซีย และประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย ออกแถลงการณ์ร่วม ภายหลังการพบหารือระหว่างผู้นำสองประเทศ โดยเป็นการเยือนมอสโกครั้งแรกของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี เน้นเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในพันธมิตรหลักของรัสเซียในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มูลค่าการค้าทวิภาคีเมื่อปี 2564 เติบโตกว่าร้อยละ 40 ขณะที่ห้วง ม.ค.-พ.ค.65 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 65 ทั้งสองฝ่ายสนใจผลักดันคณะกรรมาธิการร่วมรัสเซีย-อินโดนีเซียว่าด้วยเศรษฐกิจ การค้า และความร่วมมือด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้ รัสเซียจะผลักดันข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone-FTZ) ระหว่างสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union-EAEU) กับอินโดนีเซียให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 ขณะที่บริษัทด้านพลังงานรัสเซียที่ดำเนินการในอินโดนีเซีย สนใจเข้าร่วมกับ Rosatom บริษัทพลังงานนิวเคลียร์รัสเซีย ในการพัฒนาอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ให้กับอินโดนีเซีย ซึ่งรวมถึงโครงการด้านการแพทย์และเกษตรกรรม นอกจากนี้ รัสเซียสนใจพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอินโดนีเซีย เช่น การรถไฟรัสเซียอาจมีส่วนร่วมในโครงการขนาดใหญ่ของอินโดนีเซีย เพื่อย้ายเมืองหลวงไปยังเกาะกาลิมันตัน ด้านประธานาธิบดีอินโดนีเซียเน้นว่า อินโดนีเซียไม่มีส่วนได้ส่วนเสียจากสงครามในยูเครน แต่ประสงค์ให้สงครามยุติโดยเร็วที่สุด…
เว็บไซต์ The Moscow Times ของรัสเซีย รายงานเมื่อ 30 มิ.ย.65 ว่า กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศถอนกำลังทหารออกจากเกาะงู (Snake Island/ Serpent Island/Zmiinyi Island) ในยูเครน บริเวณทะเลดำ ใกล้กับสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบ ห่างจากชายฝั่งยูเครนเพียง 48 กิโลเมตร และเป็นสมรภูมิสำคัญระหว่างกองกำลังยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งรัสเซียยึดครองได้ตั้งแต่ช่วงต้นของปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครน ทำให้กองทัพรัสเซียสามารถสนับสนุนการโจมตีเมืองโอเดสซา เมืองท่าสำคัญทางใต้ของยูเครน ที่อยู่ห่างออกไป 140 กิโลเมตร ด้านสื่อตะวันตกเสนอข่าวการถอนตัวออกจากเกาะงูเป็นสัญลักษณ์ความพ่ายแพ้สำหรับรัสเซียในยูเครน โดยนาย Andriy Yermak ผู้อำนวยการสำนักบริหารทำเนียบประธานาธิบดียูเครน ทวีตข้อความใน Twitter ประกาศถึงชัยชนะครั้งนี้ ขณะเดียวกัน กระทรวงกลาโหมยูเครนเผยแพร่ภาพแรกของเกาะงูหลังรัสเซียถอนกำลังออกไป ด้านนาย Igor Girkin อดีตผู้บัญชาการกองกำลังแบ่งแยกดินแดนในยูเครนตะวันออกทวีตข้อความว่า การตัดสินใจถอนกำลังของรัสเซียครั้งนี้ น่าจะเป็นผลมาจากการโจมตีของยูเครนซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่นเดียวกับนาย Rob Lee นักวิเคราะห์ทางทหารทวีตข้อความว่า เกิดจากผลลัพธ์การสนับสนุนอาวุธของเนโต รวมถึงการส่งมอบขีปนาวุธระบบ High Mobility Artillery Rocket Systems…
สำนักข่าว วีโอเอ เมื่อ 29 มิ.ย.65 รายงานอ้างท่าทีของผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ (Director of National Intelligence – DNI) ประเมินว่า ผู้นำรัสเซียยังต้องการใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ของยูเครน โดยแม้ว่ากองทัพรัสเซียเริ่มสูญเสียกำลังพลและได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการในยูเครน จนทำให้ปฏิบัติการในภาคตะวันออกของยูเครนล่าช้า แต่ผู้นำรัสเซียยังไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมาย รวมทั้งยังไม่มีสัญญาณว่า ทั้งสองฝ่ายจะเจรจากัน ทำให้แนวโน้มสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนจะยังคงยืดเยื้อ ทั้งนี้ DNI ประเมินฉากทัศน์สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ ความขัดแย้งจะยืดเยื้อต่อไป โดยรัสเซียจะขยายพื้นที่ปฏิบัติการทางทหาร แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมพื้นที่ทั้งหมดของยูเครน