ความมุ่งหมายของสหรัฐฯ ในยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก
สหรัฐฯ ประกาศยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Strategy) ฉบับประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดนอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565 เรียกได้ว่าเป็นฉบับใหม่ล่าสุดที่จะบอกชาวอเมริกันและประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกได้ว่า สหรัฐฯ ต้องการอะไรและจะทำอะไรต่อไปกับภูมิภาคนี้ในห้วง 2 ปีข้างหน้า ทำเนียบขาวประกาศไว้ในยุทธศาสตร์อย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯ มีความมุ่งหมายต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกอยู่อย่างน้อย ๆ 5 ประการ ซึ่งได้แก่ (1) ต้องการให้ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่ “เปิดกว้างและเสรี” หรือ Free and Open ซึ่งหมายถึงทุกประเทศมีเสรีภาพที่จะเลือกดำเนินนโยบายได้ ตราบใดที่สอดคล้องกับระเบียบและกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกฎหมายทางทะเลและอากาศที่ทำให้ทั่วโลกมีเสรีภาพในการเดินเรือและการบิน นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตย สิทธิพลเรือน และเสรีภาพของสื่อมวลชน ควบคู่กับต่อต้านการคอร์รัปชัน การใช้เครื่องมือด้านเศรษฐกิจข่มขู่คุกคามประเทศอื่น (2) ต้องการให้มีความเชื่อมโยง (connection) ทั้งในระดับรัฐบาลกับรัฐบาล และประชาชนกับประชาชน ผ่านเครือข่ายพันธมิตรและหุ้นส่วนของสหรัฐฯ ในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงอย่างไทย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น หรือหุ้นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาค เช่น มาเลเซีย มองโกเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์…