The Intelligence Weekly Review (23/10/2022)
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
สงครามที่ทำให้โลกขาดแคลนแป้งสาลีและการส่งออกน้ำมัน ซ้ำยังเผชิญการชะงักงันของแหล่งผลิตจากนโยบาย zero covid ของจีน เศรษฐกิจทั่วโลกที่ฝืดเคือง ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารในระดับโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบในการทำอาหาร เพราะไม่สามารถเพาะปลูกได้เนื่องจากสภาพอากาศหรือแรงงานก็ตาม ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนเริ่มลดการบริโภคอาหาร อดมื้อกินมื้อ เนื่องจากราคาอาหารที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะสงครามและภาวะเศรษฐกิจที่กำลังมุ่งเข้าสู่ความถดถอยและเงินเฟ้อที่ทำให้ข้าวของแพงขึ้น ตลอดจนการขาดแคลนวัตถุดิบที่เกิดจากการกีดกันทางการค้าเพื่อกดดันรัสเซียของกลุ่มประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้เกิดความกังวลต่อการดำรงชีวิตของประขาชน จนหลายครอบครัวเริ่มที่จะรัดเข็มขัด ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รวมไปถึงลดมื้ออาหารลงแล้วด้วย สำนักข่าวอังกฤษรายงานว่าชาวอังกฤษ 1 ใน 4 เริ่มลดอาหารหรืออดมื้อกินมื้อ ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เท่ากับปกติ จริงๆ แล้วการจำกัดการรับประทานอาหารอาจเป็นแนวทางที่ดีต่อสุขภาพก็เป็นได้ !! ที่ผ่านมา ผู้ที่รับประทานอาหาร 1-2 มื้อต่อวันในปัจจุบันส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มที่ลดน้ำหนักหรือกลุ่มที่ต้องการดูแลสุขภาพ ทั้งการทำแบบชั่วคราวระยะสั้นๆ เพื่อให้ถึงเป้าหมายน้ำหนักที่พวกเขาต้องการหรือทำระยะยาวตลอดชีวิต เนื่องจากเห็นผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการควบคุมเวลาในรับประทานอาหารที่รู้จักกันในชื่อการทำ “อีฟ” (Intermittent Fasting – IF) เป็นการจำกัดเวลาในการรับประทานอาหารและอดอาหารตามจำนวนชั่วโมง IF มีหลายรูปแบบตั้งแต่ 12-12 4-20 8-16 เป็นต้น นั่นหมายถึงการบริโภคอาหารได้ภายในเวลา 8 ชั่วโมง (ครอบคลุมจำนวน 1-2 มื้อ) และอดอาหาร…
COVID-19 แพร่ระบาดไว โดยเฉพาะในยุคที่การคมนาคมรวดเร็ว เครื่องบินสามารถขนส่งผู้คนข้ามประเทศไปได้ทันใจ ทำให้การแพร่ระบาดผ่านทางละอองจากระบบทางเดินหายใจ จากคนสู่คนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนระบาดไปทั่วโลก สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาลและคร่าชีวิตผู้คนไปถึง 6.37 ล้านคนภายในเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มมีการระบาด แต่หากมองกันในภาพกว้าง จะพบว่า ใน 1 ปี คนเสียชีวิตเพราะ “โรคมะเร็ง” มากเป็นอันดับที่ 1 ตามมาด้วย โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือด แต่ด้วยการเพิ่มอัตราการตายอย่างต่อเนื่องและการไม่แพร่ระบาดในอัตราที่รวดเร็วทำให้ดูเหมือนว่าการเสียชีวิตด้วยโรคเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ หากพิจารณาจากจำนวนการเสียชีวิต พบว่า ภายในปี 2563 สำหรับประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 84,697 คน ในขณะที่มีผู้ที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัส โควิด -19 อยู่ที่ 60 ราย ซึ่งเหมือนกับว่า เรากำลังให้ความสำคัญกับการแรร่ระบาดของเชื้อโรคที่สังเกตุได้ในระยะสั้น มากกว่าโรคที่ค่อยๆ คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างมากมายในแต่ละปี โรคร้ายที่สังหารคนไปอย่างเงียบๆ นี้ ไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อ เพราะในเชิงการแพทย์ “โรคติดต่อ” คือการติดต่อโดยการส่งต่อเชื้อโรคจากคนสู่คน ทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ว่าจะเป็นทางลมหายใจ เพศสัมพันธ์ การสัมผัส เป็นต้น ดังนั้น มะเร็ง เบาหวาน…
เนโตกำลังเร่งเรียกร้องให้สหรัฐฯ อนุมัติการติดตั้งระบบป้องกันและสกัดกั้นขีปนาวุธที่โจมตีทางอากาศอย่างระบบ Iron Dome ในยูเครน เพื่อยกระดับความสามารถของยูเครนในการต่อสู้กับรัสเซีย ที่ปัจจุบันกำลังแข็งกร้าวขึ้นอย่างมาก โดยมีรายงานว่ารัสเซียใช้ขีปนาวุธและอากาศยานไร้คนขับโจมตีเมืองและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของยูเครนอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ทุกฝ่ายขยับ focus การให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครนไปที่ “การปกป้องน่านฟ้า” และ “ป้องกันภัยคุกคามทางอากาศ” สถานการณ์ด้านความมั่นคงในยูเครนน่าห่วงกังวลมากขึ้น แม้ว่าเมื่อห้วงกันยายน 2565 จะมีรายงานว่ายูเครนเริ่มยึดคืนพื้นที่จากรัสเซียได้แล้ว แต่เมื่อ 10 -11 ตุลาคม 2565 มีรายงานว่า รัสเซียได้เพิ่มปฏิบัติการพิเศษทางการทหารต่อยูเครน เพื่อตอบโต้ที่ยูเครนโจมตีสะพานเชื่อมรัสเซีย-ไครเมีย รัสเซียจึงใช้การยิงขีปนาวุธระดมโจมตี ทั้งกรุงเคียฟที่เป็นเมืองหลวง และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เช่น โรงไฟฟ้าและเส้นทางคมนาคม ถ้าถามว่าการโจมตีครั้งนี้รุนแรงแค่ไหน ก็ตอบได้ว่า…แรงพอที่จะทำให้จีนและอินเดียออกมาแสดงความห่วงกังวล ทั้ง ๆ ที่ 2 ประเทศระมัดระวังการวิจารณ์รัสเซียประเด็นนี้มาโดยตลอด ขณะที่กลุ่ม G7 ที่สมาชิกประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ก็จัดการประชุมในวาระฉุกเฉินทันที โดยให้ผู้นำยูเครนเข้าร่วมด้วย ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า กลุ่ม G7 จะเพิ่มมาตรการกดดันรัสเซียอีก และจะเพิ่มความช่วยเหลือแก่ยูเครนเหมือนที่ผ่าน…
นาย John Kirby โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ระบุเมื่อ 20 ต.ค.65 ว่า ทหารรัสเซียในไครเมียใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ของอิหร่านปฏิบัติการโจมตีทั่วยูเครน โดยมีทหารอิหร่านในไครเมียช่วยเหลือรัสเซียปฏิบัติการดังกล่าว เนื่องจากรัสเซียไม่คุ้นเคยกับการใช้โดรน ซึ่งเป็นหลักฐานว่าอิหร่านมีส่วนร่วมโดยตรงกับความขัดแย้งรัสเซียกับยูเครน สหรัฐฯ ยังกังวลว่า รัสเซียพยายามให้ได้รับอาวุธเพิ่มเติมจากอิหร่าน รวมถึงขีปนาวุธยิงจากพื้นสู่พื้น (surface-to-surface missile) แม้ว่ารัสเซียและอิหร่านยังคงไม่ยอมรับความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน Credit Pic : Yasuyoshi Chiba/Agence France-Presse — Getty Images
นาย Jens Stoltenberg เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization-NATO) หารือกับนาย Ulf Kristersson นายกรัฐมนตรีสวีเดน ที่เดินทางเยือนสำนักงานใหญ่เนโต ณ กรุงบรัสเซลล์ เบลเยียม เมื่อ 20 ต.ค.65 เกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกเนโตของสวีเดนและฟินแลนด์ โดยนาย Jens กล่าวว่า การเข้าเป็นสมาชิกเนโตของทั้งสองประเทศจะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยและความแข็งแกร่งให้กับเนโตและภูมิภาคยูโร-แอตแลนติก และเนโตจะรับรองความมั่นคงให้กับทั้งสองประเทศด้วย Credit Pic : nato.int
กระทรวงการคลังญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์เมื่อ 21 ต.ค.65 ว่า ญี่ปุ่นออกแถลงการณ์ร่วมกับเกาหลีใต้ แคนาดา นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ และออสเตรเลีย เนื่องในโอกาสการประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปค (APEC Finance Ministers’ Meeting-APEC FMM) ระหว่าง 19-20 ต.ค.65 แสดงท่าทีต่อประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1) สนับสนุนเอเปคและไทยซึ่งเป็นประธานเอเปคในปี 2565 ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมให้สำเร็จลุล่วง 2) รักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อเป็นรากฐานรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 3) ประณามรัสเซียที่ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครน โจมตีพลเรือน และผนวกรวม 4 แคว้นของยูเครนเข้ากับรัสเซียโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 4) ห่วงกังวลถึงผลกระทบจากการปฏิบัติการพิเศษทางทหารของรัสเซียต่อสถานการณ์ด้านมนุษยธรรม ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 5) ร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศสนับสนุนยูเครนอย่างต่อเนื่อง และจะร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศในการแก้ไขวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร 6) เรียกร้องให้รัสเซียยุติการปฏิบัติการพิเศษทางทหาร และถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากยูเครน Credit Pic : bangkokpost/Ministry of Finance
สหภาพยุโรป (European Union-EU) มีมติเมื่อ 20 ต.ค.65 คว่ำบาตรทหารอิหร่านระดับสูง 3 นาย และบริษัทผลิตอาวุธ 1 แห่ง ที่ให้การสนับสนุนโดรนแก่รัสเซียเพื่อนำไปใช้โจมตีพลเรือนและโครงสร้างพื้นฐานในยูเครน โดยทหารอิหร่านทั้ง 3 นาย คือ Mohammad Hossein Bagheri, Seyed Hojjatollah Qureishi และ Saeed Aghajani ขณะที่บริษัทผลิตอาวุธคือ Shahed Aviation Industries ถูกเพิ่มชื่อเข้าไปในบัญชีดำของ EU แล้ว และอยู่ระหว่างการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรอย่างเป็นทางการอีกครั้ง นอกจากนี้ EU เตรียมจะคว่ำบาตรหน่วยงานของอิหร่านอีก 4 แห่ง ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้การสนับสนุนโดรน อนึ่ง ในวันเดียวกันสหราชอาณาจักรได้ออกมาตรการคว่ำบาตรทหารทั้ง 3 คน และบริษัท Shahed Aviation Industries สอดคล้องกับ EU โดยจะมีการอายัดทรัพย์สินและห้ามบุคคลทั้ง 3 เดินทางเข้า-ออกสหราชอาณาจักร การคว่ำบาตรดังกล่าวเป็นผลมาจากการสอบสวนกรณียูเครนยืนยันว่า รัสเซียใช้โดรนพลีชีพ…
รัฐบาลประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดนของสหรัฐฯเผยแพร่ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ หรือ National Security Strategy (ย่อว่า NSS) ฉบับใหม่เมื่อ 12 ตุลาคม 2565 เป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติอย่างเป็นทางการฉบับแรกของประธานาธิบดีไบเดน เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐฯ มีเป้าหมายเดียวกัน คือ “ทำให้สหรัฐฯ มั่นคง มั่งคั่ง และเป็นผู้นำโลกอันดับหนึ่งตลอดกาล”……… เป้าหมายดังกล่าวไม่ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนในยุทธศาสตร์…แต่เมื่ออ่านดูดี ๆ ก็จะเห็นคำว่า America Leadership ถูกพูดถึงอยู่ทั้งฉบับ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ผู้นำด้านการรักษาระเบียบโลก ผู้นำด้านประชาธิปไตย ผู้นำด้านสาธารณสุข ผู้นำด้านการข่าวกรอง และผู้นำด้านการทหาร ดังนั้น มุมมองในประเด็นที่1…ที่เราอ่านยุทธศาสตร์ฉบับนี้และเห็นว่ารัฐบาลไบเดนให้ความสำคัญมาก ๆ ก็คือ สหรัฐฯ ยังต้องการเป็นผู้นำโลกในทุก ๆ ด้านต่อไป ประเด็นที่ 2 ผู้จัดทำยุทธศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐฯ มองว่า สถานการณ์ความมั่นคงโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงและผันผวน โดยมี การแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจ เป็นประเด็นที่สำคัประเด็นที่ 2 และแทบจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ มากที่สุด ซึ่งมุมมองนี้เป็นการประเมินที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ที่ให้ความสำคัญกับการปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯ จากการแข่งขันกับมหาอำนาจอื่น ๆ…
สำนักข่าววีโอเอ รายงานเมื่อ 19 ต.ค.65 ว่า ประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน ของสหรัฐฯ ประกาศนำน้ำมัน 15 ล้านบาร์เรลจากคลังน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ออกสู่ตลาด เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันไม่ให้สูงขึ้นอีก และอาจจะนำน้ำมันจากคลังสำรองดังกล่าวสู่ตลาดเพิ่มเติมอีกในห้วงฤดูหนาว โดยสหรัฐฯ จะเติมน้ำมันกลับเข้าคลังน้ำมันสำรองเชิงยุทธศาสตร์หากราคาน้ำมันลดลงอยู่ที่ระดับหรือต่ำกว่า 67-72 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทั้งนี้ การดำเนินการของสหรัฐฯ เพื่อตอบสนองต่อการลดกำลังผลิตของกลุ่มประเทศ OPEC+ และรับมือกับภาวะราคาพลังงานสูงในห้วงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปกลางสมัยใน พ.ย.65 Credit Pic : VOA news/Ap news