มหา’ลัยเหมืองแร่ กับความโรแมนซ์ของแรงงานชนชั้นกลาง
เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีโอกาสได้ชมหนังเรื่อง มหา’ลัย เหมืองแร่ ที่ดำเนินเรื่องด้วยตัวพระเอก “อาจินต์” นิสิตชาย ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ที่โดนรีไทร์ ทำให้จับพลัดจับผลูไปทำงานไกลถึง “เหมืองกระโสม ทิน เดรดยิง” อำเภอตะกั่วทุ่ง ตำบลกระโสม จังหวัดพังงา เหมืองแร่ดีบุกในยุคเฟืองฟู พูดได้ว่าบทหนังได้สื่อให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่และลักษณะภูมิสังคมของชาวบ้านในยุคก่อน รวมไปถึงการทำงานใช้แรงงานเป็น “กรรมกรเหมืองแร่” ของผู้คนที่ต้องกินอยู่กับเหมืองแร่และเรือขุด ที่เปรียบเสมือนเป็นบ้านหลังที่สอง ในแง่ผลตอบรับด้านรายได้ แม้ว่า มหา’ลัย เหมืองแร่ จะเป็นหนังที่ล้มเหลว ทำรายได้เพียง 30 ล้านบาท โดยต้นทุนการสร้างหนังอยู่ราว ๆ 70 ล้านบาท แต่หนังกลับได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดีเยี่ยม ในปีนั้น มหา’ลัย เหมืองแร่กวาดรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15 ไปได้ถึง 6 รางวัล โดยเฉพาะสาขาหลักอย่าง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยม จากการถ่ายทอดเรื่องราวที่ชัดเจนและเป็นกันเอง ฉายภาพชีวิตของชาวเหมืองแร่ที่ขายแรง หาเช้ากินค่ำ และความผูกพันหลายระดับตั้งแต่นายงานจนถึงลูกจ้างรายวัน พร้อมปรัชญาชีวิตของท้องถิ่น ซึ่งมหา’ลัย เหมืองแร่…