ในช่วงปี 2561 คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า Crowdfunding ซึ่งเป็นการระดมทุนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เสมือนตลาดสำหรับหานักลงทุนของเหล่าสตาร์ทอัพ ที่ต้องการเงินทุนในการขยายธุรกิจ Crowdfunding ทำให้ตัวเลือกของแหล่งเงินทุนนั้นมีมากกว่าการกู้ยืมจากธนาคาร ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนยุ่งยาก โดยเฉพาะการสร้างความน่าเชื่อถือผ่านระบบบัญชี เพราะแน่นอนว่า “เหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่” มักให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์สินค้าและบริการ มากกว่าการจัดระเบียบการเงินและการบัญชี ทำให้ข้อมูลทางการเงินของธุรกิจนั้นไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะให้เกิดความน่าเชื่อถือ จนจะทำให้นักลงทุนรายใหญ่ตัดสินใจร่วมลงทุนได้ อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่แพลตฟอร์มการลงทุนออนไลน์ในรูปแบบ Crowdfunding ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นอิสระ เพราะการคัดกรองธุรกิจที่สามารถระดมทุนได้อย่างอิสระนั้นยังต้องการตรวจสอบข้อมูล มีเพียงไม่กี่รายที่สามารถทำได้อย่างถูกต้อง ทำให้ Crowdfunding ในประเทศไทยนั้น ยังไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย สำหรับสหรัฐอเมริกา ยุโรป และในเอเชีย crowdfunding ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก สามารถระดมทุนได้ไม่ต่ำกว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก และยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบของการบริจาคโดยไม่มีผลตอบแทน หรือการให้ตอบแทนเป็นสินค้า ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม และหุ้น ความหลากหลายของ Crowdfunding รูปแบบนี้ทำให้นักธุรกิจรายย่อยมีข้อเสนอในการลงทุนได้อย่างกว้างขวางและระดมทุนได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนรูปแบบไหน ต้องยอมรับว่า “ความน่าเชื่อถือ” จึงเป็นปัจจัยสำคัญของการระดมทุน ไม่แตกต่างจากความน่าเชื่อถือของการฝากเงินในธนาคารที่มีสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือเป็นผู้การันตี โดยหากเปรียบเทียบกับบริบททางสังคม ความน่าเชื่อถือหรือความไว้ใจที่เกิดขึ้นในระหว่างบุคคลหมู่มากหรือความสัมพันธ์ของชุมชน นั่นคือ หลักการสำคัญที่จะทำให้เกิดการรวมทุนหรือระดมทุนในระดับท้องถิ่น เพื่อรวบรวมเงินก้อนใหญ่ในการกระทำการต่างๆ แม้จะไม่ได้เปิดกว้างเท่ากับ Crowdfunding แต่การระดมทุนกันในระดับชุมชนที่อาศัย…