Say Yes! กันต่อที่เซโน…กับปิ้งไก่ หนังควายเผา และสาวโรงงาน
“Say Yes! กันต่อที่เซโน…กับปิ้งไก่ หนังควายเผา และสาวโรงงาน“ พาเที่ยวกันต่อที่ของดีของเด่นเมืองเซโน สปป.ลาว เสน่ห์ของเมืองที่จะเปลี่ยน landlock เป็น landlink ของภูมิภาค
“Say Yes! กันต่อที่เซโน…กับปิ้งไก่ หนังควายเผา และสาวโรงงาน“ พาเที่ยวกันต่อที่ของดีของเด่นเมืองเซโน สปป.ลาว เสน่ห์ของเมืองที่จะเปลี่ยน landlock เป็น landlink ของภูมิภาค
“Say Yes! ที่เซโน สปป.ลาว” ชวนไปรู้จักประวัติศาสตร์ ความสำคัญ และเที่ยวที่เมืองเซโน สปป.ลาว เมืองที่เป็นชุมทาง และเชื่อมโยงเศรษฐกิจของภูมิภาค
สำนักข่าว Al Arabiya รายงานเมื่อ 31 ม.ค.67 อ้างผลการเสด็จเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของ เชค มิชอัล อัลอะห์มัด อัลญาบิร อาลเศาะบาฮ์ เจ้าผู้ครองรัฐคูเวต ระหว่าง 30-31 ม.ค.67 ว่า ซาอุดีอาระเบียและคูเวตย้ำความสำคัญของทุกประเทศในกลุ่ม OPEC+ ในการปฏิบัติตามข้อตกลงลดการผลิตน้ำมัน เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมันโลก ให้สามารถตอบสนองผลประโยชน์ทั้งของผู้ผลิตและผู้บริโภค และสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายตกลงจะกระชับความร่วมมือในภาคน้ำมันและก๊าซ รวมถึงด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีและพลังงานสะอาด การเสริมสร้างความร่วมมือในนโยบายสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนระหว่างนักลงทุนและภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย และเห็นพ้องการจัดการประชุมสภาความร่วมมือซาอุดี-คูเวต (Saudi-Kuwaiti Coordination Council-SKCC) ครั้งที่ 2 ในปี 2567 โดยมีคูเวตเป็นเจ้าภาพ เพื่อผลักดันข้อตกลงริเริ่มความร่วมมือทวิภาคีด้านต่าง ๆ เช่น ข้อตกลงโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างซาอุดีอาระเบีย-คูเวต ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าและการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ คูเวตและซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นประเทศสมาชิก OPEC มีข้อพิพาทกับอิหร่าน ร่วมกันในประเด็นการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ Al-Durra ในอ่าวอาหรับ/อ่าวเปอร์เซีย ที่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการแก้ไข
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ Arab News รายงานเมื่อ 30 ม.ค.67 อ้างแถลงการณ์ของสำนักข่าวกรองและความมั่นคงโซมาเลีย (NISA) ในวันเดียวกันว่า กองความมั่นคงทางไซเบอร์ของ NISA ระงับการใช้งานบัญชีแอปพลิเคชัน WhatsApp ของกลุ่มผู้ใช้งานแอปพลิเคชันดังกล่าวจำนวน 20 กลุ่ม (รวม 2,500 บัญชี) ฐานความผิดข่มขู่กรรโชกและคุกคามให้เกิดความหวาดกลัว เนื่องจากพบหลักฐานว่ากลุ่มเหล่านี้ใช้แอปพลิเคชันดังกล่าว เป็นช่องทางสื่อสารและทำธุรกรรมทางการเงินที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม Al–Shabaab ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายในโซมาเลียที่ประกาศสวามิภักดิ์กับกลุ่มอัลกออิดะฮ์ (AQ) ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ “Total War” ของรัฐบาลโซมาเลีย เพื่อปราบปรามกลุ่ม Al-Shabaab ที่เป็นภัยคุกกคามความมั่นคงของโซมาเลียมานาน
สำนักข่าว AP รายงานเมื่อ 31 ม.ค.67 อ้างหนังสือพิมพ์ Al-Watan ซี่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลซีเรียว่า นาย Hassan Ahmad al-Shihi ยื่นพระราชสาส์นตราตั้งเป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำซีเรีย ต่อนาย Faisal Mekdad รัฐมนตรีต่างประเทศซีเรีย เมื่อ 30 ม.ค.67 ซึ่งเป็นการเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates – UAE) ประจำซีเรีย อย่างเป็นทางการในรอบ 13 ปี นับจาก UAE เรียกตัวเอกอัครราชทูตประจำซีเรียกลับประเทศและปิดสถานทูตตั้งแต่ปี 2554 เนื่องจากเกิดการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลซีเรียของประชาชน กระทั่งขยายตัวลุกลามไปเป็นสงครามกลางเมือง ก่อนที่ UAE จะกลับมาเปิดทำการสถานทูตเมื่อห้วงปลายปี 2561 ทั้งนี้ หลังเกิดสงครามกลางเมืองในซีเรียตั้งแต่ปี 2554 ประเทศอาหรับหลายประเทศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับซีเรีย และสนับสนุนสันนิบาตอาหรับ (Arab League – AL) ให้ระงับสมาชิกภาพของซีเรียใน AL เพื่อแสดงการต่อต้านประธานาธิบดีบะชาร อัลอัดซาด ของซีเรีย ที่ใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล…
สำนักข่าว Al Jazeera รายงานเมื่อ 31 ม.ค.67 ว่า สมาชิกวง Bi-2 จำนวน 7 คน วงร็อคสัญชาติรัสเซียและเคยวิจารณ์การปฏิบัติการทางทหารในยูเครนและประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินของรัสเซีย กำลังจะถูกไทยส่งตัวกลับรัสเซีย หลังจากทางการไทยควบคุมตัวสมาชิกวงดังกล่าวเมื่อ 24 ม.ค.67 ในข้อหาจัดการแสดงดนตรีโดยที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานในไทย ด้าน Human Rights Watch ระบุว่าหากไทยส่งสมาชิกวงกลับไปที่รัสเซีย พวกเขาจะเผชิญกับอันตราย เนื่องจากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย เคยแถลงว่าพวกเขาเป็นกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการร้าย ทั้งนี้ นาย Yegor Bortnik นักร้องนำ เดินทางไปที่อิสราเอลแล้ว ส่วนสมาชิกที่เหลือมีทั้งสัญชาติรัสเซียและชาติอื่นๆ รวมถึงอิสราเอลและออสเตรเลีย (ถือสองสัญชาติ) ยังถูกคุมขังในไทย โดยมีความกังวลหากจะมีการส่งตัวกลับไปที่รัสเซีย
สำนักข่าวบีบีซีรายงานเมื่อ 31 ม.ค.67 ว่าประธานาธิบดีลูลา ดา ซิลวาของบราซิลสั่งปลดนายอเล็ซซานโด โมเรตติ รองผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองของบราซิล และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอีก 4 คนออกจากตำแหน่ง เนื่องจากนายโมเรตติและเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองดังกล่าวจารกรรมข้อมูลด้านการเมืองให้แก่นายอเล็กซานเดอร์ รามาเจม อดีตผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองบราซิลในห้วงการดำรงตำแหน่งของนายจาอีร์ โบลโซนาโร อดีตประธานาธิบดีบราซิล ด้านนายโบลโซนาโรกล่าวว่ากรณีดังกล่าวเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง