The Intelligence Weekly Review 10/03/2024
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
โลกาภิวัตน์ (Globalization) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมหลากหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือ กระแสความนิยมที่เป็นผลมาจากการเสพสื่อและการอาศัยอยู่ในโลกดิจิทัล ซึ่งแฟชั่น (Fashion) ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยในแต่ละสังคม แต่ละยุคสมัยก็จะมีวิธีการหรือสไตล์ในการแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและค่านิยมของสังคมนั้น ๆ แต่เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์มากขึ้น มีการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนกันผ่านทางอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมและมีรูปแบบการแต่งกายที่คล้ายคลึงกันมากขึ้น ความนิยมที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าทำให้เกิดเป็น “กระแสฟาสต์แฟชั่น” (Fast Fashion) โดยฟาสต์แฟชั่นเป็นธุรกิจที่เน้นการขายเสื้อผ้าราคาถูก มีต้นทุนการผลิตต่ำ และมีคอลเลคชั่นใหม่ ๆ ที่มีความทันสมัยออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อเสื้อผ้ามากขึ้นแต่สวมใส่เพียงไม่กี่ครั้งและซื้อใหม่ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ฟาสต์แฟชั่นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกและสร้างผลกระทบต่อโลกอย่างมากมายเช่นเดียวกัน อุตสาหกรรมฟาสต์แฟชั่นเติบโตอย่างน่าทึ่งในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 ซึ่งส่งผลต่อความต้องการในการบริโภคเสื้อผ้าที่มาจากกระบวนการฟาสต์แฟชั่นของผู้คนที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก รายงานของ United Nations Economic Commission for Europe (UNECE) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นสร้างมูลค่ามากกว่า 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการสร้างงานมากกว่า 75 ล้านตำแหน่งทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมเสื้อผ้ามีการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตขึ้นเป็นสองเท่า เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ อัตราการบริโภคเสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นเมื่อเทียบกับ 15 ปีที่ผ่านมานั้น พบว่า ผู้บริโภคซื้อเสื้อผ้าเพิ่มมากขึ้นถึง 60 เปอร์เซ็นต์ และมีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมฟาสต์แฟชั่นในอนาคตจะขยายตัวกว้างมากขึ้นในตลาดเสื้อผ้า เพราะสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างดี…
คนผิวเผือกจะมีตัวที่ขาวซีด เรือนผมและดวงตามีสีจาง ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้ร่างกายไม่อาจผลิตเม็ดสีได้ และมักเกิดมาพร้อมกับปัญหาสุขภาพ ฉะนั้นแสงจึงเป็นศัตรูตัวฉกาจ เพราะเมื่อปราศจากเม็ดสีในร่างกาย พวกเขาจึงไวต่อแสงมาก ทำให้ไม่สามารถอยู่ท่ามกลางแสงแดดได้เป็นเวลานาน อีกทั้งยังเผชิญความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งผิวหนังมากกว่าคนทั่วไปถึงพันเท่า …..แต่ที่น่าเห็นใจในชะตาของคนเหล่านี้ยังมียิ่งกว่านั้น คือการที่บางคนต้องเผชิญกับการถูกคุกคามจากผู้ที่เชื่อเรื่องไสยศาสตร์มนต์ดำในแอฟริกา ซึ่งบางครั้งนำไปสู่การถูกทำร้ายหรือฆาตกรรม โดยคนผิวเผือกจำนวนมากถูกทรมานและสังหาร เพราะมีความเชื่อกันว่าชิ้นส่วนจากร่างกายที่มีสีผิวผิดแผกจะนำความโชคดีมาให้ ทั้งนี้ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือมีอัตราการเกิดคนผิวเผือกจะมีเพียง 1 ใน 20,000 คนเท่านั้น ซึ่งเป็นภาวะที่หาได้ยาก แต่ในแอฟริกามีอัตราการเกิดอยู่ที่ 1 ใน 5,000 คน โดยแทนซาเนียคือประเทศที่มีจำนวนประชากรผิวเผือกมากที่สุด (ทุกๆ 1 ใน 1,400 คน) นั่นไม่ได้แปลว่าผู้คนจะยอมรับมันได้ เพราะด้วยเหตุที่มีฐานะประเทศยากจนอันดับต้นๆ ของโลก ผู้คนส่วนใหญ่จึงเข้าไม่ถึงการศึกษา ทำให้ยังไม่เข้าใจถึงโรคทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้คนส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าการมีผิวเผือกคือพลังอำนาจวิเศษ หากผู้ใดได้ครอบครองอวัยวะหรือชิ้นส่วนร่างกายของคนผิวเผือกแล้วจะนำพาโชคดีมาให้ บ่อยครั้งเกิดการลักพาตัวทารกหรือเด็กๆ บางรายถูกฆาตกรรม หรือบางรายถูกทำให้พิการ เมื่อปี 2549 มีคนผิวเผือกถูกสังหารอย่างน้อย 76 คน นิ้วมือ แขน และขาพวกเขา ถูกตัดไปทำพิธีกรรม เครื่องรางของขลัง แม้กระทั่งเลือดก็ถูกเก็บไปทำน้ำมนต์ …….แต่ละหมู่บ้านที่ห่างไกลของแอฟริกายังมีผู้คนที่ยึดมั่นในไสยศาสตร์มนต์ดำ โดยแต่ละหมู่บ้านจะมีหมอผีประจำหมู่บ้าน ซึ่งหมอผีเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในฐานะแพทย์ผู้รักษาอาการเจ็บป่วยของผู้คนด้วยพืชสมุนไพร…
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามักมีการรายงานข่าวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายและปัญหาซึมเศร้า โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนไทยที่ประสบกับปัญหาสภาวะทางสุขภาพจิตกันมากขึ้น โดยข้อมูลกรมสุขภาพจิตปี 2562 – 2566 พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 7.26 เป็น 7.94 ต่อประชากร1แสนคน และในปี 2566 มีคนพยายามฆ่าตัวตายถึง 25,578 คน โดยกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี มีอัตราพยายามฆ่าตัวตายสูงสุด ซึ่งมีการประเมินกันว่าปัญหาการฆ่าตัวตายของเยาวชนไทยที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น เป็นผลมาจากความเครียดและความโดดเดี่ยวทางจิตใจที่เยาวชนต้องเผชิญ อีกทั้งเห็นว่าการเผชิญภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายของเยาวชนยังอาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงได้อีกหลากหลาย อาทิยาเสพติดและการกระทำผิดอื่นๆ ตลอดจนการสูญเสียทรัพยากรเยาวชนที่สำคัญย่อมกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต ………..ระยะหลังที่เยาวชนไทยประสบกับปัญหาความโดดเดี่ยวทางจิตใจกันเป็นอย่างมาก คาดว่าส่วนหนึ่งคงเป็นผลมาจากโควิด-19 ที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายกับชีวิต ขาดโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ขาดพื้นที่การทำกิจกรรมร่วมกัน รวมไปถึงปัจจัยจากด้านแรงกดดันจากสังคมและอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย อย่างเช่นอิทธิพลของคอนเทนต์ประเภทที่มักมีการนำเสนอชีวิตที่สมบูรณ์แบบในโลกออนไลน์ ซึ่งการได้เห็นชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้อาจมีส่วนทำให้เยาวชนไทยรู้สึกกดดัน เพราะไม่สามารถใช้ชีวิตเช่นนั้นได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่เกิดจากสังคมไทย กล่าวคือ สังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่ยังไม่ค่อยเปิดรับกับปัญหาสุขภาพทางจิตใจมากนัก โดยยังมักมีมุมมองความคิดว่า ปัญหาทางสุขภาพทางจิตของเยาวชนเกิดขึ้น เพราะเยาวชนต้องการเรียกร้องความสนใจ คิดไปเอง และยังไม่จำเป็นต้องพบแพทย์และทำการรักษา ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่เผชิญปัญหาสุขภาพทางจิต มีความกังวลไม่กล้าขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เพราะกลัวคนรอบข้างไม่เข้าใจ กรมสุขภาพจิตได้มีการรายงานสถิติของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 100 คน ได้รับการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น และมีการวิเคราะห์พบว่าความโดดเดี่ยวทางจิตใจในเยาวชนไทยมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพจิต โดยมีระดับความเครียดสูงถึง…
ข้อมูลจากสถาบันการเงิน นักวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทยและสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานตรงกันว่า สถานการณ์หนี้สินของไทย โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนอยู่ในภาวะน่ากังวล เนื่องจากมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนสูงถึงร้อยละ 90 ต่อ GPD (นักวิชาการประเมินว่าหากไม่มีการแก้ไข หนี้ครัวเรือนจะมีสัดส่วนเทียบเท่า GDP ภายในปี 2570) และมีแนวโน้มที่ปัญหาหนี้จะรุนแรงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค ทำให้ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายทำให้ต้องกู้ยืมเงินเพิ่ม โดยมีตัวขับเคลื่อนหลัก ได้แก่ หนี้ส่วนบุคคล หนี้บัตรเครดิต หนี้บ้าน และหนี้รถยนต์ ที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นหนี้กำลังจะเสีย (SML) และหนี้เสีย (NPL) ในอัตราที่มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น
ภาคเอกชนและนักวิชาการแสดงความกังวลต่อเกี่ยวกับปัญหาไทยขาดดุลการค้าจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์พบว่าไทยขาดดุลการค้าจีนใน ม.ค. 67 มูลค่า 177,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ม.ค. 66 ที่ขาดดุลมูลค่า 147,000 ล้านบาท และขาดดุลปี 2566 รวม 1.4 ล้านล้านบาท) โดยสาเหตุที่สินค้าจีนเข้าไทยมากขึ้น เพราะเศรษฐกิจจีนชะลอตัว จึงต้องการระบายอุปทานส่วนเกินออกจากจีน กับทั้งไทยมีข้อตกลงที่เอื้อประโยชน์ทางการค้าให้จีน ด้านผลกระทบนั้น ส่งผลกระทบหนักต่อกลุ่ม SME เนื่องจากไม่สามารถสู้ราคาสินค้าจีนได้ เพราะมีต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก
แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เผยแพร่รายงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประจำปี 2566 ซึ่งชี้ว่าทั่วโลกกำลังเผชิญสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มแฮกเกอร์มีแนวโน้มใช้กลยุทธ์ที่เป็นอันตรายและซับซ้อนกว่าเดิม ส่วนสถานการณ์ในไทยนั้น พบปัญหาการละเมิด/ความปลอดภัยของข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีเหตุการณ์ครั้งใหญ่ เช่น กรณีข้อมูลคนไทย 55 ล้านคน หลุดจากแอปพลิเคชันหมอพร้อม
สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทยและมูลนิธิพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ระบุว่า อุตสาหกรรมมันสำปะหลังของไทยซึ่งเป็นพืชที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ มีมูลค่ากว่า 200,000 ล้านบาทต่อปี กำลังเผชิญภาวะวิกฤตจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคใบด่าง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังขาดแคลน โดยคาดว่าผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2567 จะลดลงเหลือเพียง 19 ล้านตัน (จาก 24 ล้านตัน) แม้เป็นช่วงที่ไทยควรได้ประโยชน์จากการส่งออกเพราะราคาแป้งมันในตลาดโลกสูงที่สุดในรอบ 7 ปี (19.10 บาทต่อกิโลกรัม) วิกฤตขาดแคลนผลผลิตยังส่งผลกระทบให้โรงงานแป้งมันหลายแห่งโดยเฉพาะในพื้นที่ภาค ตอ.น.ประกาศขายกิจการเนื่องจากไม่มีวัตถุดิบ ขณะที่เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังในระยะต่อไปลดลงได้อย่างต่อเนื่อง
จากกรณีชายชาวสวิตเซอร์แลนด์ก่อเหตุทำร้ายแพทย์หญิงใน จ.ภูเก็ต เพราะเข้าใจว่ารุกล้ำพื้นที่วิลล่าส่วนตัวที่ตั้งอยู่ริมชายหาดยามู จนเป็นข่าวใหญ่ที่ได้รับความสนใจนั้น ล่าสุดมีรายงานว่ากรณีดังกล่าวได้นำไปสู่กระแสทวงคืนชายหาดทั่วประเทศเพื่อให้เป็นพื้นที่สาธารณะ โดยนอกจากชายหาดยามู แล้วพบภาคประชาชนออกมารวมพลังทวงคืนชายหาดอื่น ๆ อาทิ เพจ Phuket People’s Voice ขอทวงคืนหาดแหลมหงา เกาะสิเหร่ ๆ ใน จ.ภูเก็ต หลังมีเอกชนเข้ามาปิดกั้นถนนหลวงที่ใช้ขึ้นลงหาด เพจ Beach For Life Thailand ขอทวงคืนหาดปากบารา จ.สตูล ให้เป็นหาดสาธารณะหลังมีเอกชนเข้ามาอ้างสิทธิ์
นักวิจัยด้านความปลอดภัยที่ใช้บัญชีทวิตเตอร์ หรือ X ที่ชื่อว่า Talal และ Tommy Mysk สาธิตวิธีที่พวกเขาสามารถดำเนินการโจมตีแบบฟิชชิ่ง Man-in-the-Middle (MiTM) เพื่อเข้าสู่ระบบบัญชี Tesla, ปลดล็อครถยนต์ และสตาร์ทรถได้ การโจมตีนี้ใช้ได้กับแอป Tesla ล่าสุด เวอร์ชัน 4.30.6 และซอฟต์แวร์ Tesla เวอร์ชัน 11.1 2024.2.7