Google เพิ่มฟีเจอร์การค้นหาในรูปแบบเสียง Audio Overviews
Google Search กำลังทดลองใช้ฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า “Audio Overviews” ซึ่งใช้ AI ที่ขับเคลื่อนโมเดล Gemini สร้างคำอธิบายเสียงสั้นๆ เป็นลักษณะของพอดแคสต์ที่ใช้เวลา 30-45 วินาที สำหรับการค้นหา
Google Search กำลังทดลองใช้ฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า “Audio Overviews” ซึ่งใช้ AI ที่ขับเคลื่อนโมเดล Gemini สร้างคำอธิบายเสียงสั้นๆ เป็นลักษณะของพอดแคสต์ที่ใช้เวลา 30-45 วินาที สำหรับการค้นหา
บริษัทผลิตภาพยนต์และสื่อแอนนิเมชัน Disney และ Universal ร่วมมือกันฟ้องร้องบริษัทผู้พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ที่มีอัลกอริทึมสำหรับการแปลงข้อความเป็นรูปภาพ (Midjourney) ด้วยข้อหาการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพของภาพยนต์ อาทิ Star Wars The Simpsons และ ภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ
เมื่อตกลงกันไม่ได้ ก็คงต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันแล้ว !!! เชื่อว่าคงเป็นวลีที่ใครหลายคนคงคุ้นหูที่มักจะได้ยินเมื่อการเจรจาหรือการตกลงกันระหว่างบุคคลในเรื่องต่าง ๆ ไม่สามารถหาข้อยุติระหว่างกันได้ จำเป็นต้องพึ่งพากลไกทางกฎหมายเพื่อตัดสินชี้ขาด เช่นเดียวกันกับบริบททางภูมิรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่อ่อนไหวและซับซ้อน โดยเฉพาะเรื่องเขตแดนก็มีกลไกระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้พิทักษ์หลักนิติธรรม รวมถึงหาข้อยุติระหว่างรัฐ นั่นก็คือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice – ICJ) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ศาลโลก” ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก (ICJ) คืออะไร? ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลกที่ว่านี่คืออะไรกันแน่ “ศาลโลก” ป็นองค์กรตุลาการหลักขององค์การสหประชาชาติ (UN) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ศาลโลกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) เพื่อสืบทอดภารกิจจากศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศ (Permanent Court of International Justice-PCIJ) ที่จัดตั้งขึ้นโดยสันนิบาตชาติ ศาล ICJ มีโครงสร้างภายในประกอบด้วย ผู้พิพากษา 15 คน ได้รับการเลือกตั้งจากสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA)…
สนข. Politico รายงานอ้างการเผยแพร่ของโฆษกทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผ่าน X เมื่อ 16 มิ.ย.68 ว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะเดินทางกลับสหรัฐฯ ในช่วงค่ำ หลังจากรับประทานอาหารเย็นร่วมกับผู้นำประเทศ G7 ณ เมือง Kananaskis รัฐอัลเบอร์ตา แคนาดา เนื่องจากความตึงเครียดในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน โดยประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่า อิหร่านพร้อมจะเจรจากับสหรัฐฯ ซึ่งพร้อมจะดำเนินการดังกล่าวต่อไปเช่นกัน กับทั้งย้ำจุดยืนของสหรัฐฯ ในประเด็นปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางว่าอิหร่านจะต้องยุติการพัฒนาและไม่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ พร้อมกับชี้แจงว่าอิหร่านควรจะยอมรับข้อตกลงกับสหรัฐฯ ตั้งแต่แรก ก่อนเหตุการณ์รุนแรงจะเกิดขึ้น และเตือนอิหร่านว่าควรอพยพผู้คนออกจากกรุงเตหะราน
สนข. รอยเตอร์ส รายงานอ้างแหล่งข่าวซึ่งเป็น จนท.กองทัพสหรัฐฯ เมื่อ 17 มิ.ย.68 ว่ากองทัพสหรัฐฯ ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าไปใกล้ภูมิภาคตะวันออกกลาง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาค อาทิ เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศจำนวนมาก ประจำการในฐานทัพของพันธมิตรสหรัฐฯ ในยุโรป และเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนกองเรือจากทะเลจีนใต้ ไปภูมิภาคตะวันออกกลาง บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่กองทัพสหรัฐฯ กำลังเตรียมความพร้อมทางยุทธศาสตร์ ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งปฏิบัติการสนับสนุนอิสราเอล หรือปฏิบัติการระยะไกลของกองทัพสหรัฐฯ รวมทั้งการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านที่อาจยกระดับอย่างรวดเร็ว
ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอิหร่านเผยแพร่ข่าวสารผ่าน Telegram เมื่อ 16 มิ.ย.68 ว่า อายะตุลลอฮ์ อะลี คอมะนะอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน เสียชีวิตจากการโจมตีของอิสราเอล และจะมีแถลงการณ์ใน 48 ชม. (ภายใน 18 มิ.ย.68) สนข. Reuters รายงานเมื่อ 15 มิ.ย.68 อ้างการเปิดเผยของ จนท.สหรัฐฯ 2 รายว่า อิสราเอลเคยแจ้งให้สหรัฐฯ ทราบถึงความเป็นไปได้ที่อิสราเอลจะสังหารผู้นำสูงสุดของอิหร่าน แต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ยับยั้ง อนึ่ง ผู้นำสูงสุดของอิหร่านปรากฏตัวในที่สาธารณะครั้งสุดท้ายเมื่อ 13 มิ.ย.68 ซึ่งเป็นการกล่าวปราศรัยผ่านสถานีโทรทัศน์เกี่ยวกับปฏิบัติการโจมตีอิหร่านภายใต้รหัส Operation Rising Lion ของอิสราเอล ขณะที่เว็บไซต์ Iran International รายงานเมื่อ 15 มิ.ย.68 โดยอ้างแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดรัฐบาลอิหร่านว่า ผู้นำสูงสุดของอิหร่านและอครอบครัวได้ย้ายเข้าไปยังที่หลบภัยใต้ดินบริเวณย่าน Lavizan ทาง ตอ.น.ของกรุงเตหะรานตั้งแต่ 13 มิ.ย.68
กลุ่ม Kataib Hezbollah (KH) ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธชีอะฮ์ในอิรักและเป็นพันธมิตรของอิหร่าน แถลงเมื่อ 15 มิ.ย.68 ว่า จะโจมตีผลประโยชน์และฐานทัพสหรัฐฯ ในอิรัก หากสหรัฐฯ แทรกแซงความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลอิรักปิด สอท.สหรัฐฯ/อิรัก และขับไล่ทหารอเมริกันออกนอกประเทศ ทั้งนี้ นรม.มุฮัมมัด ชียาอ์ อัซซูดานี ของอิรัก ได้พบหารือกับนาย Steven Fagin อุปทูตสหรัฐฯ/อิรัก และ พล.ต. Kevin Leahy ผบ.กกล.ผสมที่นำโดยสหรัฐฯ เมื่อ 14 มิ.ย.68 โดย นรม.อิรักยืนยันว่าอิรักไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดนหรือน่านฟ้าอิรัก เพื่อดำเนินการหรืออำนวยความสะดวกใด ๆ ต่อการรุกรานประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ผู้แทนสหรัฐฯ ยืนยันว่า สหรัฐฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการของอิสราเอล
ออสเตรเลียเชื่อมั่นว่าข้อตกลง AUKUS จะดำเนินการต่อไป นายแอนโทนี อัลบาเนซี นรม.ออสเตรเลีย ให้สัมภาษณ์เมื่อ 17 มิ.ย.68 ว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ และนายเคียร์ สตาร์เมอร์ นรม.สหราชอาณาจักร ยังคงมีท่าทีเชิงบวกต่อข้อตกลง AUKUS โดยอ้างถึงการแถลงของ นรม.สตาร์เมอร์ ระหว่างการประชุมสุดยอดกลุ่ม G7 ที่ระบุทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรอยู่ระหว่างดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าว และยังเป็นข้อตกลงที่สำคัญสำหรับทั้ง 2 ประเทศไม่เพียงแค่ออสเตรเลีย ด้าน นรม.อัลบาเนซี ยืนยันข้อตกลง AUKUS จะเป็นประโยชน์ทั้งการดำเนินการทั้งเสาหลักที่ 1 ในการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ และรวมถึงความร่วมมือในเสาหลักที่ 2 การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงร่วมกัน ทั้งนี้ ท่าทีของผู้นำออสเตรเลียมีขึ้นหลัง กห.สหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อ 12 มิ.ย.68 ว่า จะทบทวนความสอดคล้องของข้อตกลง AUKUS กับนโยบาย America First ของสหรัฐฯ
ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศตอบโต้กันอย่างต่อเนื่องระหว่าง กกล.ป้องกันอิสราเอล (IDF) กับ กกล.พิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (IRGC) ในห้วง 13-15 มิ.ย.68 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในอิหร่านอย่างน้อย 224 คน และบาดเจ็บอย่างน้อย 1,481 คน ขณะที่อิสราเอลรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากการโจมตีของอิหร่านมากกว่า 20 คน และบาดเจ็บอย่างน้อย 380 คน นอกจากนี้ เมื่อ 15 มิ.ย.68 IDF ได้ขยายขอบเขตการปฏิบัติการโจมตีทางอากาศไปยังเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารภาครัฐของอิหร่าน ที่สำคัญคือ อาคารสำนักงานของกระทรวงยุติธรรม กต.อิหร่าน กระทรวงข่าวกรอง และสำนักงาน ตร.อิหร่าน อีกทั้งอิสราเอลสามารถสังหาร พ.อ. Mohammad Kazemi ผอ.หน่วยข่าวกรองของ กกล.พิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (IRGC) และนาย Hassan Mohaghegh รอง ผอ.หน่วยข่าวกรองของ กกล.IRGC ขณะที่อิหร่านระบุว่า โจมตีตอบโต้อิสราเอลภายใต้ชื่อรหัส Operation True Promise 3 อย่างต่อเนื่อง แต่…
Emerging Security Challenges หรือความท้าทายความมั่นคงที่เกิดขึ้นใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน นับว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และด้วยความซับซ้อนในตัวภัยคุกคามในตัวของมันเอง อาจกล่าวได้ว่า ยากที่จะมีใคร หรือมหาอำนาจใด หรือหน่วยงานใดจะควบคุม หรือจัดการได้เพียงผู้เดียว …. ลักษณะของความท้าทายความมั่นคงเกิดใหม่… ความท้าทายความมั่นคงเกิดใหม่คือ ภัยคุกคามต่อความมั่นคงที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ในโลกของเรานี้ และสิ่งนี้ทำให้เกิดความกังวล (great concern) และผลกระทบอันยิ่งใหญ่ (great concern) ต่อประชาคมโลก และไม่มีมหาอำนาจใด หรือประเทศใด ๆ จะสามารถเป็นเจ้าของ หรือคุมความมั่นคงเกิดใหม่ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เนื่องจากตัวแสดงในภัยคุกคามต่อความมั่นคง มีความหลากหลาย ทั้งรัฐและไม่ใช่รัฐ ภัยจึงมีลักษณะเฉพาะคือ ไม่ได้เป็นภัยคุกคามที่มีมิติเดียว หากแต่มีความซับซ้อน และเชื่อมโยงกับภัยคุกคามด้วยกันเอง หรือภัยคุกคามอื่นที่อาจเป็นภัยคุกคามรูปแบบเก่า ๆ ก็ได้ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญที่สุด ไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือหน่วยงานใดเพียงหน่วยงานเดียวจะสามารถลด หรือแก้ไขภัยคุกคามด้านความมั่นคงที่เกิดใหม่ได้ ตัวอย่างความท้าทาย หรือภัยคุกคามด้านความมั่นคงเกิดใหม่ในบริบทของประเทศไทย เช่น การหลอกลวงออนไลน์ ซึ่งเชื่อมโยงทั้งการค้ามนุษย์ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ การลักลอบข้ามแดน การทุจริต และมีการใช้เทคโนโลยี อาทิ เครือข่ายสังคมออนไลน์ และคริปโตเคอเรนซีเป็นเครื่องมือ ทำให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง…