BRICS ความคืบหน้าที่ต้องจับตามอง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน ระเบียบโลกเดิมซึ่งนำโดยกลุ่มชาติตะวันตกนั้น กำลังถูกท้าทายจากการผงาดขึ้นของกลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South) อันหมายถึงกลุ่มประเทศที่เคยถูกมองว่ากำลังพัฒนาและถูกตีกรอบให้ปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศที่สร้างขึ้นโดยมหาอำนาจตะวันตกในช่วงการฟื้นฟูระเบียบโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ดี ประเทศโลกใต้มีบทบาทที่สำคัญในการจัดระเบียบโลกใหม่เพิ่มมากขึ้น ภายใต้การรวมกลุ่มของประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่และมีศักยภาพในการเติบโต หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กลุ่มบริกส์ (BRICS)” ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะเข้ามาแทนที่ระเบียบโลกเดิม อาทิ กลุ่มประเทศ G7 ธนาคารโลก (World Bank) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) จนมีนักวิชาการบางกลุ่มมองว่า คือจุดเริ่มต้นของ“ความเสื่อมถอยของอิทธิพลตะวันตก” (De-Westernization) BRICS เข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของ IMF พบว่า BRICS ได้ครองสัดส่วนเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 41 ในปี 2568 จำนวนประชากรของกลุ่มดังกล่าวรวมกันนั้น ครองสัดส่วนเกือบครึ่งของประชากรทั้งโลกจำนวน 3,617.6 ล้านคน หรือร้อยละ 45.5 ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของ BRICS ที่พร้อมจะท้าทายระเบียบโลกเก่า อีกทั้ง ในช่วงที่หลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปเริ่มแสดงท่าทีว่าการขยายตัวของ BRICS เป็น “ภัยคุกคามเชิงโครงสร้าง” ของอำนาจเดิม…