วิเคราะห์ความพร้อมของอินโดนีเซียด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภัยคุกคามทางไซเบอร์กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความก้าวหน้าของการพัฒนาทางเทคโนโลยีและการใช้อินเทอร์เน็ตที่แพร่หลาย ซึ่งจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นของประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ภูมิภาคนี้สามารถกลายเป็นเป้าหมายสำคัญของการถูกโจมตีทางไซเบอร์… และอินโดนีเซียก็ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 4 รองจากจีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา การเติบโตของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอินโดนีเซียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งในขณะเดียวกันภัยคุกคามและความเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอินโดนีเซียก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ปัจจัยที่ส่งผลให้อินโดนีเซียเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์มีอยู่ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ของประเทศ เนื่องจากอินโดนีเซียมีพื้นที่ขนาดใหญ่และเป็นหมู่เกาะ ส่งผลให้การบริหารจัดการต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละพื้นที่สำหรับรัฐบาลเป็นเรื่องยาก (2) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี การพัฒนาที่รวดเร็วของเทคโนโลยีนำมาซึ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นความท้าทายใหม่ในสังคม เพราะการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีนั้น ถือเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการก่อให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งหากตามไม่ทันการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ การจัดการหรือการรับมือเพื่อป้องกันภัยคุกคามก็จะเป็นเรื่องที่ยากยิ่งขึ้น และ (3) ปัจจัยด้านประชาชน ประชาชนถือเป็นส่วนสำคัญสำหรับการเผชิญภัยคุกคามทางไซเบอร์ ความตระหนักรู้ของประชาชนคือหลักการสำคัญในการป้องกันการเกิดภัยคุกคาม หากประชาชนมีความตระหนักรู้ในเรื่องนี้ ความเสี่ยงในการเผชิญภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็จะลดน้อยลง อีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้อินโดนีเซียยังมีความเสี่ยงในการเผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์ ก็อาจเป็นเพราะมาตรการหรือนโยบายในการรับมือของภัยคุกคามทางไซเบอร์ของอินโดนีเซียในปัจจุบันนั้นยังไม่มีความแน่ชัด เนื่องจากลักษณะของมาตรการหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ของอินโดนีเซีย…. เรียกได้ว่า “แก้ตามเกิด” กล่าวคือ เมื่อมีภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างหนึ่งเกิดขึ้น มาตรการหรือนโยบายที่เข้ามารับมือกับภัยนั้น ๆ จะเป็นในลักษณะที่แก้ไขเฉพาะเหตุการณ์นั้นโดยเฉพาะ จึงทำให้การรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในรูปแบบอื่น…