ILRS และ Artemis Accords: โอกาสของไทยในโครงการอวกาศของมหาอำนาจ
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการสำรวจอวกาศได้นำไปสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือและการแข่งขันระหว่างประเทศ ดังที่ได้เห็นจากโครงการสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ (International Lunar Research Station -ILRS) ของจีน และข้อตกลงอาร์เทมิส (Artemis Accords) ของสหรัฐฯ ซึ่งทั้งสองโครงการนี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงการพยายามแข่งขันกันในด้านเทคโนโลยีของ 2 มหาอำนาจของโลก แต่ยังแสดงถึงมิติใหม่ในการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์อีกด้วย …….ที่ว่าเป็นมิติใหม่นี้ ก็เพราะว่าทั้งสองโครงการนำโดยสองมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯและจีน ที่สร้างกรอบความรวมมือระหว่างประเทศเรื่องอวกาศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการหาสมาชิกหรือมิตรประเทศเข้าร่วม โดย ILRS เริ่มมาจากความร่วมมือของจีนและรัสเซียเมื่อปี 2564 เป้าหมายเพื่อการวางแผนสร้างสถานีอวกาศในบริเวณดวงจันทร์ ขณะที่ Artemis Accords นำโดยสหรัฐอเมริกา เริ่มมาตั้งแต่ปี 2563 ก่อนหน้าโครงการของจีนแค่ 1 ปี ข้อตกลงขอสหรัฐฯ นี้เสนอโครงการร่วมเพื่อการสำรวจดวงจันทร์ พร้อมแผนการ Artemis ที่จะส่งมนุษย์กลับไปยังดวงจันทร์ในปี 2569 ข้อตกลงของสหรัฐฯ มีประเทศต่างๆ ให้ความสนใจและลงนามเป็นภาคีด้วยแล้ว 43 ประเทศ แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแค่สิงคโปร์ที่เข้าร่วม ส่วนไทยเรา แม้จะยังไม่เป็นภาคีใน Artemis Accords…