The Intelligence Weekly Review (31/07/2022)
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
ทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯ เผยแพร่ผลการหารือระหว่างประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดนกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เมื่อ 28 ก.ค.65 โดยระบุเป็นการหารือแบบออนไลน์นาน 2 ชั่วโมง 17 นาที ซึ่งสาระสำคัญคือ สหรัฐฯ กับจีนจะรักษาช่องทางสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงระหว่างกันต่อไป และร่วมมือในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ร่วม ได้แก่ แก้ไขวิกฤติโลกร้อน และส่งเสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ ประธานาธิบดีไบเดนย้ำกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงว่า สหรัฐฯ ไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายเคารพหลักการจีนเดียว และไม่สนับสนุนให้จีนเปลี่ยนแปลงสถานะปัจจุบันของไต้หวัน หรือดำเนินนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน
สำนักข่าวThe Indian Express รายงานเมื่อ 28 ก.ค.65 ว่า อินเดียเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council-UNSC) เปิดประชุมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในคองโก จากกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงและก่อความไม่สงบรอบฐานที่มั่นของภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (United Nations Organization Stabilization Mission in the Democratic Republic of the Congo-MONUSCO) ที่จังหวัด North Kivu ทางตะวันออกของคองโก ตั้งแต่ 25 ก.ค.65 เนื่องจากไม่พอใจที่ UN ไม่สามารถปราบปรามกลุ่มติดอาวุธในคองโก โดยผู้ชุมนุมก่อเหตุรุนแรง ทำให้เจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาสันติภาพ UN เสียชีวิต 3 นาย เมื่อ 26 ก.ค.65 ได้แก่ เจ้าหน้าที่จากอินเดีย 2 นาย และ เจ้าหน้าที่จากโมร็อกโก 1 นาย พร้อมเรียกร้องให้ UNSC…
สำนักข่าววีโอเอรายงานเมื่อ 27 ก.ค.65 อ้างท่าทีของนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า จะเร่งช่วยเหลือชาวอเมริกันที่ถูกควบคุมตัวในรัสเซีย ได้แก่ นาง Brittney Griner นักกีฬาบาสเกตบอลชาวอเมริกัน และนาย Paul Whelan อดีตนาวิกโยธินสหรัฐฯ โดยจะโทรศัพท์หารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในห้วงเร็ว ๆ นี้ พร้อมทั้งจะหารือเกี่ยวกับข้อตกลงส่งออกธัญพืชของยูเครนผ่านทะเลดำ และสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน เฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคดอนบาส ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ หารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียล่าสุดเมื่อ 15 ก.พ.65 ก่อนรัสเซียปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครน และมีรายงานว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ และ รัสเซียยังไม่มีกำหนดการจะหารือกันโดยตรงในระหว่างเข้าร่วมประชุม ARF(ASEAN Regional Forum) ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ของอาเซียนที่กัมพูชา ในต้น ส.ค.65
ประเด็นร้อนแรงแซงทุกข่าวสำหรับปี 2565 ตอนนี้ ยังต้องยกให้กับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน หรือนัยความขัดแย้งรัสเซียกับตะวันตก ที่กลบพื้นที่ประเด็นสำคัญของโลกไปไม่น้อย รวมถึงการแข่งขันเทคโนโลยีการผลิต Chip ซึ่งอาจทำให้หลายคนอาจลืมไปว่า เดือนกรกฎาคมปีนี้ ครบรอบหนึ่งปีที่ประธานาธิบดี Tsai Ing-wen แห่งสาธารณรัฐจีน หรือไต้หวัน ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์เมื่อ กรกฎาคม 2564 ว่า ไต้หวันบรรลุข้อตกลงกับลิทัวเนีย เพื่อเปิดสำนักงานผู้แทนไต้หวันในลิทัวเนีย ขณะที่ ลิทัวเนียก็จะเปิดสำนักงานผู้แทนในไต้หวันเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นการเปิดสำนักงานผู้แทนครั้งแรกในรอบ 18 ปี ที่ไต้หวันเปิดสำนักงานผู้แทนในยุโรปต่อจากสโลวาเกียเมื่อปี 2546 และผลต่อเนื่องจากทวิตเตอร์ในวันนั้น ก็นำไปสู่การเกิดดีลใหญ่ในศักยภาพการพัฒนา Chip ของโลก ในเดือนมกราคม 2565 แม้น้อยคนจะจำได้ หรือให้ความสนใจ เพราะปีนี้คนส่วนใหญ่ หรือแม้แต่พื้นที่สื่อทั้งโลก ต่างพุ่งประเด็นไปที่เดือนกุมภาพันธ์มากกว่า เพราะเป็นเดือนที่รัสเซียบุกยูเครน ทำให้ความสนใจหันเหออกจากกรุงวิลนีอุส เมืองหลวงของลิทัวเนีย ไปยังกรุงเคียฟ ยูเครน ที่อยู่ห่างกันประมาณ 600 กิโลเมตรในระยะกระจัด (ประมาณกรุงเทพฯ – เชียงใหม่) ดีลใหญ่ที่ว่านั้นคือการที่ไต้หวันตั้งกองทุนการลงทุนในลิทัวเนีย โดยนาย Eric Huang หัวหน้าสำนักงานผู้แทนไต้หวันในลิทัวเนีย…
ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนเข้าสู่เดือนที่ 5 คู่ขัดแย้งยังคงพูดคุยกันไม่ลงตัว ขิงก็ยังรา ข่าก็ยังแรง ความขัดแย้งครั้งนี้ส่งผลกระทบในมิติไหน อย่างไรบ้าง และไทยมีแนวโน้มเผชิญความท้าทายอะไรจากความขัดแย้งครั้งนี้เพิ่มเติมในอนาคตบ้าง เชิญรับฟังมุมมองของ The Intelligence ครับ
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พบหารือกับประธานาธิบดีโจโก วิโดโดของอินโดนีเซียซึ่งเยือนจีนเมื่อ 26 ก.ค.65 และออกแถลงการณ์ร่วมที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องจะขยายความร่วมมือในอนาคตด้านการค้า ความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐกิจดิจิทัล การแลกเปลี่ยนทางการศึกษา การพัฒนาวัคซีน และโครงการทางทะเล กับทั้งต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง Belt and Road Initiative กับ Global Maritime Fulcrum และลงนามในเอกสารความร่วมมือหลายฉบับ ครอบคลุมการพัฒนาวัคซีนและรหัสพันธุกรรม การพัฒนาสีเขียว การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการบังคับใช้กฎหมาย การเสริมสร้างศักยภาพด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ กิจการทางทะเล และการส่งออกสับปะรดจากอินโดนีเซียไปจีน นอกจากนี้ ประธานาธิบดีจีนยินดีที่อินโดนีเซียมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในกรอบความร่วมมือ BRICS Plus รวมทั้งชื่นชมและสนับสนุนความมุ่งมั่นของอินโดนีเซียที่มีต่อ Global Development Initiative และ the Global Security Initiative ซึ่งจีนพร้อมจะประสานความร่วมมือกับอินโดนีเซียใกล้ชิดยิ่งขึ้น
กระทรวงการต่างประเทศอินเดีย ออกแถลงการณ์เมื่อ 27 ก.ค.65 ว่า นายสุพรหมยณัม ชัยสังกระ รัฐมนตรีต่างประเทศของอินเดีย จะเยือนกรุงทาชเคนต์ อุซเบกิสถานอย่างเป็นทางการระหว่าง 28-29 ก.ค.65 ตามคำเชิญของนาย Vladimir Norov รักษาการรัฐมนตรีต่างประเทศของอุซเบกิสถาน เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization-SCO) ซึ่งที่ประชุมจะหารือประเด็นการเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอด SCO ระหว่าง 15-16 ก.ย.65 และการขยายกรอบความร่วมมือ SCO รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันที่น่าห่วงกังวล
กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์เมื่อ 26 ก.ค.65 ว่า นายโยชิมะซะ ฮายาชิ รัฐมนตรีต่างประเทศ(รมว.กต.)ญี่ปุ่น จะเยือนกรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ ระหว่าง 28-31 ก.ค.65 เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานโยบายเศรษฐกิจ (Economic Policy Consultative Committee-EPCC) ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ หรือ Economic 2+2 กับนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และจะกล่าวสุนทรพจน์ที่ศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษานานาชาติ (Center for Strategic and International Studies-CSIS) ซึ่งเป็นสถาบัน Think tank ของสหรัฐฯ ใน 29 ก.ค.65 ทั้งนี้ การเยือนกรุงวอชิงตันครั้งนี้เป็นการเยือนครั้งแรกของนายฮายาชิในฐานะ รมว.กต.ญี่ปุ่น
นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงเมื่อ 25 ก.ค.65 ประณามรัฐบาลเมียนมาอย่างรุนแรง กรณีตัดสินลงโทษประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เรียกร้องประชาธิปไตยจำนวน 4 คน ได้แก่ Ko Jimmy, Phyo Zeya Thaw, Hla Myo Aung และ Aung Thura Zaw ซึ่งขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน และกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งสหรัฐฯ คัดค้านและจะร่วมมือกับชาวเมียนมา เพื่อกดดันรัฐบาลเมียนมาให้เคารพประชาธิปไตยและเสรีภาพของประชาชน