The Intelligence Updates (21/07/2022)
รายการ The Intelligence Updates อัปเดตสถานการณ์ต่างประเทศที่น่าสนใจ โดยพี่ช็อคและน้องจรวด ที่จะรวบรวมสถานการณ์น่าสนใจทั่วมุมโลกมาอัปเดตให้ท่านผู้ฟังแบบเรียลไทม์
รายการ The Intelligence Updates อัปเดตสถานการณ์ต่างประเทศที่น่าสนใจ โดยพี่ช็อคและน้องจรวด ที่จะรวบรวมสถานการณ์น่าสนใจทั่วมุมโลกมาอัปเดตให้ท่านผู้ฟังแบบเรียลไทม์
รายการ The Intelligence Updates อัปเดตสถานการณ์ต่างประเทศที่น่าสนใจ โดยพี่ช็อคและน้องจรวด ที่จะรวบรวมสถานการณ์น่าสนใจทั่วมุมโลกมาอัปเดตให้ท่านผู้ฟังแบบเรียลไทม์
รายการ The Intelligence Updates อัปเดตสถานการณ์ต่างประเทศที่น่าสนใจ โดยพี่ช็อคและน้องจรวด ที่จะรวบรวมสถานการณ์น่าสนใจทั่วทุกมุมโลกมาอัปเดตให้ท่านผู้ฟังแบบเรียลไทม์
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
สินค้าจำนวนมากและหลากหลายประเภทปรับราคาสูงขึ้นในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการอัดฉีดเงินในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อ ซ้ำเติมด้วยการคว่ำบาตรทางการค้าและการปิดช่องทางการส่งออกสินค้าจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ทำให้สินค้าขาดตลาดและปรับราคาสูงมากขึ้น เดือดร้อนต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนทั่วโลก เพราะยุคนี้ของซื้อของขายมีราคาแพงทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน เหล็ก แป้งสาลี เนื้อสัตว์ พืชผัก ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมี เป็นต้น
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่เริ่มคลี่คลายลงในหลายประเทศนำไปสู่การเปิดน่านฟ้ารับนักท่องเที่ยว จึงถึงจังหวะที่ธุรกิจการบินจะกลับมาคึกคักดังเดิม หลังจากที่สนามบินเงียบเหงามาไม่ต่ำกว่า 2 ปี จำนวนนักท่องเที่ยวและเที่ยวการบินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2563 แต่กระนั้น…นี่จะเป็นโอกาสฟื้นตัวของธุรกิจการบินแล้วหรือไม่ แม้เที่ยวบินเพื่อการท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมา แต่ยังน้อยกว่าช่วงก่อนโควิดในปี 2562 อยู่ 33% เนื่องด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่แย่ลง ผู้คนจึงประหยัดอดออมมากขึ้นเป็นพิเศษ รวมถึงราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากความขัดแย้งของสงครามรัสเซีย-ยูเครน เป็นภาระหนักกับสายการบินที่จะต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น และสุดท้าย คือ ความพร้อมของการบริการของสายการบิน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการปรับลดพนักงาน ปรับรูปแบบการทำงานในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เหล่าพนักงานประจำหลายคนไม่กลับเข้าสู่ระบบการทำงาน ไม่แตกต่างไปจากธุรกิจประเภทอื่นๆ ที่ต้องเผชิญภาวะ Great Resignation (การลาออกระลอกใหญ่) เมื่อลูกจ้างขอปรับรูปแบบการทำงาน เพราะพวกเขาเห็นว่าสามารถทำงานที่บ้านได้ หรือบางคนที่ออกจากระบบงานเดิมแล้วไม่คิดที่จะกลับเข้าไปอีก รวมไปถึงการที่พนักงานเรียกร้องค่าตอบแทนที่สูงขึ้นหากจะต้องกลับไปทำงานในลักษณะเดิม ขณะที่ผู้บริหารก็ยังอยู่ในสภาวะฟื้นตัวเกิดเป็นปัญหาต่อการเพิ่มค่าแรงเพื่อเรียกพนักงานกลับมา ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานมากขึ้น จนไม่สามารถรองรับการบริการนักท่องเที่ยวได้ไหว จนทำให้เราพบการการรอคอยที่ยาวนานขึ้นสำหรับการเดินทางด้วยเครื่องบิน ในขณะที่การ take off ของธุรกิจการบินอีกครั้งนี้ดูไม่ค่อยราบรื่นสักเท่าไหร่ แต่มีการคมนาคมอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังมาแรง นั่นคือ “การขนส่งระบบราง” มนุษย์เริ่มที่จะใช้ระบบรางในการขนส่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2366 โดยเอ็ดเวิร์ด พีส (Edward Pease) ก่อนที่พี่น้องตระกูลไรท์จะประดิษฐ์เครื่องบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เมื่อปี 2446 และการขนส่งระบบรางได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง…
การดำเนินนโยบาย โครงการ แผนงานต่างๆ กล่าวได้ว่าการมีส่วนร่วมหรือการบูรณาการเป็นปัจจัย/เครื่องมือสำคัญในการผลักดันให้บังเกิดความสำเร็จหรือในการบรรลุเป้าหมาย โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องเข้ามาร่วมในการรับรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันตามขั้นตอนต่างๆ ของโครงการ (Project) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรม จะลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ได้ ไม่ใช่แค่ความขัดแย้งในกลุ่มประเภทเดียวกัน แต่หมายถึง กลุ่มผู้เกี่ยวข้องที่มีบทบาทหน้าที่ในโครงการที่แตกต่างกัน มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน สามารถหนุนเสริมและปิดข้อบกพร่องให้กันได้ โดยจะสามารถสรุปได้ 5 กลุ่มภาคี ดังนี้ ภาครัฐ ยักษ์ใหญ่ทรงอำนาจแต่อุ้ยอ้าย เป็นกลุ่มที่มีบทบาทหลักในการช่วยเหลือชาวบ้านกำหนดแนวทางนโยบายเป็นแนวทางนำให้กับส่วนอื่นๆ ภาคเอกชน คล่องแคล่วว่องไว มีทุนสามารถหนุนเสริมภาครัฐเพื่อการสร้างผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นร่วมกัน ช่วยกระชับกระบวนการให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เป็นลักษณะการดำเนินการในรูปแบบธุรกิจที่มุ่งหวังให้เกิดความคุ้มทุน หากพิจารณาจากกำไรทีได้จากโครงการเพียงอย่างเดียว จะทำให้ไม่เกิดการกระจายตัวในการพัฒนาช่วยเหลือชาวบ้าน จึงเป็นบทบาทที่แตกต่างจากภาครัฐนั่นเอง ภาควิชาการ ฝ่ายข้อมูลสำหรับการชี้วัดเพื่อการตรวจสอบเก็บข้อมูลอย่างแม่นยำ และติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปต่อยอดโครงการอื่นๆ ต่อไป ภาคสื่อมวลชน ต่อยอดวิชาการ สื่อสาร ย่อยข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้กับผู้อื่นรับทราบ สร้างความเข้าใจร่วมกัน จึงเป็นการลดความขัดแย้งไปในระหว่างการทำงานได้ด้วย ในกรณีที่ข้อมูลที่สื่อสารออกไปเป็นข้อเท็จจริง ภาคประชาชน หน่วยย่อยผู้มักได้รับบทบาทเป็นผู้รับการช่วยเหลือหรือกลุ่มเป้าหมาย ในทางกลับกันพวกเขาเป็นแหล่งข้อมูลในพื้นที่ที่จะสามารถสะท้อนปัญหาออกมาได้อย่างชัดเจน และยังเป็นกลุ่มคนที่จะอยู่กับความสำเร็จดำเนินกิจกรรมต่อไปเมื่อภาคส่วนต่างๆ แยกย้ายกันไปหรือจบโครงการแล้ว นั่นหมายความว่า ความสำเร็จของโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อทั้ง 5 ภาคีร่วมบูรณาการทำงานร่วมกันไปตามบทบาทหน้าที่ ตั้งแต่การกำหนดแผนระยะยาวของหน่วยงานส่วนกลางของภาครัฐสู่การตอบรับนโยบายในหน่วยงานท้องถิ่นร่วมมือกับมหาวิทยาลัยตามภูมิภาค ภาคธุรกิจในระดับชุมชน…
การกัดเซาะหน้าดินเป็นกระบวนการทางธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ ที่เกิดขึ้นจาก “น้ำ” ทั้งน้ำฝนและแม่น้ำลำคลอง เมื่อกระแสน้ำรุนแรง กัดเซาะดินหรือหินทำให้หน้าดินละลายไปกับน้ำไหลไปยังพื้นที่อื่น หน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เสมือนปุ๋ยก็จะถูกกระจายไปสู่พื้นที่ที่กระจายออกไปมากขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พื้นที่ราบน้ำท่วมขังที่หน้าดินได้ตกตะกอนจากกระแสน้ำที่ไหลเอื่อยลงที่ความเร็วประมาณ 0.11 เมตรต่อวินาที และทำให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และที่ราบลุ่มกู๋ลองยาง (Cuu Long Giang) บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม แต่เมื่อการทำเกษตรกรรมรุกคืบเข้าสู่ผืนป่า ต้นไม้และพืชคลุมดินที่ป้องกันการกัดเซาะจากน้ำฝนถูกเปลี่ยนเป็นเขาหัวโล้นสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพดสำหรับผลิตอาหารสัตว์ ถั่ว และฟักทอง เป็นต้น การกัดเซาะหน้าดินจึงสูงมากขึ้น โดยเฉลี่ยประเทศไทยสูญเสียหน้าดินไปราวๆ 20 – 40 ตันต่อไร่ต่อปี จากการกัดเซาะ โดยเฉพาะพื้นที่ภูเขาที่มีความลาดเอียงสูง นั่นคือปริมาณปุ๋ยตามธรรมชาติที่สูญเสียไปในแต่ละปี ไม่ใช่ว่าหน้าดินที่ถูกกัดเซาะจะกลายเป็นปุ๋ยต่อไปในที่ราบ แต่ด้วยวิธีการทำเกษตรที่มีการใช้สารพิษในการเพาะปลูก ทำให้สารเคมีเหล่านี้เจือปนสู่แม่น้ำต่างๆ ไปสู่แปลงเกษตรหรือแม้แต่การอุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละปี เกษตรกรจะต้องเติมปุ๋ยไปในพื้นที่เพื่อทำดินให้อุดมสมบูรณ์ เป็นจำนวน 5.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาท นั่นเพราะหน้าดินที่ถูกกัดเซาะลงมาขาดคุณสมบัติในการเป็นปุ๋ย เพราะปุ๋ยตามธรรมชาติเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ของป่าบนภูเขาต้นน้ำ เมื่อไม่มีป่า หน้าดินก็ไม่อุดมสมบูรณ์อีกต่อไป จากสถานการณ์ราคาของปุ๋ยที่สูงขึ้น เนื่องจากการสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่เป็นแหล่งผลิตและส่งออกปุ๋ยของโลกยืดเยื้อ ราคาปุ๋ยที่แพงขึ้นกลายเป็นภาระของเกษตรกร และยังส่งผลให้ราคาผลผลิตหรืออาหารที่สูงขึ้นกระทบไปยังผู้บริโภค เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว…
สนข.ซีเอ็นเอ็นรายงานเมื่อ ๒๖ ส.ค.๖๕ ว่า ทร.สหรัฐฯ กำลังเร่งพัฒนาระบบป้องกันและทำลายขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง (hypersonic) โดยอาจใช้เลเซอร์คุณภาพสูงหรือคลื่นไมโครเวฟ เพื่อทำลาย หรือลดระดับศักยภาพของขีปนาวุธดังกล่าว โดยมีเป้าหมายป้องกันภัยคุกคามจากจีนและรัสเซีย ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาขีปนาวุธที่มีความเร็วเหนือเสียงแล้ว ขณะที่ปัจจุบัน ระบบเลเซอร์ที่ ทร.สหรัฐฯ ใช้ติดตั้งบนเรือรบเป็นระบบเลเซอร์ HELIOS (High Energy Laser with Integrated Optical-dazzler and Surveillance)ของบริษัท Lockheed Martin Credits ภาพ : defensehere
เว็บไซต์ สำนักข่าว AFP รายงานเมื่อ 26 ส.ค.65 อ้างคำเตือนของนาย George Laryea-Adjei ผู้อำนวยการกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children’s Fund-UNICEF) ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ ว่า ประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้อาจประสบวิกฤตโภชนาการเช่นเดียวกับศรีลังกาเนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อแบบเฉียบพลันทั่วภูมิภาค ซึ่งพร้อมที่จะคุกคามชีวิตเด็ก ทั้งนี้ UNICEF ได้เรียกร้องเงินจำนวน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรเด็กอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของศรีลังกาอย่างเร่งด่วน ขณะที่ตัวเลขอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2564 ระบุว่า ศรีลังกามีเด็กก่อนวัยเรียน 127,000 คนที่ขาดสารอาหาร จากจำนวน 570,000 คนทั่วประเทศ แต่ตัวเลขที่แท้จริงน่าจะสูง เนื่องจากผลกระทบจากการขาดแคลนอาหารและอัตราเงินเฟ้อที่ทวีความรุนแรง