The Intelligence Weekly Review (24/07/2022)
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
เมื่อปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้เกิดข่าวเศร้าติดต่อกันสำหรับคอการ์ตูนมังงะและแอนิเมชันในยุค 90 ด้วยการสูญเสีย 2 บุคคลที่ถือว่าเป็นผู้ให้ความสุขกับเด็ก ๆ ในยุคสมัยนั้น และหลาย ๆ คนน่าจะเติบโตมาเป็นเด็กหนวดในยุคสมัยนี้พร้อมกับผลงานของทั้ง 2 ท่าน คนแรกคือนักพากย์อาวุโสชาวไทย “คุณไกวัล วัฒนไกร” หรือ น้าไก เจ้าของเสียงพากย์ไทยของตัวการ์ตูนมากมาย ชนิดที่ว่าถ้านึกถึงเสียงพากย์ไทยของเบจิต้าและผู้เฒ่าเต่าจากเรื่อง Dragon Ball โรโรโนอา โซโล จาก One Piece หรือจะเป็นสารวัตรเมงุเระจากยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ต้องนึกถึงเสียงของน้าไกเป็นคนแรก ส่วนอีกท่านหนึ่งนั้นคือนักเขียนการ์ตูนมังงะระดับตำนาน “อาจารย์คาซุกิ ทาคาฮาชิ” ผู้เขียนเรื่อง “Yu-Gi-Oh!” หรือ “เกมกลคนอัจฉริยะ” (ชื่อแปลไทยฉบับของสยามอินเตอร์คอมิกส์) การ์ตูนต้นตำรับที่ให้กำเนิด Yu-Gi-Oh! Trading Card Game ซึ่งถือเป็นแบรนด์การ์ดเกมที่ได้รับความนิยมระดับโลก เริ่มจาก ไกวัล วัฒนไกร นักพากย์ผู้มีพื้นเพอยู่ที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี น้าไกเริ่มต้นเข้าสู่วงการนักพากย์ด้วยการฝึกพากย์หนังกลางแปลงของวัฒนไกรภาพยนตร์ซึ่งเป็นธุรกิจทางบ้าน จากนั้นจึงได้สั่งสมประสบการณ์พากย์หนังต่างประเทศ หนังจีน จนกระทั่งได้เข้ามาพากย์ในสายงานการ์ตูนแอนิเมชันให้กับ ช่อง…
สำนักข่าว Press TV และ สำนักข่าว Al Jazeera รายงานเมื่อ 19 ก.ค.65 ว่า อายะตุลลอฮ์ ซัยยิด อะลี ฮุซัยนี คอมะนะอี ผู้นำสูงสุดอิหร่าน พบหารือกับประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ซึ่งเยือนอิหร่านเพื่อเข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการแก้ไขปัญหาซีเรีย (Astana Talk) ระหว่างผู้นำรัฐบาลรัสเซีย ตุรกี และอิหร่าน ในวันเดียวกันนี้ การพบหารือดังกล่าว ผู้นำสูงสุดอิหร่านกล่าวในเชิงสนับสนุนผู้นำรัสเซียที่ตัดสินใจทำสงครามในยูเครนว่า อิหร่านไม่สนับสนุนการทำสงครามที่ส่งผลกระทบต่อพลเรือนในทุกรูปแบบ แต่กรณีสงครามในยูเครน หากรัสเซียซึ่งมีความเข้มแข็งและเป็นอิสระ ไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มทำสงครามก่อน องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ก็อาจใช้ประเด็นไครเมียเป็นข้ออ้างเพื่อเริ่มทำสงครามในยูเครนเพื่อต่อต้านรัสเซียเช่นกัน นอกจากนี้ผู้นำสูงสุดอิหร่านระบุด้วยว่า ปัจจุบันสหรัฐฯ และชาติตะวันตก อ่อนแอลง เห็นได้จากการดำเนินนโยบายต่อภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมถึงซีเรีย อิรัก เลบานอน และปาเลสไตน์ ของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก มีประสิทธิภาพน้อยลง แม้ว่าจะมีการพยายามและสนับสนุนด้านการเงินอย่างมากก็ตาม ขณะเดียวกันก็ย้ำว่า การดำเนินนโยบายแบบสับปลับของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ทำให้อิหร่านกับรัสเซียยังจำเป็นต้องระมัดระวังการดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และชาติตะวันตก
บริษัทน้ำมันแห่งชาติบราซิล (Petrobras) แถลงว่าบราซิลลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงหน้าโรงกลั่น โดยลดราคาน้ำมันเบนซินร้อยละ 5 ตั้งแต่ 20 ก.ค.65 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงครั้งแรกตั้งแต่ปี 2564 ขณะที่นักวิเคราะห์ด้านพลังงานคาดว่าประธานาธิบดีจาอีร์ โบลโซนาโรดำเนินมาตรการกดดันบริษัทน้ำมันเชื้อเพลิงให้ลดราคาน้ำมันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีบราซิลในต.ค.65 รวมทั้งดำเนินมาตรการลดราคาน้ำมันอื่นๆ ได้แก่ ลดราคาภาษีน้ำมันเชื้อเพลิง และอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ผู้ขับขี่รถบรรทุก
สำนักข่าว AP อ้างรายงานของ Amnesty International (AI) เมื่อ 20 ก.ค. 65 ว่า กองทัพเมียนมากำลังก่ออาชญากรรมสงคราม ด้วยการวางทุ่นระเบิดขนาดใหญ่รอบหมู่บ้านในรัฐคะยาใกล้ชายแดนไทย โดยทหารเมียนมาวางทุ่นระเบิดบนถนน ทุ่งนา และโบสถ์ ในหมู่บ้านกว่า 20 แห่ง ซึ่งส่งผลให้พลเรือนเสียชีวิตจากการเหยียบทุ่นระเบิดแล้วอย่างน้อย 20 คน และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ข้อมูลของ AI สอดคล้องกับข้อมูลของกลุ่มสิทธิมนุษยชนกะเหรี่ยง (Karenni Human Rights Group) ที่ระบุเมื่อต้น ก.ค.65 ว่า กองทัพเมียนมาติดตั้งทุ่นระเบิดในหลายพื้นที่ของรัฐคะยา ทั้งนี้ การใช้ทุ่นระเบิดมีขึ้นในห้วงที่กองทัพเมียนมาต่อสู้กับกองกำลังติดอาวุธชาติพันธ์กะเหรี่ยงเข้มข้นขึ้น หลังจากการเกิดรัฐประหารเมื่อ ก.พ. 64 อย่างไรก็ตาม ประชาคมระหว่างประเทศเผชิญความท้าทายในการกดดันเมียนมาประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเมียนมาไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยห้ามใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Anti-Personnel Mine Ban Convention) จึงยังมีการใช้ทุ่นระเบิดเพื่อปฏิบัติการทางการทหาร
สำนักข่าว Global Times รายงานเมื่อ 19 ก.ค. 65 ว่า ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ของรัสเซีย เยือนกรุงเตหะราน อิหร่าน เพื่อหารือกับประธานาธิบดีอิหร่าน และประธานาธิบดีตุรเคีย ทั้งในแบบทวิภาคีและไตรภาคี โดยผู้นำทั้งสามจะกระชับความสัมพันธ์ในด้านพลังงาน การขนส่ง การค้า และการพัฒนา รวมถึงการส่งออกธัญพืชของยูเครน ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน และส่งผลให้ทั่วโลกเผชิญภาวะขาดแคลนอาหาร อนึ่ง การเยือนอิหร่านครั้งนี้ เป็นการเดินทางไปต่างประเทศครั้งที่สองของประธานาธิบดีปูติน ตั้งแต่บุกยูเครน ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและประชาคมระหว่างประเทศอย่างมาก เนื่องจากประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน ของสหรัฐฯ เพิ่งเสร็จสิ้นการเยือนตะวันออกกลางเมื่อกลาง ก.ค.65 ส่งผลให้การเยือนของประธานาธิบดีปูติน ครั้งนี้ เหมือนเป็นการตอบโต้สหรัฐฯ ที่พยายามจะขยายอิทธิพลในภูมิภาคตะวันออกกลาง
สำนักข่าว Reuters รายงานเมื่อ 20 ก.ค. 65 ว่า นายจ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวว่า จีนจะใช้มาตรการที่เด็ดขาดเพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน หากนางแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เยือนไต้หวัน และสหรัฐฯ ต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อผลลัพธ์ที่จะตามมา ท่าทีดังกล่าวมีขึ้นหลังจาก สำนักข่าว Financial Times รายงานว่า นางเปโลซีจะเยือนไต้หวันใน ส.ค.65 ทั้งนี้ ไต้หวันเผชิญแรงกดดันจากจีนเพิ่มขึ้น และเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯ สนับสนุนไต้หวันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สมาชิกพรรคเดโมแครตบางส่วนห่วงกังวลและมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับความเหมาะสมในการเยือนไต้หวันของนางเปโลซี เนื่องจากอาจทำให้บรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนทวีความตึงเครียด
หนังสือพิมพ์โชซ็อนของเกาหลีใต้รายงานเมื่อ 20 ก.ค.65 ว่า เกาหลีใต้ทดสอบการบินของเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียง KF-21 หรือ Boramae ครั้งแรกเมื่อ 19 ก.ค.65 โดยเครื่องบินต้นแบบใช้เวลาบินทดสอบระบบการทำงานพื้นฐาน 33 นาที และบรรทุกขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ Meteor ที่ผลิตในยุโรปจำนวน 4 ลูก ทำความเร็วประมาณ 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทั้งนี้ บ.KF-21 ติดตั้งระบบเรดาร์แบบ Electronically scanned array และระบบที่มีการทำงานคล้ายกับ บ.Stealth เกาหลีใต้มีแผนจะทดสอบบินเครื่องบินต้นแบบ KF-21 จำนวน 6 ลำ ทั้งหมด 2,200 เที่ยวภายในปี 2569 อนึ่ง เกาหลีใต้จะต้องจัดสรรงบประมาณ 8.8 ล้านล้านวอน หรือ 6,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1 เหรียญสหรัฐ = 1,312 วอน) สำหรับการพัฒนาขั้นแรก และอีก 700,000 ล้านวอน…
สำนักข่าว Reuters รายงานเมื่อ 20 ก.ค.65 ว่า ศาลรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียมีมติยกคำร้องที่ขอให้มีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายยาเสพติด เพื่อให้สามารถใช้กัญชาในการรักษาทางการแพทย์ โดยคำวินิจฉัยของศาล ระบุว่า จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดและน่าเชื่อถือเพียงพอสอดรับกับคำร้องดังกล่าว อย่างไรก็ดี ศาลได้เรียกร้องไปยังรัฐบาลอินโดนีเซีย ให้ดำเนินการศึกษาการใช้กัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการสาธารณสุขทันที ซึ่งรัฐสภาของอินโดนีเซียตอบรับว่าจะมีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ เพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ คำร้องขอผ่อนคลายเพื่อใช้กัญชาทางการแพทย์เกิดขึ้นหลังจากสตรี 3 คน ซึ่งมีบุตรที่มีภาวะสมองพิการ ร่วมกันยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2560 โดยอ้างเหตุผลว่า การไม่อนุญาตให้ประชาชนมีสิทธิใช้ยาเสพติดเนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์ ถือเป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเข้าถึงบริการสุขภาพ และได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขณะที่สำนักงานยาเสพติดแห่งชาติของอินโดนีเซีย ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการผลักดันให้ใช้กัญชาเพื่อการแพทย์อย่างถูกกฎหมายว่า แนวทางดังกล่าวจะทำให้อินโดนีเซียกลายเป็นแหล่งดึงดูดผู้ลักลอบค้ายาเสพติด และทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันอินโดนีเซียกำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 ตามกฎหมายยาเสพติดปี 2552 และยังคงไม่อนุญาตให้ประชาชนบริโภคกัญชา รวมถึงการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์
นาย Nasser Kanani โฆษก กต.อิหร่าน แถลงเมื่อ 17 ก.ค.65 ตอบโต้ประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน ของสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า อิหร่านดำเนินกิจกรรมที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือแห่งรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council -GCC) และประเทศอาหรับในตะวันออกลาง หรือ GCC+3 Summit ซึ่งมีผู้นำบาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) จอร์แดน อียิปต์ และอิรัก เข้าร่วมประชุมกับประธานาธิบดีไบเดน ที่เมืองเจดดาห์ ซาอุดีอาระเบีย เมื่อ 16 ก.ค.65 โดยระบุว่าข้อกล่าวหาดังกล่าว ไร้เหตุผลและไม่สามารถยอมรับได้ พร้อมแถลงตอบโต้ที่ประชุม GCC+3 Summit ที่ออกแถลงการณ์ร่วม มีเนื้อหาย้ำถึงความพยายามทางการฑูตเพื่อป้องกันไม่ให้อิหร่านพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และเรียกร้องให้เพิ่มขีดความสามารถในการป้องปรามภัยคุกคามจากอากาศยานไร้คนขับของอิหร่านที่เพิ่มขึ้น โดยระบุว่า เป็นข้อกล่าวหาเท็จและใช้กระแสหวาดกลัวอิหร่าน (Iranophobia) ปลุกปั่นให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทั้งนี้ นาย Kanani ระบุด้วยว่า สหรัฐฯ…