INT Podcast EP 47 : อัฟกานิสถานกับเจ้าชายแฮร์รี : ปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลอ่อนไหว
พบกับ INT Podcast EP 47 : อัฟกานิสถานกับเจ้าชายแฮร์รี : ปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลอ่อนไหว มารับฟังสรุปสถานการณ์และมุมมองของพวกเรากันครับ!!!
พบกับ INT Podcast EP 47 : อัฟกานิสถานกับเจ้าชายแฮร์รี : ปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลอ่อนไหว มารับฟังสรุปสถานการณ์และมุมมองของพวกเรากันครับ!!!
บริษัท Meta Platforms เจ้าของสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กยินยอมชำระค่าชดเชยจำนวน 725 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อยุติการดำเนินคดีแบบกลุ่มในข้อกล่าวหาว่าเฟซบุ๊กอนุญาตให้บุคคลที่สามเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน โดยมีบริษัท Cambridge Analytica เป็นหนึ่งในบริษัทที่เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานบนเฟซบุ๊กด้วย
แฮกเกอร์ได้ขายชุดข้อมูลส่วนบุคคลขนาดใหญ่ที่ขโมยมาจากผู้ใช้งานทวิตเตอร์ ได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล และข้อมูลสาธารณะ ตามฟอรั่มแฮกเกอร์และตลาดอาชญากรรมไซเบอร์ ซึ่งชุดข้อมูลเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในปี 2564 จากช่องโหว่ของเอพีไอทวิตเตอร์ ที่ให้ผู้ใช้ใส่ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และอีเมล เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชีทวิตเตอร์ นอกจากนี้กลุ่มแฮกเกอร์ยังใช้ เอพีไออีกเส้นทางหนึ่ง เพื่อขโมยข้อมูลสาธารณะจากบัญชีทวิตเตอร์ และเชื่อมโยงข้อมูลสาธารณะนี้เข้ากับอีเมล หรือเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว เพื่อสร้างประวัติของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ แม้ว่าทวิตเตอร์จะแก้ข้อผิดพลาดนี้เมื่อเดือนมกราคม 2565 แต่กลุ่มแฮกเกอร์ก็เริ่มปล่อยชุดข้อมูลที่สะสมมามากกว่า 1 ปี แบบไม่ได้ค่าตอบแทนใดๆ ข้อมูลรั่วไหลประกอบด้วยอีเมลจำนวนกว่า 200 ล้านผู้ใช้งานทวิตเตอร์ ถูกเผยแพร่บนฟอรั่มแฮกเกอร์ที่ได้รับความนิยม ด้วยมูลค่าประมาณ 2 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลที่ถูกปล่อยเก็บในรูปแบบไฟล์ RAR ประกอบด้วย 6 ไฟล์ข้อความ ขนาดไฟล์รวม 56 กิกะไบต์ ชุดข้อมูล 400 ล้านบัญชีที่หมุนเวียนในช่วงพฤศจิกายน 2564 ถูกทำความสะอาดเพื่อไม่ให้มีรายการเหมือนกัน เหลือประมาณ 221,608,279 บรรทัด แต่ยังพบว่ามีบัญชีเหมือนกันในข้อมูลรั่วไหลล่าสุด และได้ยืนยันว่า อีเมล ตรงตามรายการประวัติผู้ใช้งานทวิตเตอร์หลายรายการ แต่ชุดข้อมูลทั้งหมดยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างแน่ชัด ดังนั้นชุดข้อมูลดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับที่ไม่พบบัญชีผู้ใช้หลายรายการในการรั่วไหลครั้งนี้ Bleeping Computer…
รายงานของบริษัทความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ Darktrace ได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการโจมตีที่เกี่ยวข้องกับภาคพลังงาน การดูแลสุขภาพ และการค้าปลีกในปี 2565 แสดงให้เห็นว่า แฮกเกอร์กำลังปรับกลยุทธ์ของตนให้เหมาะสมโดยพิจารณาจากประสิทธิภาพและความคุ้มค่า โดยนาย Toby Lewis หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ภัยคุกคามระดับโลกที่ Darktrace ได้เปิดเผยแนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์ 3 ประเด็น
Wednesday ซีรี่ย์สืบสวน-แฟนตาซี จาก Netflix นำการ์ตูน Addam’s Family กลับมาเล่าเรื่องผ่านมุมมองของเวนส์เดย์ ลูกสาวของตระกูล ซีรี่ย์เรื่องดังกล่าวได้รับความนิยม และถูกนำมากล่าวถึง ทั้งด้านศิลปะและประเด็นสังคมที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์ ในบทความนี้จึงชวนดู Wednesday อีกครั้ง ผ่านมุมมองความมั่นคง
I’m so sick of running as fast as I can ฉันเบื่อกับการที่ต้องวิ่งเร็วสุดฝีเท้าอยู่ตลอด Wondering if I’d get there quicker ฉันสงสัยว่าฉันจะไปถึงเป้าหมายเร็วกว่านี้ไหม? If I was a man ถ้าฉันเป็นผู้ชาย ช่วงแรกของท่อนคอรัสเพลง The Man (2562) ของเทย์เลอร์ สวิฟต์ สะท้อนมุมมองเรื่องความเสมอภาคทางเพศ เทย์เลอร์กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการเขียนเพลงว่า “สังคมเรายังมีประเด็นเรื่องสองมาตรฐาน (double standard) อยู่” เธอเล่าต่อว่าเธอคิดมาตลอดว่าอยากถ่ายทอดประเด็นความไม่เสมอภาคทางเพศ รวมถึงประสบการณ์การทำงานกว่า 10 ปีของเธอ เนื้อหาสำคัญของเพลง คือ ถ้าหากเป็น “ผู้ชาย” ทุกการกระทำของเธอจะได้รับการยอมรับ และได้รับการยกย่องอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะมีความสัมพันธ์ฉันคนรักที่ล้มเหลวกี่ครั้ง หรือการแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราด ถ้าเธอเป็นผู้ชายก็คงไม่เป็นอะไร แต่เมื่อเป็นผู้หญิง ก็จะถูกตัดสินในทันทีทันใด เทย์เลอร์นำเสนอประเด็นสองมาตรฐานที่ชัดเจน ในท่อนบริดจ์ของเพลง ในห้วงเวลาราว 10…
กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจีน ประกาศเมื่อ 20 ม.ค.66 ว่าจะอนุญาตให้บริษัทท่องเที่ยวจัดการท่องเที่ยวต่างประเทศให้ชาวจีนแบบหมู่คณะตั้งแต่ 6 ก.พ.66 โดยเป็นโครงการนำร่องที่ทางการจีนอนุญาตให้เฉพาะ 20 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา มัลดีฟส์ ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ลาว สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ เคนยา แอฟริกาใต้ รัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์ ฮังการี นิวซีแลนด์ ฟิจิ คิวบา และอาร์เจนตินา credit ภาพ : VOA
เว็บไซต์ Mint ของอินเดีย รายงานเมื่อ 20 ม.ค.66 อ้างถ้อยแถลงของนาย Ashwini Vaishnaw รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศของอินเดีย ระหว่างร่วมกิจกรรมคู่ขนานการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่า ประชาชนอินเดียทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Banking) เป็นวงกว้าง สะท้อนจากมูลค่าการทำ E-Banking ของอินเดียในห้วง ธ.ค.65 มีมูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่ามูลค่า E-Banking ของประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส ขณะเดียวกันประชากรอินเดียยังใช้งานระบบ E-Banking แบบ Unified Payments Interface (UPI) ของรัฐบาลมากกว่าร้อยละ 40 ของปริมาณ E-Banking ทั้งหมดในประเทศ ซึ่งจะเอื้อให้ประชาชนบริโภคสินค้าและบริการจากวิสาหกิจขนาดย่อมภายในประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้นในระยะต่อไป นอกจากนี้ นาย Ashwini Vaishnaw ยังใช้โอกาสช่วงการประชุม WEF…
สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (Federal Bureau of Investigation – FBI) เผยแพร่ถ้อยแถลงของนายคริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการ FBI ระหว่างการประชุม World Economic Forum (WEF) ในประเด็นความมั่นคงทางไซเบอร์ ที่ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ 19 ม.ค.66 ว่า การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) ของรัฐบาลจีนขัดแย้งต่อหลักนิติรัฐ เนื่องจากสร้างขึ้นโดยอาศัยข้อมูลที่มีความอ่อนไหวและได้มาจากการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา และพัฒนาขึ้นโดยมีเป้าประสงค์ในการจารกรรมข้อมูลทางไซเบอร์และทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการสอดส่องและคุกคามกลุ่มเห็นต่างทั้งในและนอกประเทศ ทั้งนี้ สหรัฐฯ แสดงความกังวลต่อแผนการพัฒนา AI ของจีนตั้งแต่ ต.ค. 64 ที่ฝ่ายข่าวกรองสหรัฐฯ แจ้งเตือนนักธุรกิจ นักวิชาการและเจ้าหน้าที่รัฐในภาคอุตสาหกรรมสำคัญถึงความเสี่ยงการถูกจารกรรมข้อมูลจากการลงทุนหรือจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญของจีน Credit ภาพ : VOA
หนังสือพิมพ์โคเรียเฮรัลด์รายงานเมื่อ 20 ม.ค.66 ว่า ในวันเดียวกัน นายอี โด-ฮุน รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศเกาหลีใต้ลำดับที่ 2 เชิญนาย Daisuke Namioka อัครราชทูตด้านเศรษฐกิจประจำ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น/โซล เข้าพบ เพื่อประท้วงอย่างเป็นทางการต่อกรณีที่ญี่ปุ่นยื่นเรื่องต่อองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational Scientific and Cultural Organization- UNESCO) ให้รับรอง Sado Island Gold Mines เป็นมรดกโลกอีกครั้ง ก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นเคยยื่นเรื่องเมื่อ ก.พ.65 แต่ยังไม่ได้รับการรับรอง เนื่องจากข้อมูลประกอบยังไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ เกาหลีใต้ประท้วงญี่ปุ่นเนื่องจากญี่ปุ่นเคยบังคับใช้แรงงานชาวเกาหลีใต้อย่างน้อย 1,500 คน ให้ทำงานในเหมืองดังกล่าว ในช่วงที่ญี่ปุ่นปกครองเกาหลีใต้ระหว่างปี 2453-2488 โดยกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ระบุว่า เกาหลีใต้เสียใจที่ญี่ปุ่นยื่นคำร้องต่อ UNESCO ให้รับรองเหมืองทองและเงิน Sado เป็นมรดกโลกอีกครั้ง โดยเกาหลีใต้จะร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศและ UNESCO เพื่อสะท้อนประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ รวมถึงความเจ็บปวดของผู้ที่ถูกบังคับใช้แรงงานในช่วงสงคราม Credit ภาพ :…