ในช่วงเวลาที่นักลงทุนรายย่อยและรายใหญ่กำลังอยู่ในภาวะวิตกกังวลถึงความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา(Fed) จะใช้ไม้แข็งในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (policy rate) ไว้ที่เพดาน 5-6% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ จนสถานการณ์เศรษฐกิจอาจบานปลายไปสู่ภาวะถดถอย (recession) ภายในสิ้นปี 2567 ได้ ก็เป็นธรรมดาที่บริษัทเอกชนหลายๆแห่งจะพยายามดันผลิตภัณฑ์ทางการเงินความเสี่ยงต่ำ แต่ได้ผลตอบแทนระหว่าง 3-5% หรือ 6-8% ตามระยะเวลาที่กำหนด อย่างเช่น ตราสารหนี้/หุ้นกู้ (corporate bonds) ออกมาสู่ตลาด เพื่อระดมเงินทุนและกระแสเงินสดไปใช้ต่อยอดขยายธุรกิจ แทนการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันทางการเงินที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่า ซึ่งการจะซื้อหุ้นกู้ในปัจจุบันนั้นก็ง่ายแสนง่าย ไม่ว่าจะผ่านแอปพลิเคชั่นของธนาคารต่างๆที่มีสถานะเป็นตัวกลางในการซื้อขายหรือติดต่อที่ตัวแทนออนไลน์ จนหลายๆครั้งหุ้นกู้ที่ถูกดันออกมาขายนั้นถูกซื้อไปจนหมดภายในไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงแรกที่เปิดลงทะเบียน แต่ขึ้นชื่อว่า “หุ้นกู้” ผลิตภัณฑ์การเงินความเสี่ยงต่ำ ก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงไปเสียทีเดียว เพราะก็มีหลายกรณีอยู่เหมือนกันที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ท่าทางมีความน่าเชื่อถือ กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้สูงกว่า 5% แต่พอเอาเข้าจริงๆ เมื่อถึงเวลากลับไม่มีขีดความสามารถในการจ่ายเงินคืน กลายเป็นคดีความผิดนัดชำระหนี้ (debt default) ไปถึงในชั้นศาล จนนักลงทุนต่างเกิดอาการหวาดเสียวไปตามๆกัน เพราะต้องรอบริษัทเหล่านั้นไปหาแหล่งเงินกู้จากนอกประเทศมาจ่ายคืน ฉะนั้น ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจำพวกความเสี่ยงต่ำที่โฆษณาประชาสัมพันธ์กันอยู่ทุกวันนี้ จึงไม่ใช่จะเสี่ยงต่ำระดับร้อยละ 0 (Risk-Free) เสมอไป หากผู้ลงทุนไม่ได้ติดตามหรือศึกษาพื้นเพรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ทราบถึงข้อดีข้อเสีย และแนวทางในการจัดการบริหารความเสี่ยงให้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุด โดยประเด็นแรกที่อยากจะให้ตระหนักกันไว้เหนือสิ่งอื่นใดเลย…