พลีชีพเพื่อ (ความรุ่งเรือง) ของชาติ : ความเหมือนที่แตกต่างของนโยบายประชากรใน Plan 75 และ อิคิงามิ
ประชากร (Population) หนึ่งในสี่องค์ประกอบของความเป็นรัฐ นอกเหนือไปจากดินแดน (Territory) รัฐบาล (Government) และอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ทำให้ในแง่หนึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่าหากไม่มีประชากร ความเป็นรัฐก็จะก่อเกิดอย่างสมบูรณ์ไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรหากจำนวนประชากรเริ่มไม่สมดุลกับทรัพยากรที่ประเทศมีอยู่ ? Plan 75 วันเลือกตาย ภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่นของผู้กำกับหญิงฮายาคาวะ จิเอะ (Hayakawa Chie) เริ่มต้นด้วยฉากที่มีเค้าโครงจากเหตุการณ์จริงเมื่อปี 2559 ที่ชายคนหนึ่งก่อเหตุสังหารผู้พิการและผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในสถานดูแล Sagamihara จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 19 คน และบาดเจ็บ 26 คน โดยมีแรงจูงใจจากความคิดที่ว่าผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เหล่านี้ไม่ควรค่าที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป และการกระทำของเขาเป็นการทำไปอย่างกรุณา เพื่อประโยชน์แก่ญี่ปุ่นและโลก ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ต่อยอดเหตุการณ์ดังกล่าวร่วมกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ของญี่ปุ่นในปัจจุบันในแง่ของความกังวลต่อภาวะความเสี่ยงขาดแคลนแรงงาน รวมถึงการจัดสรรงบประมาณและสวัสดิการจำนวนมากเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้รัฐบาลออกโครงการ Plan75 ที่เปิดให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับการปลิดชีวิตตนเองหรือการการุณยฆาต (Euthanasia) ได้อย่างสมัครใจ โดยจะได้เงินชดเชยจำนวน 1 แสนเยน และสวัสดิการต่าง ๆ เพื่อใช้ในบั้นปลายชีวิต พร้อมกับที่รัฐบาลจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครไปจนถึงการฌาปนกิจ ในแง่หนึ่งโครงการนี้ก็เป็นไปโดย “ความสมัครใจ”…