“ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก…” ถ้อยคำนี้ปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเพลงนับว่าเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งที่มีบทบาทต่อสังคมไม่น้อยไปกว่าวรรณกรรมประเภทอื่น เพราะนอกจากให้ความบังเทิงแล้ว ยังได้สะท้อนปัญหาสังคมไว้อย่างแยบยล บทเพลงในแต่ละยุคแต่ละสมัยจึงมีความแตกต่าง เพราะสภาพแวดล้อมทางสังคมได้เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย สำหรับยุคบทเพลงเพื่อชีวิต นับว่าเกิดเป็นดนตรีแบบใหม่ร่วมกับศิลปะและวรรณกรรมที่สะท้อนการเมือง ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชนชั้น ปัญหาความยากจน ในห้วงปี พ.ศ. 2516 – 2519 ซึ่งเป็นยุคที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง จึงได้เกิดบทเพลงที่แฝงไปด้วยแนวความคิดต่าง ๆ และเริ่มกลับมาแพร่หลายมากขึ้นหลังจากนั้น….. ……..“นางงามตู้กระจก”เป็นเพลงในอัลบั้มเมดอินไทยแลนด์ ที่เป็นอัลบั้มชุดที่ 5 ของคาราบาว วางจำหน่ายเมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2527 ขับร้องโดย เทียรี่ เมฆวัฒนา แต่งโดยแอ๊ด คาราบาว เป็นเพลงที่บอกเล่าถึงความจำเป็นของการมาประกอบอาชีพนี้ โดยเฉพาะปัญหาความยากจน เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว หากเกิดเป็นหญิงในครอบครัวยากจน สายลมแห่งโชคชะตาก็อาจพัดพาไปดังในเพลง “นางงามตู้กระจก” ที่เล่าถึงการเข้าสู่ธุรกิจค้าประเวณีเพราะความจำกัดของโอกาสในชีวิตเมื่อทศวรรษ 2520 ซึ่งผู้หญิงวัยทำงานต้องรับภาระเลี้ยงดูทั้งเด็กและคนชราของครอบครัว ดังท่อนนึงของบทเพลง“ทอดถอนใจให้คำนึง หวังวันหนึ่งให้ผ่านไป เพี่อพ่อแม่เป็นอยู่สบาย น้องหญิงชายได้เล่าเรียน”…. ในยุคที่แอ๊ด คาราบาวแต่งเพลงนางงามตู้กระจก ตรงกับยุคที่ประเทศไทยไม่ได้มีนโยบายสาธารณะที่ช่วยเหลือประชาชนในหลายมิติเหมือนสังคมปัจจุบัน อาทิ มีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้ประคับประคองในการใช้ชีวิต นโยบายเรียนฟรี 15 ปีสำหรับเด็ก…