5 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กร
เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่องค์กรสมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและทำกำไรมากขึ้น บริษัท Gartner ได้ค้นพบ 5 เทคโนโลยีที่ควรจะปรับใช้กับองค์กรได้แก่
เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่องค์กรสมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและทำกำไรมากขึ้น บริษัท Gartner ได้ค้นพบ 5 เทคโนโลยีที่ควรจะปรับใช้กับองค์กรได้แก่
สำนักข่าว Tass รายงานอ้างทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซียเมื่อ 13 ก.ย.66 ว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เดินทางไปยังฐานปล่อยยานอวกาศวอสทอชนี คอสโมโดรม (Vostochny Cosmodrome) ในแคว้นอามูร์ ทางเขตตะวันออกไกลของรัสเซีย หลังจากร่วมประชุมเศรษฐกิจภูมิภาคตะวันออก (Eastern Economic Forum-EEF) ที่เมืองวลาดิวอสต๊อก ในวันเดียวกัน เพื่อพบกับนายคิม จ็อง-อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ และคณะ ผู้นำทั้งสองและคณะเยี่ยมชมฐานปล่อยจรวดรุ่น Soyuz-2 และจรวดแองการา (Angara) ก่อนที่จะหารือทวิภาคีในประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการค้า ประเด็นอ่อนไหวของทั้งสองประเทศ และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และสถานการณ์ระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี ยังไม่ปรากฏแถลงการณ์ร่วม ทั้งนี้ นายคิม จ็อง-อึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ เดินทางมาถึงรัสเซียด้วยรถไฟส่วนตัวเมื่อ 11 ก.ย.66 เป็นเยือนต่างประเทศครั้งแรกหลังสิ้นสุดการแพร่ระบาดของ COVID-19 และเป็นการเยือนรัสเซียในรอบกว่า 5 ปี (ก่อนหน้านี้ผู้นำทั้งสองฝ่ายเคยพบกันที่เมืองวลาดิวอสต็อกเมื่อ เม.ย.62)
สำนักข่าว RFA รายงานเมื่อ 13 ก.ย.66 อ้างข้อมูลจากองค์กร Cluster Munition Coalition ว่า กองทัพเมียนมาผลิตระเบิดลูกปราย (Cluster Munitions) จากอุตสาหกรรมภายในประเทศ และนำไปใช้ปราบปรามกองกำลังกลุ่มต่อต้านในหลายพื้นที่ของประเทศตั้งแต่ปี 2564 โดยเฉพาะการโจมตีฐานที่มั่นของกลุ่ม Karenni National Defense Force (KNDF) ในรัฐคะยา (ชายแดนด้านตรงข้าม จ.แม่ฮ่องสอน) ตั้งแต่ มี.ค.-มิ.ย.66 และการโจมตีใน จ.มินดัต รัฐชิน เมื่อ เม.ย.66 อย่างไรก็ดีนาย Thein Tun Oo ผู้อำนวยการศูนย์ Thayninga Institute for Strategic Studies ระบุว่ายังไม่มีหลักฐานที่กองทัพเมียนมาใช้อาวุธดังกล่าวต่อกลุ่มต่อต้าน ทั้งนี้ ระเบิดลูกปรายเป็นอาวุธร้ายแรงที่มีลักษณะเป็นระเบิดบรรจุลูกระเบิดขนาดเล็กไว้ภายในจำนวนมาก ซึ่งหากทิ้งลงจากเครื่องบิน ขีปนาวุธ หรือยิงโดยปืนใหญ่จากพื้นดินสู่พื้นที่เป้าหมายจะระเบิดกลางอากาศและปล่อยลูกระเบิดย่อยให้กระจายเป็นวงกว้าง ซึ่งมีประสิทธิภาพทำลายล้างสูง ทำให้ถูกสั่งห้ามใช้ในกว่า 120 ประเทศทั่วโลกที่ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปราย (Convention on Cluster…
นายนาชิดะ คาซูยะ (H.E. Mr. Nashida Kazuya) เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ณ กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมคารวะ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อ 13 ก.ย.66 โดยเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ณ กรุงเทพฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ผ่านมาทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดและร่วมมือในทุกมิติและทุกระดับ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นพร้อมขับเคลื่อนความร่วมมือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (Comprehensive Strategic Partnership-CSP) และพร้อมสานต่อความร่วมมือในด้านอุตสาหกรรมสีเขียว การเกษตร การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือ สนามบิน รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ณ กรุงเทพฯ ได้เชิญนายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น เข้าร่วมการประชุม ASEAN-Japan Commemorative Summit ณ กรุงโตเกียว ในห้วง พ.ย.66 ด้วย
สำนักข่าว VOA รายงานเมื่อ 13 ก.ย.66 ว่า นาย Sean Turnell อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจชาวออสเตรเลียของอองซานซูจี เรียกร้องให้ออสเตรเลียคว่ำบาตรธนาคารของเมียนมา เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ที่คว่ำบาตรธนาคารเมียนมา 2 แห่ง ได้แก่ Myanmar Foreign Trade Bank และ Myanmar Investment and Commercial Bank เพื่อจำกัดรายได้และการเข้าถึงเงินสกุลต่างประเทศของรัฐบาลทหารและกองทัพเมียนมา ทั้งนี้ นาย Turnell ถูกจับกุมและดำเนินคดีข้อหาละเมิดกฎหมายความลับแห่งรัฐและกฎหมายคนเข้าเมืองเมียนมา ทำให้ถูกคุมขังที่เรือนจำในเมียนมาตั้งแต่ ก.พ.64 ก่อนได้รับอภัยโทษและส่งกลับออสเตรเลียเมื่อ พ.ย.65
สำนักข่าว The Irrawaddy รายงานเมื่อ 13 ก.ย.66 ว่า กลุ่มโรฮีนจาติดอาวุธ Arakan Rohingya Salvation Army (ARSA) เริ่มกลับมาปฏิบัติการโจมตีในรัฐยะไข่ โดยก่อเหตุลักพาตัวและสังหารพลเรือน 1 คน ใน จ.บูทิด่อง ซึ่งเป็นเจ้าของเรือขนส่ง และคาดว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและขนส่งกำลังบำรุงให้กับกองทัพอาระกัน (AA) ซึ่งควบคุมพื้นที่อิทธิพลและมีอำนาจบริหารในรัฐยะไข่ ก่อนหน้านี้มีข่าวสารว่า กองทัพเมียนมาสนับสนุนให้สมาชิก ARSA ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 300 คน เดินทางข้ามแดนและเคลื่อนไหวบริเวณค่ายผู้อพยพ Cox’s Bazar ในบังกลาเทศ จ.หม่องดอ และ จ.บูทิด่อง ในรัฐยะไข่ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ ARSA ไม่ได้ก่อเหตุโจมตีอย่างรุนแรงตั้งแต่กองทัพเมียนมายึดอำนาจ เมื่อ ก.พ.64
สำนักข่าว Press TV รายงานเมื่อ 13 ก.ย.66 อ้างข้อมูลของกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Petroleum Exporting Countries-OPEC) ว่า อิหร่านยังคงผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยห้วง ส.ค.66 ผลิตน้ำมันได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับห้วง ก.ค.66 ที่อยู่ที่ประมาณ 2.85 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ตั้งแต่ ส.ค.66 อิหร่านเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของกลุ่ม OPEC รองจากซาอุดีอาระเบียและอิรัก และยังผลิตน้ำมันได้เพิ่มขึ้นมากที่สุดในกลุ่ม OPEC เนื่องจากได้รับการยกเว้นการลดกำลังการผลิตน้ำมันตามข้อตกลงร่วมระหว่างกลุ่ม OPEC และกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่ม OPEC (Non-OPEC) หรือ OPEC+ เมื่อ มิ.ย.66 นอกจากนี้การได้รับการยกเว้นลดกำลังการผลิตน้ำมันตามข้อตกลงดังกล่าว ยังส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบของอิหร่าน ห้วง ส.ค.66 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 87.58 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากห้วง ก.ค.66 ที่อยู่ที่ 81.48 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน…