The Intelligence Weekly Review (15/01/2023)
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
Nusantara ซึ่งในภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย แปลว่า หมู่เกาะ (Archipelago) เริ่มเป็นที่คุ้นเคยของผู้คนมากขึ้นในห้วง 2-3 ปีที่ผ่านมาว่า ชื่อนี้จะเป็นชื่อของเมืองหลวงแห่งใหม่ของอินโดนีเซียบนเกาะบอร์เนียว รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนจะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่แทนกรุงจาการ์ตา โดยประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซียประกาศแผนดังกล่าวเมื่อปี 2562 และต่อมามื่อปี 2565 รัฐสภาอินโดนีเซียก็ผ่านกฎหมายในการย้ายเมืองหลวงของประเทศ สาเหตุสำคัญของการย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซียมาจากความท้าทายทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่กรุงจาการ์ตากำลังเผชิญและมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นในอนาคต ทั้งปัญหาความแออัดของประชากรโดยประมาณการว่ามีประชาชนอย่างน้อย 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงจาการ์ตา ปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหาน้ำท่วม และที่สำคัญมากที่สุด คือ การที่กรุงจาการ์ตากำลังจะจมน้ำ จากการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ในเมืองในปริมาณที่มากเกินไป ข้อมูลในปัจจุบันชี้ว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ในกรุงจาการ์ตาจะจมน้ำในระดับที่รวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะเผชิญภาวะขาดแคลนน้ำภายในปี 2583 ขณะที่รายงานของธนาคารโลกระบุว่า พื้นที่กรุงจาการ์ตาจะลดระดับต่ำลงถึง 40-60 เซนติเมตรในปี 2568 เมื่อเทียบกับอัตราในปี 2551 ดังนั้น อินโดนีเซียจึงจำเป็นต้องเตรียมกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการปรับตัวและเตรียมรับมือกับปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ กรุงจาการ์ตายังเผชิญปัญหามลพิษทางน้ำมากมาย และน้ำใต้ดินส่วนใหญ่ที่ประชาชนใช้ก็เต็มไปด้วยสารปนเปื้อน Nusantara เมืองหลวงแห่งใหม่ของอินโดนีเซียตั้งอยู่ระหว่างเขตเปอนาจัมปาเซร์เหนือ และเขตกูไตการ์ตาเนอการา ในจังหวัดกาลิมันตันตะวันออก บนเกาะบอร์เนียว (หรือเกาะกาลิมันตัน) ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียตั้งเป้าให้ Nusantara เป็นศูนย์กลางทางการเมืองและการปกครองในห้วงปลายปี…
เว็บไซต์ The Edge Markets รายงานเมื่อ 12 ม.ค.66 อ้างถ้อยแถลงของดาโต๊ะ ซรี ฟาดิลละห์ ยูโซฟ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการเพาะปลูกและสินค้าโภคภัณฑ์ของมาเลเซียว่า มาเลเซียอาจพิจารณาระงับการส่งออกน้ำมันปาล์มไปยังสหภาพยุโรป (European Union -EU) เพื่อตอบโต้กรณี EU ออกกฎหมายใหม่ที่มุ่งปกป้องการทำลายป่าด้วยการห้ามซื้อขายน้ำมันปาล์ม ซึ่งมาเลเซียมองว่าเป็นการกีดกันทางการค้าที่ไม่ยุติธรรม และองค์การการค้าโลก (World Trade Organization -WTO) ควรต้องเข้ามาตรวจสอบ ทั้งนี้ มาเลเซียจะหารือกับอินโดนีเซียในประเด็นข้างต้นในห้วงปลาย ม.ค.66 ในฐานะที่ทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซียเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก คิดเป็นร้อยละ 80 ของอุปทานน้ำมันปาล์มของโลก Credit Pic : Joshua Paul/Bloomberg
กระทรวงการต่างประเทศเมียนมา เผยแพร่แถลงการณ์เมื่อ 12 ม.ค.66 ย้ำจุดยืนว่า การดำเนินการตามฉันทามติของอาเซียน 5 ข้อ (5PC) เพื่อฟื้นฟูระบบประชาธิปไตยแบบหลายพรรคจะต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญเมียนมา ในฐานะรัฐที่มีอธิปไตยและเป็นอิสระ พร้อมกับเรียกร้องให้อาเซียนไม่ดำเนินปฏิสัมพันธ์กับองค์กรที่รัฐบาลเมียนมาประกาศให้เป็นกลุ่มก่อการร้าย นัยถึงรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Government -NUG) ท่าทีของเมียนมามีขึ้นหลังจากนางเร็ตโน มัรซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย แถลงว่า อินโดนีเซียเตรียมตั้งสำนักงานผู้แทนพิเศษ (Office of Special Envoy) เพื่อสานต่อการดำเนินงานของอาเซียนในประเด็นเมียนมา และจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อขับเคลื่อน 5PC เฉพาะอย่างยิ่งการหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน Credit Pic : AFP
หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ รายงานเมื่อ 11 ม.ค. 66 อ้างผลการพบหารือระหว่างนายเชิดเกียรติ อัตถากร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ กับนาง Ban Sreymon ผู้ว่าราชการจังหวัด(ผวจ.)ไพลิน เมื่อ 9 ม.ค. 66 เพื่อกระชับความสัมพันธ์และหารือแนวทางการส่งเสริมการค้าระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะการค้าชายแดนและสินค้าเกษตร ผวจ.ไพลินกล่าวชื่นชม สถานเอกอัครราชทูต(สอท.)ไทย/กัมพูชา ว่าความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ดีระหว่างกันช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ชายแดน โดยมีกลไกความร่วมมือ อาทิ คณะกรรมการชายแดนทั่วไปกัมพูชา-ไทย (General Border Committee – GBC) คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมกัมพูชา-ไทย (Joint Border Commission – JBC) และการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน ที่ช่วยแก้ไขปัญหาชายแดนระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ รายงานของ สอท.กัมพูชา/ไทย ระบุว่าการค้าทวิภาคีกัมพูชา-ไทย เมื่อห้วง ม.ค.-พ.ย. 65 มีมูลค่ามากกว่า 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จากเมื่อปี 2564 โดยกัมพูชาส่งออกมากกว่า…
สำนักข่าว Irrawaddy รายงานเมื่อ 12 ม.ค.66 ว่า กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (ASEAN Parliamentarians for Human Rights-APHR) เรียกร้องให้ไทยสืบสวนและดำเนินคดีกับนายอ่องเปโซน และนางขิ่นติริเตะโมน บุตรชายและบุตรสาวของ พล.อ.อาวุโส มินอองไลง์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมา และประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (State Administration Council- SAC) หากพบความผิด หลังจากพบเอกสารการถือครองกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ยึดได้จากบ้านพักของนายทุนมินลัต ซึ่งถูกทางการไทยจับกุมและดำเนินคดีข้อหายาเสพติด ฟอกเงิน และก่ออาชญากรรมข้ามชาติ เมื่อ ก.ย.65 ทั้งนี้ APHR ระบุว่า นายทหารระดับสูงของเมียนมาเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจผิดกฎหมายมาหลายทศวรรษ ที่สำคัญคือยาเสพติด ทั้งยังมีการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีด้วย ขณะที่นายทุนมินลัตเป็นเจ้าของบริษัท Star Sapphire Group ซึ่งดำเนินธุรกิจร่วมกับบริษัทของกองทัพเมียนมาทั้งในเครือ Myanma Economic Holdings Ltd. (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) Credit Pic :…
ขอบคุณภาพประกอบจาก : sitthiphong – stock.adobe.com ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ (University of Massachusetts Amherst) ในสหรัฐฯ ได้ทำการวิจัยเรื่องการคิดค้นนวัตกรรมเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวพลังงานที่เหลือใช้ จากการรั่วไหลของคลื่นไฟฟ้าอ่อนๆ ของร่างกายมนุษย์ ในรูปแบบของคลื่นวิทยุ (RF-Signal) ซึ่งเป็นระบบการสื่อสารด้วยแสงสว่างที่มองเห็นได้ (Visible Light Communication-VLC) เพื่อใช้กับอุปกรณ์สวมใส่ โดยใช้เทคโนโลยี 6G ผ่านการทดลองออกแบบเสาอากาศ เพื่อดักรับพลังงานผ่านตัวกลางชนิดต่างๆ อาทิ พลาสติก กระดาษแข็ง ไม้ เหล็ก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งแบบเปิดและปิดการใช้งาน รวมไปถึงร่างกายของมนุษย์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ ร่างกายมนุษย์สามารถเก็บเกี่ยวพลังงานได้มากที่สุด การสื่อสารด้วยแสงที่มองเห็นได้ หรือ VLC คือ เทคโนโลยีใหม่ในด้านการสื่อสารไร้สาย ที่ใช้แสงที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้เป็นตัวกลางนำสัญญาณ ถูกพัฒนามาจากการสื่อสารแบบอินฟาเรด พบมากในอุปกรณ์จำพวกรีโมท เนื่องจากข้อจำกัดของแสงอินฟาเรดที่กำลังส่งสูง ๆ แสงอินฟาเรดจะอันตรายต่อตาของมนุษย์ได้ การสื่อสารด้วยแสงที่มองเห็นจึงได้ถูกนำมาพัฒนาต่อ ภายหลังการทดลองได้มีการผลิตอุปกรณ์สวมใส่ราคาประหยัดที่ใช้สำหรับเก็บเกี่ยวพลังงานในรูปแบบกำไลข้อมือ หรือที่เรียกว่า Bracelet+ นอกจากรูปแบบของกำไลข้อมือแล้ว ยังสามารถดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบของแหวน เข็มขัด กำไลข้อเท้า…
พบกับรายการ The Intelligence Cyber News Report ข่าวสารสถานการณ์ไซเบอร์ และเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ที่นำมาให้ท่านผู้ฟังอัพเดตสถานการณ์กันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด สำหรับหัวข้อองสัปดาห์นี้พบกับ
1. กลุ่มแฮ็กเกอร์แพร่กระจายมัลแวร์ Janicab ผ่านบริการสาธารณะ
2. Google เพิ่มการรองรับ Passkeys สำหรับลงชื่อเข้าใช้แบบไม่มีรหัสให้กับ Chrome
3. Cuba ransomware โจมตีทางไซเบอร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสองเท่าในปี 2565
4. เกาหลีเหนือใช้แพลตฟอร์มฟรีแลนซ์เพื่อหาเงินทุนในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
5. NSA แจ้งเตือนแฮ็กเกอร์ APT5
เว็บไซต์กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อ 10 ม.ค.66 ว่า สหรัฐฯ มีแผนจะให้ทหารยูเครนจำนวน 90 – 100 คน เข้ารับการฝึกเพื่อใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot ที่ฐานทัพ Fort Sill รัฐโอคลาโฮมา โดยคาดว่าจะเริ่มฝึกได้อย่างเร็วที่สุดภายในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ เมื่อ ธ.ค.65 ประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน อนุมัติการส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot ให้กับยูเครน ภายหลังจากที่รัสเซียยกระดับการโจมตียูเครน โดยมุ่งเน้นทำลายโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ โดยเฉพาะด้านพลังงาน ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีเป้าหมายจะเสริมสร้างแสนยานุภาพให้กับยูเครนเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากรัสเซีย ตลอดจนทวงคืนดินแดนที่ถูกรัสเซียผนวกไป Credit Pic : Alexandra Shea / U.S. Army / nbcnews.com
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ระบุว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในจีนอย่างต่อเนื่อง จะไม่ส่งผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในยุโรป โดย ดร. Hans Kluge หัวหน้า WHO ประจำยุโรป ระบุว่า ทั้งสองสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในจีนตรวจพบอยู่แล้วในยุโรป ตามข้อมูลการจัดลำดับพันธุกรรมไวรัสที่ได้รับจากทางการจีน และยังเรียกร้องให้จีนแบ่งปันข้อมูลโดยละเอียดอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งการจำกัดการเดินทางเข้าประเทศในยุโรปของผู้ที่เดินทางมาจากจีนไม่สมเหตุสมผล เพราะมาตรการป้องกันการเดินทางเข้าประเทศควรอยู่บนพื้นฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และไม่เลือกปฏิบัติ Credit Pic : WHO/Arete/Florion Goga /news.un.org