พาเที่ยวเขื่อนขุนด่านปราการชล นครนายก
The intelligence จะพาเที่ยวใกล้ ๆ กรุงเทพ ที่เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก อีกหนึ่งสถานที่เที่ยวที่มีธรรมชาติที่สวยงาม ประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ และเดินทางง่าย
The intelligence จะพาเที่ยวใกล้ ๆ กรุงเทพ ที่เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก อีกหนึ่งสถานที่เที่ยวที่มีธรรมชาติที่สวยงาม ประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ และเดินทางง่าย
สำนักข่าวซินหัว รายงานเมื่อ 9 ม.ค.67 ว่า นายหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน แถลงเป้าหมายทางการทูตของจีนในปี 2567 โดยจีนจะดำเนินนโยบายการต่างประเทศด้วยความมั่นใจ พึ่งพาตนเอง ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประเทศมหาอำนาจที่มีความรับผิดชอบ และแสดงบทบาทนำเชิงยุทธศาสตร์ทางการทูตระหว่างประเทศอย่างเต็มที่ ปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาติ สร้างสภาพแวดล้อมภายนอกและบรรลุเป้าหมายรูปแบบการพัฒนาแบบใหม่ที่มีคุณภาพสูง รวมทั้งเสริมสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือระดับโลก เฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินตามฉันทามติระหว่างผู้นำจีนและสหรัฐฯ เสริมสร้างความไว้วางใจและผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างจีนกับรัสเซีย ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระดับสูงและการสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์กับสหภาพยุโรป เพิ่มพูนความเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำงานร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ และกลุ่ม BRICS นอกจากนี้ จีนจะผลักดันแนวคิดต่าง ๆ ที่จีนริเริ่ม ทั้งข้อริเริ่มการพัฒนาโลก (Global Development Initiative-GDI) ข้อริเริ่มด้านความมั่นคงโลก (Global Security Initiative-GSI) และข้อริเริ่มอารยธรรมโลก (Global Civilization Initiative-GCI) พร้อมกับยกระดับคุณภาพและขยายขอบเขตของสาขาความร่วมมือภายใต้ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative – BRI) กับประเทศต่าง ๆ
นางเร็ตโน มัรซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวในการแถลงข่าวประจำปีของกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียที่บันดุง เมื่อ 8 ม.ค.67 ว่า ถึงแม้จะหมดวาระประธานอาเซียนเมื่อปี 2566 แต่อินโดนีเซียยังคงให้ความสำคัญกับการคลี่คลายวิกฤติเมียนมา ผ่านการผลักดันให้มีการปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อ และการขยายช่องทางติดต่อทางการทูตกับผู้เกี่ยวข้อง ต่อจากในห้วงที่รับตำแหน่งประธานอาเซียน ซึ่งอินโดนีเซียได้พบปะกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นเมียนมามากถึง 265 ครั้ง นอกจากนี้ นางเร็ตโน มัรซูดี ยังเห็นว่าความขัดแย้งในเมียนมามีความเกี่ยวพันกับการหลั่งไหลของผู้อพยพชาวโรฮีนจา ขณะที่เสถียรภาพและความเป็นประชาธิปไตยของเมียนมา เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สถานการณ์ผู้อพยพคลี่คลาย
เว็บไซต์ The Business Times รายงานเมื่อ 9 ม.ค.67 กรณีที่นายอึง เอ็น เฮ็น รัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ ตอบข้อซักถามในที่ประชุมรัฐสภาสิงคโปร์เกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งในทะเลแดง ในวันเดียวกันนี้ว่า ปัจจุบันสิงคโปร์ได้รับผลกระทบอย่างจำกัดจากกรณีดังกล่าว เนื่องจากสิ่งของจำเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะอาหารและยาไม่ได้ขนส่งผ่านเส้นทางการเดินเรือดังกล่าว ขณะที่ผู้ผลิตสินค้าในสิงคโปร์ยังมีสินค้าคงคลังสำรองเพียงพอเพื่อป้องกันการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน แม้ว่าส่วนใหญ่จะกังวลเกี่ยวกับต้นทุนทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ นายอึง ยังระบุด้วยว่า สิงคโปร์จะเข้าร่วมกองกำลัง Operation Prosperity Guardian ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความร่วมมือกองเรือเฉพาะกิจผสมที่ 153 ภายใต้กองกำลังผสมทางทะเล (Combined Maritime Forces-CMF) ที่มีสมาชิกรวม 39 ประเทศ เป้าหมายเพื่อรักษาเส้นทางเดินเรือในทะเลแดงให้เสรีและเปิดกว้าง
พบกับรายการ The Intelligence Update อัปเดตสถานการณ์ต่างประเทศที่น่าสนใจ วันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่อง “ติดตามโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน”