The Intelligence Update 24/04/2024 : อินเดียอาจเพิ่มการสะสมอาวุธในเอเชีย ตอ.ต.
พบกับรายการ The Intelligence Update อัปเดตสถานการณ์ต่างประเทศที่น่าสนใจ วันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่อง “อินเดียอาจเพิ่มการสะสมอาวุธในเอเชีย ตอ.ต.”
พบกับรายการ The Intelligence Update อัปเดตสถานการณ์ต่างประเทศที่น่าสนใจ วันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่อง “อินเดียอาจเพิ่มการสะสมอาวุธในเอเชีย ตอ.ต.”
นายหวัง เหวินบิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงเมื่อ 23 เม.ย.67 กรณีตำรวจสหราชอาณาจักรและเยอรมนีจับกุมบุคคลต้องสงสัยเป็นสายลับให้แก่หน่วยข่าวกรองจีนเมื่อ 22 และ 23 เม.ย.67 ว่า ทฤษฎีภัยคุกคามจากสายลับจีน (Chinese spy threat theory) ไม่ใช่ประเด็นใหม่ในยุโรป และว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อใส่ร้ายจีนและทำลายบรรยากาศความร่วมมือระหว่างจีนกับยุโรป พร้อมกับยืนยันว่าจีนดำเนินความร่วมมือกับทุกประเทศบนพื้นฐานของการเคารพและไม่แทรกแซงกิจการภายในกันภายใต้กรอบกฎหมาย ทั้งนี้ เมื่อ 22 เม.ย.67 ตำรวจอังกฤษจับกุมชาย 2 คนโดยตั้งข้อหาเป็นสายลับให้จีน โดยผู้ต้องหารายหนึ่งเป็นนักวิจัยของ สมาชิกสภาพรรคอนุรักษ์นิยม และเมื่อ 23 เม.ย.67 เยอรมนีจับกุมผู้ต้องสงสัย 3 ราย โดยรายหนึ่งเป็นผู้ช่วยของสมาชิกรัฐสภายุโรปถูกตั้งข้อหาในความผิดฐานจารกรรมจากการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่อาจใช้ในกิจการทางทหารให้แก่หน่วยข่าวกรองจีน
สำนักข่าวยอนฮับของเกาหลีใต้ และเว็บไซต์ NK News รายงานเมื่อ 24 เม.ย.67 อ้างการรายงานของ สำนักข่าว KCNA ของทางการเกาหลีเหนือว่า นายยุน จ็อง-โฮ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศของเกาหลีเหนือพร้อมคณะเดินทางออกจากเกาหลีเหนือเมื่อ 23 เม.ย.67 เพื่อเยือนอิหร่าน (ไม่ระบุห้วงเยือนที่ชัดเจน) ซึ่งเป็นการเยือนอิหร่านของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเกาหลีเหนือครั้งแรกในรอบ 5 ปี ทั้งนี้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า เกาหลีเหนือต้องการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางทหารที่ใกล้ชิดกับอิหร่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลีเหนือวิเคราะห์ว่า เกาหลีเหนืออาจขอรับความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีขีปนาวุธจากอิหร่าน เฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาขีปนาวุธขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแข็งและติดตั้งหัวรบความเร็วเหนือเสียง ขณะที่ประเทศตะวันตกอ้างว่า เกาหลีเหนือและอิหร่านมีความร่วมมือด้านการพัฒนาอาวุธในอดีต แต่ไม่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดเกี่ยวกับความร่วมมือดังกล่าวในปัจจุบัน นอกจากทั้งสองประเทศสนับสนุนอาวุธให้รัสเซียทำสงครามในยูเครน
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศหมู่เกาะที่ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ๆ กับการเพิ่มขีดความสามารถด้านการทหารเพื่อปกป้องความมั่นคงและปลอดภัยทางทะเล แม้เมื่อก่อนกองทัพฟิลิปปินส์จะให้ความสำคัญกับเรื่องการปราบปรามกองกำลังติดอาวุธในประเทศเป็นอันดับแรก แต่พอการเมืองและความมั่นคงภายในสงบมากขึ้น ประเทศนี้ก็ต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับอันตรายจากภายนอก เพราะประเทศนี้ล้อมด้วยทะเลทุกด้าน กองทัพฟิลิปปินส์จึงต้องกระจายกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ให้พร้อมเผชิญอันตรายจากทุกหนแห่ง ว่ากันว่า…. กองทัพฟิลิปปินส์หรือ Armed Forces of the Philippines (AFP) ประกอบด้วยกำลังพลพร้อมรบอย่างน้อย 125,000 นาย และยังมีกำลังพลสำรองประมาณ 130,000 นาย บทบาทของกองทัพฟิลิปปินส์สำคัญต่อความมั่นคงของชาติอย่างมาก เพราะนอกจากจะมีบทบาททางการเมืองหลายครั้ง กอบกู้วิกฤตทางการเมืองจากผู้นำที่ฉ้อโกงได้หลายสมัย กองทัพฟิลิปปินส์ยังถือว่าเป็นกลไกและช่องทางเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจ อย่างสหรัฐอเมริกามาโดยตลอดด้วย ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในฐานะพันธมิตรด้านความมั่นคงระหว่างฟิลิปปินส์กับสหรัฐอเมริกา ทำให้ฟิลิปปินส์ไม่เคยหายไปจากการเมืองระหว่างประเทศ ตลอดจนทำให้เรื่องการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศ (national defense) เป็นเรื่องที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องให้ความสำคัญอยู่เสมอ ………..เมื่อเน้นไปที่ความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างสหรัฐฯ กับฟิลิปปินส์ อาจย้อนไปได้ถึงช่วงปี 2444 ที่สหรัฐฯ เริ่มปกครองฟิลิปปินส์ ตามสนธิสัญญาปารีส นานมากกว่า 50 ปี ต่อจากสเปน ทำให้รูปแบบการเมืองและการกำหนดนโยบายของอเมริกามีอิทธิพลต่อฟิลิปปินส์อย่างมาก รวมทั้งส่งผลให้การกำหนดนโยบายต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์เอื้อประโยชน์ต่ออเมริกาจนถึงทุกวันนี้ …..ที่สำคัญก็คือ ทำให้สหรัฐฯ กับฟิลิปปินส์ยังคงมีความร่วมมือด้านการทหารที่ใกล้ชิดกันอย่างมาก เพราะมีสนธิสัญญาป้องกันร่วม หรือ Mutual Defense…
สำนักข่าว RT และ Al Jazeera รายงานเมื่อ 22 เม.ย.67 ว่า กองทัพรัสเซียใช้ขีปนาวุธร่อน Kh-59 ยิงถล่มเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ขนาดใหญ่ สูง 240 เมตร ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ป่าในเมืองคาร์คีฟ ฝั่งตะวันออกของยูเครน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต แต่สร้างความเสียหายแก่โครงสร้างหนึ่งในสามของเสาสัญญาณ และส่งผลกระทบต่อการส่งสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลภายในเมือง รัสเซียอ้างว่ากองทัพยูเครนใช้เสาส่งสัญญาณดังกล่าวติดตั้งอุปกรณ์ทางเทคนิคต่างๆ รวมถึงอากาศสื่อสารกับระบบป้องกันภัยทางอากาศ ด้านประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ระบุว่าการโจมตีเสาสัญญาณเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรัสเซียที่จะพลักดันพลเมืองยูเครนให้อพยพออกจากเมืองคาร์คีฟ
ข่าวสารนิเทศองค์การสหประชาชาติ (UN) รายงานเมื่อ 22 เม.ย.67 อ้างแถลงของนาย Stéphane Dujarric โฆษกเลขาธิการ UN ในวันเดียวกันว่า นายอันโตนิอู กุแตเรซ เลขาธิการ UN ยังคงให้ความสำคัญต่อการตรวจสอบการทำงานของสำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ (United Nations Relief and Works Agency for Palestine Refugees in the Near East-UNRWA) ภายหลังที่อิสราเอลอ้างว่าเจ้าหน้าที่ UNRWA มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุโจมตีอิสราเอลเมื่อ 7 ต.ค.66 โดยตั้งกลุ่มตรวจสอบอิสระ (Independent Review Group) มี นางCatherine Colonna อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส เป็นประธาน เพื่อตรวจสอบปัญหาความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ด้านมนุษยธรรมของ UNRWA ซึ่งกลุ่มตรวจสอบอิสระจัดทำรายงานขั้นสุดท้าย (final report) เสนอเลขาธิการ UN แล้ว เมื่อ 20 เม.ย.67 นอกจากนี้…
กองทัพฟิลิปปินส์-สหรัฐฯ เริ่มต้นการฝึกร่วมรหัสบาลิกันตัน (เคียงบ่าเคียงไหล่) ซึ่งเป็นการฝึกร่วมใหญ่ประจำปีเมื่อ 22 เม.ย.67 นับเป็นปีแรกที่ขยายพื้นที่ฝึกออกนอกน่านน้ำฟิลิปปินส์ โดยพื้นที่ฝึกบางส่วนอยู่ในบริเวณใกล้กับทะเลจีนใต้และไต้หวัน และเป็นครั้งแรกที่หน่วยยามฝั่งของฟิลิปปินส์เข้าร่วมฝึกด้วย รูปแบบการฝึกที่สำคัญ ได้แก่ ปฏิบัติการจำลองการยึดคืนเกาะที่ถูกยึดครอง ปฏิบัติการจมเรือ การป้องกันภัยทางอากาศ ภัยทางไซเบอร์ และสงครามข่าวสาร โดยสหรัฐฯ ส่งกำลังพลเข้าร่วม 11,000 นาย ฟิลิปปินส์ 5,000 นาย ฝรั่งเศสซึ่งส่งกองกำลังเข้าร่วมเป็นครั้งแรก จะส่งเรือรบเข้าประจำการการฝึกด้วย ขณะที่ประเทศในยุโรปและเอเชีย 14 ประเทศ รวมทั้งไทย เข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์
สถานการณ์เมียวดีรุนแรงมากขึ้น และยังคงมีผู้หนีภัยจากการสู้รบเข้ามาในไทยอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่จะมองว่าแพ้ชนะอยู่ตรงไหน รับฟังบทวิเคราะห์ได้ที่นี่… The Intelligence Exclusive Talk โดยนายธนากร บัวรัษฏ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เจ้าของเพจ TB-Talk
ทำความรู้จักโครงการขุดคลองฟูนัน-เตโช Megaproject ของกัมพูชาที่กำลังเป็นจุดสนใจใหม่ของเอเชีย!! กัมพูชาจะขุดคลองเชื่อมราชธานีพนมเปญกับอ่าวไทยเพื่ออะไร? ใครเข้าไปลงทุนในโปรเจคนี้? …และจะส่งผลอย่างไรต่อภูมิภาค? ติดตามได้ใน Int Podcast ตอนที่ 140
สหรัฐฯ เผชิญความท้าทายในการควบคุมการประท้วงต่อต้านสงครามในฉนวนกาซา และสนับสนุนสิทธิของชาวปาเลสไตน์ เนื่องจากการประท้วงแพร่กระจายไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะในสถาบันศึกษาและมหาวิทยาลัย จนมีความเสี่ยงที่จะเป็นการเริ่มสะสมแนวคิดเกลียดชังชาวยิว หรือ antisemitism โดยมีรายงานเมื่อ 22 เมษายน 2567 ว่า สหรัฐฯ ต้องใช้มาตรการควบคุมตัวผู้ประท้วงในหลายพื้นที่ เฉพาะอย่างยิ่งในมหาวิทยาลัย Columbia และ Yale ที่มีรายงานการจับกุมผู้ประท้วงจำนวนมาก ปัจจุบันมีรายงานการประท้วงที่มหาวิทยาลัย Michigan, New York, และ the Massachusetts Institute of Technology ทั้งหมดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงของประเทศ หรือ Ivy League