มหานครราชสีมา towards Korat Metropolis
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองอันดับหนึ่งของประเทศไทยในฐานะ “มหานครโตเดี่ยว” เนื่องจากเป็นแหล่งรวมอาชีพ แหล่งท่องเที่ยว ครองอันดับ 1 เมืองที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มหาศาลต่อไป และด้วยความเจริญที่กระจุกอยู่เพียงแห่งเดียวนี้ ก็ได้นำความแออัดหนาแน่น และปัญหาคุณภาพชีวิตสู่คนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเมือง และยังเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างสูง ไม่ว่าจะด้วยเรื่องการศึกษา แหล่งงาน หรือการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและ สาธารณูปการ ถ้าคิดจะแก้ไขปัญหาความหนาแน่นของเมือง ตามแนวทางของการกระจายอำนาจ “การพัฒนาพื้นที่ชนบท” อาจจะเป็นคำตอบ เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความเจริญในการบริหารจัดการประเทศ สังเกตไหมว่า….ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีทั้งศูนย์กลางทางเศรษฐกิจหลายศูนย์ มีมหานครและเมืองรองที่มีความเจริญทัดเทียมกัน เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ส่วนบางประเทศได้กำหนดให้เมืองแต่ละเมืองมีหน้าที่ (Function) แตกต่างกัน เช่น เมืองปูตราจายาของมาเลเซีย เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองที่ย้ายหน่วยงานราชการสำคัญๆ ออกจากเมืองกัวลาลัมเปอร์ที่มีความหนาแน่น เมืองโคลัมโบที่เป็นเมืองท่าของศรีลังกา ซึ่งตั้งเป้าที่จะเป็นมหานครใหม่เทียบเท่ากับดูไบของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือเมืองอู่ตะเภาในจังหวัดระยองที่จะพัฒนาสนามบินนานาชาติและเป็นเมืองศูนย์กลางการบินของประเทศ ด้วยโครงสร้างการบริหารประเทศของไทยที่มีการมอบอำนาจให้สู่จังหวัด และมีงบประมาณในการพัฒนาจังหวัดที่เฉลี่ยตามจำนวนประชากร โครงสร้างและการบริหารจัดการตามแนวทางนี้ทำให้การพัฒนาจังหวัดของไทยส่งเสริมลักษณะ “ความโตเดี่ยว” ของเมืองมากขึ้น จึงเกิดเมืองที่มีแนวโน้มที่จะเป็น “เมืองรอง” ต่อจากกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนประชากรมาก 3 ลำดับ ได้แก่ เชียงใหม่ อุบลราชธานี…