The Intelligence Weekly Review 20/10/2024
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
จาก EP1 เล่าเรื่องเสน่ห์ของเกาะกูด สาวสวยแห่งท้องทะเลไทยแล้ว ก็อยากจะเล่าต่อใน EP 2 ว่า “ทำไมชาวเน็ตไทยต้อง #saveเกาะกูด ” โดยจะขอเล่าจากข้อเท็จจริงจากหลักฐานและมุมมองทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้คลายกังวล ซึ่งตามที่เล่าไปเมื่อ EP 1 แล้วว่า ชาวเน็ตไทยค่อนข้างกังวลว่าการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชาจะกระทบต่อดินแดนและอธิปไตยเหนือเกาะกูด จากจุดพักเรือสู่จุดยุทธศาสตร์ หากย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคอาณาจักรสุโขทัย การเดินเรือในสมัยนั้น ต้องใช้เวลานาน มีการหยุดพัก บางครั้งเผชิญกับพายุหรือมีปัญหาในระหว่างทาง เกาะกูดเป็นหนึ่งในจุดพักเรือสำคัญของเรือที่เดินทางผ่าน พอถึงอาณาจักรอยุธยา เกาะกูดเป็นจุดที่เรือสินค้าจากจีน อินเดีย และตะวันตก ใช้เป็นแหล่งพักผ่อนและสะสมเสบียง เมื่อเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สถานะของเกาะกูดชัดเจนขึ้น เนื่องจากกัมพูชาซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ในตอนนั้น เกาะกูดจึงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ไทยต้องรักษาไว้ ขณะที่ฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของกัมพูชา เริ่มมองหาโอกาสที่จะขยายอาณานิคมในพื้นที่ทะเลตราด เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และสามารถควบคุมเส้นทางเดินเรือได้ ความขัดแย้งหลังยุคอาณานิคม หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส รัฐบาลกัมพูชาได้เริ่มอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทะเลตราดและเกาะกูดอีกครั้ง อ้างอิงจากแผนที่โบราณของอาณาจักรขะแมร์ที่แสดงให้เห็นว่าเกาะกูดเคยตกอยู่ในเขตอำนาจของอาณาจักรนี้ เมื่อกัมพูชาส่งเสียงเรียกร้องดังขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาก็เริ่มตึงเครียดในช่วงรัฐบาลของพระนโรดมสีหนุและต่อมาภายใต้เขมรแดงได้กล่าวหาว่าไทยพยายามแทรกแซงและครอบครองพื้นที่เกาะและชายฝั่งบางส่วนที่ควรจะเป็นของกัมพูชา ขณะที่ฝั่งไทยเองก็มองว่า กัมพูชาพยายามบ่อนทำลายเสถียรภาพทางทะเลและเศรษฐกิจของไทย พื้นที่ทะเลดังกล่าวยังมีทรัพยากรน้ำมันดิบกว่า 300 ล้านบาเรล และก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 10 ล้านล้านบาท…
จนท.ตร.ญี่ปุ่นจับกุมชายชาวญี่ปุ่นอายุ 49 ปี บริเวณทางเข้าทำเนียบ นรม.ญี่ปุ่น กรุงโตเกียว เมื่อ 19 ต.ค.67เวลาประมาณ 06.00 น. หลังก่อเหตุขว้างวัตถุคล้ายระเบิดเพลิงจำนวน 5-6 ลูก ใส่ที่ทำการพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party-LDP) เป็นเหตุให้รถยนต์ของ ตร.ควบคุมฝูงชน ที่จอดอยู่บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ จากนั้นขับรถยนต์ไปที่บริเวณทางเข้าทำเนียบที่ห่างออกไปประมาณ 1 กม. และพุ่งชนเครื่องกีดขวาง แต่ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ จึงพยายามขว้างระเบิดควันจำนวน 1 ลูก แต่จนท.ตร.ควบคุมตัวไว้ได้ก่อน โดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทั้งนี้ จนท.ตร พบถังพลาสติกสำหรับบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงหลายถังในรถยนต์คันก่อเหตุ และกำลังสอบสวนมูลเหตุจูงใจ แต่ชายรายดังกล่าวยังไม่ยอมให้การต่อพนักงานสอบสวน
สนข.Bloomberg รายงานเมื่อ 18 ต.ค.67 อ้างการเปิดเผยของ นางElisa de Anda Madrazo ประธานคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (Financial Action Task Force-FATF) ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งใหม่ เมื่อ ก.ค.67 ว่า FATF จะปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นบัญชีประเทศที่อยู่ในกลุ่มเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน (Grey list) การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังที่ FATF ถูกวิจารณ์ว่าเข้มงวดกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามากเกินไป และให้อิสระกับประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันประเทศที่ FATF ขึ้นบัญชี Grey list มี 21 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคแอฟริกา และมี 2 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่อยู่ในกลุ่มบัญชีดำ (Blacklist) ของ FATF คือ เกาหลีเหนือ อิหร่าน และเมียนมา
ประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน ของสหรัฐฯ อาจเยือนป่าฝนแอมะซอน และพบหารือกับประธานาธิบดี Luis Inacio Lula da Silva ของบราซิล ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะเข้าร่วมการประชุมผู้นำ G20 ที่บราซิลเป็นเจ้าภาพระหว่าง 18-19 พ.ย.67 โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจเยี่ยมชมบริเวณปากแม่น้ำแอมะซอนห้วง 16 -17 พ.ย.67 หลังเสร็จสิ้นการประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย -แปซิฟิก ( APEC) ที่เปรูจะเป็นเจ้าภาพระหว่าง 10-16 พ.ย.67
เวลาได้ยินข่าวความสำเร็จของขบวนรถพยาบาลที่วิ่งด้วยความเร็วเพื่อแข่งกับเวลา บางครั้งต้องมาจากต้นทางที่ห่างไกลจากปลายทาง และระหว่างทางก็ได้รับน้ำใจจากเพื่อนร่วมทางที่พร้อมใจกันเปิดทาง เพื่อให้การนำอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีน้ำใจส่งถึงผู้รับทันเวลาต่อทีมแพทย์ และพยาบาลทำกำลังเตรียมพร้อมจะทำการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะให้ผู้ป่วยที่เฝ้ารออวัยวะที่จะสร้างชีวิตใหม่ให้เขาหรือเธอ เชื่อแน่ว่าทุกคนที่ได้ยินข่าวแบบนี้และร่วมลุ้นไปด้วยกัน จะรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจไปด้วยกับทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งชื่นชมน้ำใจของผู้บริจาคที่อิ่มบุญด้วยการช่วยเหลือเพื่อนมุนษย์ และใจฟูไปกับผู้ได้รับบริจาคที่ได้ต่อชีวิตอีกครั้ง ไม่แปลกที่การบริจาคอวัยวะที่มาจากผู้เสียชีวิตซึ่งเต็มใจจะเป็นผู้ให้ โดยมีเอกสารยินยอมเป็นผู้บริจาคอวัยวะและดำเนินการไปตามกระบวนการบริจาคอวัยวะอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และไม่มีผลประโยชน์ทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง จะเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยินดี แต่หากเป็นการให้อวัยวะที่ผู้ให้จำเป็นต้องให้เพราะตกเป็นเหยื่อของกลุ่มอาชญากรรม หรือต้องขายเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ถือเป็นเรื่องน่าเศร้าและเป็นการก่ออาชญากรรม รวมทั้งเชื่อมโยงกับการค้ามนุษย์ การค้าอวัยวะเป็นอาชญากรรมไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเองของเจ้าของอวัยวะที่จำเป็นต้องขาย หรือการตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ที่ล่อลวงเจ้าของอวัยวะด้วยการทำหน้าที่เป็นคนกลางในการซื้อขาย ซึ่งผู้ป่วยบางรายยินดีที่จะทำผิดกฎหมายและยอมจ่ายค่าปลูกถ่ายอวัยวะ แม้จะเป็นการแสวงประโยชน์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจนหรือไม่มีทางเลือก การค้าอวัยวะมีคำสำคัญที่เกี่ยวข้อง 2 คำ ได้แก่ “การค้าอวัยวะ” ซึ่งหมายรวมถึงการปลูกถ่ายอวัยวะที่ผิดกฎหมาย และ “การค้ามนุษย์เพื่อเอาอวัยวะ” ทั้งสองกรณีเป็นสิ่งผิดกฎหมายและเป็นอาชญากรรม แต่แตกต่างกันในแง่กฎหมาย กล่าวคือ “การค้าอวัยวะ” หมายถึงการจัดการกับอวัยวะอย่างผิดกฎหมาย ที่เห็นบ่อย ๆ คือ การขายอวัยวะเพื่อผลกำไรหรือการโฆษณาความเต็มใจที่จะซื้อหรือขายอวัยวะ เช่น บางคนออกมาประกาศขายไตหรือดวงตา ส่วน “การค้ามนุษย์เพื่อเอาอวัยวะ” เป็นการกระทำของกลุ่มผู้ค้ามนุษย์ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการหลอกลวงหรือบีบบังคับเหยื่อ ซึ่งมักเป็นคนเปราะบาง เช่น ผู้ลี้ภัย ผู้อพยพ ผู้ขอลี้ภัย และผู้ลักลอบเข้าเมือง เนื่องจากคนเหล่านี้ไม่มีทางเลือกและไร้ที่พึ่งจึงจำยอมที่จะต้องขายอวัยวะเพื่อเอาตัวรอด ในห้วงที่โลกตกอยู่ในภาวะสงครามหลายพื้นที่และล้วนเป็นสงครามที่ยาวนานเป็นปี ที่ยังไม่มีทีท่าจะยุติ ซ้ำร้ายยังดูจะรุนแรงขึ้นทุกขณะด้วยความต้องการจะเป็นผู้ชนะของคู่สงคราม…
การใช้ไซเบอร์แทรกแซงการเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นใน 5 พฤศจิกายน 2567 ค่อนข้างคึกคัก แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับแวดวงการเลือกตั้งในสหรัฐฯ เรื่องนี้ก็เคยครึกโครมในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปปี 2559 ที่รัสเซียถูกกล่าวหาว่าใช้โลกไซเบอร์แทรกแซงการเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐฯ ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐฯ ครั้งนี้ ก็มีข่าวสารจากทั้งทางการ และสื่อสหรัฐฯ เป็นระยะ ๆ ว่า ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง แฮกเกอร์ก็พยายามจะเจาะ เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐฯ