รอบรั้วอาคเนย์ ปักษ์แรก ก.ค.67
รอบรั้วอาคเนย์ Intelligence Report by NIA ฉบับปักษ์แรกเดือน กรกฎาคม 2567
รายงานสถานการณ์และบทบาทของผู้นำที่น่าสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมประเมินแนวโน้ม
รอบรั้วอาคเนย์ Intelligence Report by NIA ฉบับปักษ์แรกเดือน กรกฎาคม 2567
รายงานสถานการณ์และบทบาทของผู้นำที่น่าสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมประเมินแนวโน้ม
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน แถลงเมื่อ 14 ก.ค.67 ว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ขอแสดงความเห็นใจต่ออดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จากกรณีการถูกลอบยิงระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อ 13 ก.ค.67 และว่าจีนกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
นายกรัฐมนตรีลอว์เรนซ์ หว่อง ของสิงคโปร์ ระบุผ่านสื่อสังคมออนไลน์เมื่อ 14 ก.ค.67 ว่าตกใจอย่างยิ่งที่ทราบเหตุพยายามลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ แต่ก็โล่งใจเมื่อทราบว่านายทรัมป์ปลอดภัย และขอส่งความห่วงใยถึงครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุโจมตีที่ไร้เหตุผลดังกล่าว โดยย้ำจุดยืนของสิงคโปร์ที่ไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงต่อผู้มีความเห็นแตกต่างกัน ด้านประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ของฟิลิปปินส์ แถลงผ่านแพลตฟอร์มเอ็กซ์ด้วยเนื้อหาใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ผู้นำฟิลิปปินส์ขอแสดงจุดยืนร่วมกับผู้รักในประชาธิปไตยทั่วโลก ในการประณามการใช้ความรุนแรงทางการเมืองในทุกรูปแบบ
นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดิ ของอินเดีย เผยแพร่ข้อความผ่านแพลตฟอร์ม x ( ทวิตเตอร์) เมื่อ 14 ก.ค.67 แสดงความห่วงกังวลอย่างยิ่งต่อเหตุอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ถูกลอบยิง ขณะปราศรัยหาเสียงเมื่อ 13 ก.ค.67 โดยประณามเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมระบุว่า การใช้ความรุนแรงไม่ควรมีอยู่ในวิถีทางการเมืองและประชาธิปไตย และส่งความปรารถนาดีขอให้อาการของอดีตประธานาธิบดีทร้มป์เป็นปกติในเร็ววัน ในโอกาสเดียวกันนี้ นายโมดิยังได้แสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิต และส่งกำลังใจให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ตลอดจนชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้
คณะกรรมการกิจการต่างประเทศของสภาประชาชนแห่งชาติจีน (National People’s Congress-NPC) และสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ (Chinese People’s Political Consultative Conference-CPPCC) ออกแถลงการณ์เมื่อ 13 ก.ค.67 ประณามสหรัฐฯ ต่อการพิจารณาผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการแก้ไขความขัดแย้งกรณีทิเบต (Promoting a Resolution to the Tibet-China Dispute Act) เมื่อ 12 ก.ค.67 โดยระบุว่า ทิเบต (Xizang) เป็นส่วนหนึ่งของจีน กฎหมายดังกล่าวของสหรัฐฯ ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน บ่อนทำลายผลประโยชน์ของจีน และเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดอย่างร้ายแรงต่อกลุ่มเรียกร้องเอกราชของทิเบต ทั้งนี้ หากสหรัฐฯ ยังคงดำเนินการไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง จีนจะดำเนินมาตรการเพื่อปกป้องอธิปไตย ความมั่นคงและผลประโยชน์ของจีนอย่างเต็มที่เช่นกัน
สำนักข่าว Myanmar Now รายงานเมื่อ 12 ก.ค.67 อ้างคำกล่าวของโฆษกกองทัพสหรัฐว้า (UWSA) ว่า กองทัพได้เข้าควบคุมเมืองตางยานทางตอนเหนือของรัฐฉาน เมื่อ 11 ก.ค.67 เพื่อป้องกันไม่ให้แนวรบบริเวณเมืองลาเสี้ยวขยายเข้ามา ซึ่งการเข้าควบคุมเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการเจรจากับผู้บัญชาการทหารในพื้นที่และเป็นไปตามคำร้องขอของชาวบ้าน อย่างไรก็ดี สำนักข่าวท้องถิ่นของรัฐฉาน เปิดเผยว่า ก่อนหน้าที่จะมีการเจรจา UWSA ได้ส่งทหารจำนวน 2,000 นาย จากกองพลที่ 171 ซึ่งมีฐานทัพใกล้ชายแดนไทยเข้ามาเสริมกำลังในพื้นที่แล้ว ทั้งนี้ การปะทะกันอย่างรุนแรงรอบเมืองลาเสี้ยว เริ่มมาตั้งแต่ 3 ก.ค.67 และกลายเป็นจุดสำคัญของปฏิบัติการ 1027 ในรอบใหม่นี้ แม้กองทัพจะยังควบคุมเมืองลาเสี้ยวซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการตะวันออกเฉียงเหนือไว้ได้ แต่ชาวบ้านหลายพันคนในพื้นที่ได้หลบหนีออกจากเมืองในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังการสู้รบทวีความรุนแรงขึ้น
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เผยแพร่เมื่อ 11 ก.ค.67 ว่า Dr. Vipin Narang รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ฝ่ายนโยบายด้านอวกาศ และ Dr. Cho Chang Lae รัฐมนตรีช่วยกลาโหมของเกาหลีใต้ เป็นประธานร่วมของกลุ่มที่ปรึกษานิวเคลียร์ (Nuclear Consultative Group -NCG) ที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในวันเดียวกัน และได้ลงนามร่วมในแนวปฏิบัติระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีใต้ เพื่อป้องปรามและปฏิบัติการทางนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งจะกำหนดหลักการและขั้นตอนต่าง ๆ ในการสนับสนุนพันธมิตรและกองทัพเพื่อรักษาบทบาทและดำเนินนโยบายการป้องปรามนิวเคลียร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ในการพบหารือนอกรอบการประชุมผู้นำ NATO (สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพ) ระหว่างประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดนของสหรัฐฯ กับประธานาธิบดียุน ซ็อก ย็อล ของเกาหลีใต้ ในวันเดียวกัน ทั้งสองฝ่าย ชื่นชมการดำเนินงานในห้วงปีแรกของ NCG ที่มีความคืบหน้า และแนวปฏิบัติดังกล่าวจำเป็นและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความร่วมมือเพื่อป้องปรามนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี โดยผู้นำสหรัฐฯ ย้ำว่า จะสนับสนุนการตอบโต้ของเกาหลีใต้อย่างเต็มที่หากถูกเกาหลีเหนือโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์
เว็บไซต์ สำนักข่าว Bakhtar รายงานเมื่อ 11 ก.ค.67 ว่า นาย Mohammad Yaqoob Mujahid รองผู้นำตอลิบัน ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมอัฟกานิสถาน กล่าวขอบคุณญี่ปุ่นผ่านนาย Takayoshi Kurumiya เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น/คาบูล ที่ให้ความช่วยเหลือแก่อัฟกานิสถานในห้วงที่ผ่านมา รวมทั้งย้ำถึงความสำคัญของการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี ขณะที่เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น/คาบูล กล่าวว่าจะให้ความช่วยเหลืออัฟกานิสถานในหลายด้าน อาทิ ด้านสาธารณสุข การเกษตร และการศึกษาต่อไป
สำนักข่าว AKP ของทางการกัมพูชา รายงานเมื่อ 12 ก.ค.67 ว่า สมเด็จฯ ควน สุดารี ประธานสภาแห่งชาติกัมพูชา และนายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาไทย ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาแห่งชาติกัมพูชาและรัฐสภาไทย ที่กรุงเทพฯ เมื่อ 11 ก.ค.67 เพื่อสนับสนุนความร่วมมือรอบด้าน ให้คำมั่นจะสนับสนุนการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร วิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ตลอดจนการแลกเปลี่ยนการเยือนทุกระดับ ทั้งนี้ระหว่างเยือน สมเด็จฯ ควน สุดารี ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร