สนธิสัญญาเจนีวากับปฏิบัติการทางทหาร : หลักมนุษยธรรมท่ามกลางความขัดแย้ง
สงครามถือเป็นปรากฎการณ์ที่เลวร้ายที่สุดอย่างหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ นำมาซึ่งความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติการทางทหารในยามสงครามนั้น มักถูกมองว่าเป็นเรื่องของยุทธวิถีและอำนาจ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น แม้ในสถานการณ์ที่โหดร้ายในการทำสงคราม ยังคงมีหลักการและข้อตกลงที่มุ่งลดทอนความทุกข์ทรมาน เพื่อจำกัดความโหดร้ายและปกป้องมนุษยชาติ นั่นคือ “สนธิสัญญาเจนีวา” (Geneva Conventions) ซึ่งวางกรอบทางกฎหมายและมนุษยธรรมสำหรับการปฏิบัติการทางทหาร สนธิสัญญาเจนีวาคืออะไรและเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางทหารอย่างไร ? สนธิสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) คือ ชุดข้อตกลงระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นเพื่อวางรากฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) หรือที่รู้จักกันในชื่อ กฎหมายว่าด้วยสงคราม (Law of War) จุดประสงค์หลักคือการจำกัดผลกระทบของสงคราม โดยเฉพาะการปกป้องบุคคลที่ไม่ใช่คู่ขัดแย้งโดยตรง เช่น พลเรือน บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่สิ้นสภาพการสู้รบ เช่น ผู้บาดเจ็บ เชลยศึก สนธิสัญญาเจนีวาไม่ใช่ข้อเสนอแนะทางศีลธรรม แต่เป็น ข้อผูกพันทางกฎหมาย ที่ทุกประเทศที่ให้สัตยาบัน (ปัจจุบันเกือบทุกประเทศทั่วโลก) ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในระหว่างการปฏิบัติการทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศหรือภายในประเทศ สนธิสัญญาเจนีวา มี 4 ฉบับที่ลงนามและปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 12 สิงหาคม 2492 และเป็นรากฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในปัจจุบัน ได้แก่…