อาเซียนในปี 2568 จะไปในทิศทางใด
ในปี 2568 นี้ อาเซียนเผชิญความท้าทายอะไรบ้าง สถานการณ์ของภูมิภาคจะเป็นไปในทิศทางใดต่อไปภายใต้การนำของมาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนประจำปี 2568 ติดตามรับฟังกันได้ที่ Podcast นี้เลย!!!
ในปี 2568 นี้ อาเซียนเผชิญความท้าทายอะไรบ้าง สถานการณ์ของภูมิภาคจะเป็นไปในทิศทางใดต่อไปภายใต้การนำของมาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนประจำปี 2568 ติดตามรับฟังกันได้ที่ Podcast นี้เลย!!!
หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์รายงานเมื่อ 10 ก.พ.66 อ้างถ้อยแถลงของนายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีลาว ในการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติที่กำกับดูแลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี 2567 เมื่อ 9 ก.พ.66 โดยสั่งการให้คณะกรรมการแห่งชาติฯ รับผิดชอบการเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกและยานพาหนะ งบประมาณ วาระและเนื้อหาการประชุม ซึ่งจะมุ่งหารือเกี่ยวกับสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ อีก 14 คณะ รับผิดชอบด้านสถานที่จัดประชุม ที่พักและร้านอาหาร การส่งเสริมการค้าขายรอบนครหลวงเวียงจันทน์ การซ่อมแซมถนน การดูแลระบบการสื่อสาร และการจัดหายานพาหนะเพื่อขนส่งคณะผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งสั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว จัดเตรียมข้อมูลเนื้อหาและระเบียบวาระเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน Credit Pic : Reuters
กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารของเวียดนามได้ปรับปรุงกฎหมายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้วยการกำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้งานและควบคุมข้อมูลกับหน่วยงานภายในเวียดนาม ประกอบไปด้วย ชื่อ อีเมล ข้อมูลบัตรเครดิต หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ IP ADDRESS
หนังสือพิมพ์ The Global New Light of Myanmar ของทางการเมียนมา รายงานเมื่อ 22 มี.ค.65 ว่า พล.อ.อาวุโส มินอองไลง์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (State Administration Council-SAC) พบหารือกับนายปร๊ะ สุคน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียน ขณะเยือนเมียนมาเป็นวันแรก ที่กรุงเนปยีดอ เมื่อ 21 มี.ค.65 โดยทั้งสองฝ่ายมีประเด็นหารือที่สำคัญคือ การแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในเมียนมา โดยฝ่ายเมียนมาย้ำว่าอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ในเมียนมา ตามระบอบประชาธิปไตยแบบพหุพรรค (Multiparty democracy) และการขึ้นสู่อำนาจของ SAC เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเมียนมาปี 2551 โดยมีสาเหตุมาจากการทุจริตการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2563 นอกจากนี้ ยังชี้แจงว่า SAC จำเป็นต้องใช้กำลังทหารเพื่อปราบปรามการก่อความไม่สงบของกลุ่มก่อการร้าย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน ขณะที่ฝ่ายอาเซียนย้ำถึงการปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน โดยเฉพาะการส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการให้ความร่วมมือกับอาเซียน
สำนักเลขาธิการอาเซียน เผยแพร่แถลงการณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน เพื่อเรียกร้องการหยุดยิงในยูเครน เมื่อ 3 มี.ค.65 ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนห่วงกังวลอย่างมากต่อสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นและทำให้เงื่อนไขด้านมนุษยธรรมเลวร้ายลงในยูเครน จึงเรียกร้องให้มีการหยุดยิงโดยทันที เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจรจาแก้ไขวิกฤตในปัจจุบัน ซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืนในยูเครน นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำแถลงการณ์อาเซียนเมื่อ 26 ก.พ.65 และแสดงความพร้อมของอาเซียนที่จะอำนวยความสะดวกในทุกวิธีที่เป็นไปได้ในการเจรจาสันติภาพระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์ asean.org รายงานเมื่อ 23 ก.พ.65 ว่าในวันเดียวกัน ดาโต๊ะ ปาดูกา ลิม จ็อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน พบหารือกับนาง Anne-Marie Trevelyan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศ ของสหราชอาณาจักร เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เฉพาะอย่างยิ่ง กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน (ASEAN Comprehensive Recovery Framework-ACRF) ความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมดิจิทัล และความเป็นแกนกลางของอาเซียนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก พร้อมทั้งผลักดันปฏิญญาที่เห็นชอบร่วมกันให้นำไปสู่การปฏิบัติ ควบคู่กับแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาอื่น ซึ่งรวมถึงความเป็นไปได้ที่จะจัดทำความตกลงการค้าเสรีหรือความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน นอกจากนี้ อาเซียนเชิญชวนสหราชอาณาจักรลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้นจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(Regional Comprehensive Economic Partnership – RCEP) ซึ่งจะเป็นปัจจัยส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
สภาเศรษฐกิจโลก และ Sea ซึ่งเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้บริโภคระดับโลกในสิงคโปร์ ร่วมออกแบบสอบถามความคิดเห็นผู้คนกว่า 86,000 คน จาก 6 ประเทศในกลุ่มอาเซียน เกี่ยวกับมุมมองการใช้ชีวิตหลังการระบาดของโรค COVID-19