ในฤดูร้อนของทุก ๆ ปี ประเด็นทุเรียนมักได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ไม่ใช่แค่เพราะมีรอบการผลิดอกออกผลของผลไม้เมืองร้อนจากไร่ใน จ.จันทบุรี และภาคตะวันออกเพียงเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องที่ไทยเป็นผู้ผลิตทุเรียนรายใหญ่ที่สุดในโลก มีผลผลิตต่อปีมากกว่า 1,300,000 ตัน ทั้งยังมีมูลค่าที่ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในฐานะผู้เล่นรายสำคัญในตลาดโลกอีก โดยในปี 2564 ไทยสามารถส่งออกทุเรียนไปยังคู่ค้าในจีน ตะวันออกกลาง ยุโรป และสหรัฐอเมริกา คิดรวมเป็นเงินกว่า 3,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย (150,000 ดอลลาร์สหรัฐ) และมาเลเซีย (30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ) เกิน 100 เท่าตัว หากพิจารณาเอาจากภาพรวมที่ปรากฏขณะนี้ หลายคนคงอาจจะเชื่อว่าตลาดทุเรียนไทยยังคงแข็งแกร่ง เพราะมีมูลค่าและปริมาณการผลิตทิ้งห่างจากประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งไปค่อนข้างไกลหลายเท่าตัว แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปกว่าระยะพื้นผิว ……..ข้อคิดดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริงเลย เพราะสิ่งที่มักถูกละเลยไปในประเด็นทุเรียนไทยและต่างประเทศ คือ ต้นทุนการผลิต และมูลค่าของสินค้าที่ถูกขายออกไปในตลาดโลก ทุเรียนมาเลเซีย มีการเพาะปลูกในปริมาณน้อยกว่า หรือประมาณ 400,000 ตันต่อปี แต่กลับสามารถตั้งราคาขายในตลาดได้ถึง 600-700 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ทุเรียนไทยซึ่งครองสถานะเป็นเจ้าตลาด มีอัตราการเพาะปลูกกันมากกว่าพันธุ์จากประเทศเพื่อนบ้านเกือบ 3 เท่าตัว แต่กลับมีราคาขายในตลาดเพียง 130-150 บาทต่อกิโลกรัม ที่เป็นเช่นนั้น…