INT Podcast EP 56 : ความร่วมมือ EU-NATO เพื่อโครงสร้างพื้นฐานในยุโรป
พบกับ INT Podcast EP 56 : ความร่วมมือ EU-NATO เพื่อโครงสร้างพื้นฐานในยุโรป มารับฟังกันครับ…
พบกับ INT Podcast EP 56 : ความร่วมมือ EU-NATO เพื่อโครงสร้างพื้นฐานในยุโรป มารับฟังกันครับ…
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change-IPCC) ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศปี 2566 หรือ “Climate 2023: Synthesis Report” ภายหลังการประชุมประจำปีของ IPCC ระหว่าง 13-17 มี.ค.66 ที่เมืองอินเทอร์ลาเคิน สวิตเซอร์แลนด์ มีเนื้อหาโดยสรุปคือ อุณหภูมิโลกได้เพิ่มสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเวลากว่าศตวรรษ รวมถึงการใช้พลังงานและที่ดินที่ไม่เท่าเทียมและไม่ยั่งยืน ก่อให้เกิดสภาพอากาศสุดขั้วบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหารและน้ำ และโรคระบาดจะมีเพิ่มมากขึ้นและจัดการยากขึ้นเช่นกัน หากต้องการรักษาเป้าหมายที่จะไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส จะต้องลงมือปฏิบัติทันที และต้องลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 60 ภายในปี 2573 ทั้งนี้ IPCC ได้เสนอแนวทางการแก้ไขเพื่อลดหรือหลีกเลี่ยงการปล่อยแก๊สเรือนกระจกในรูปแบบที่ให้ประโยชน์ในวงกว้าง เช่น การเข้าถึงพลังงานสะอาด การใช้พลังงานไฟฟ้าแบบคาร์บอนต่ำ การส่งเสริมการขนส่งแบบคาร์บอนต่ำหรือเป็นศูนย์ และการพัฒนาคุณภาพอากาศ
หนังสือพิมพ์ Khmer Times รายงานเมื่อ 21 มี.ค.66 อ้างการเปิดเผยของสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ณ กรุงเทพฯ ถึงผลการหารือระหว่างนาย Thuch Dalin อุปทูตกัมพูชา/ไทย กับนายภาคิน ภัทรดิษฐกุล ประธานกรรมการบริษัทออนชอร์ โลจิสทิคซ เซอร์วิทเซส (OLS) เมื่อ 17 มี.ค.66 ว่า บริษัท OLS ต้องการลงทุนการพัฒนาด้านพลังงานในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย (Overlapping Claimed Area – OCA) ระหว่างไทย-กัมพูชา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ด้านนาย Thuch Dalin แจ้งให้บริษัท OLS ส่งเอกสารความจำนงต่อทางการกัมพูชาโดยผ่านสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชากล่าวว่า กัมพูชาได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อเจรจาเรื่อง OCA กับไทยเมื่อปี 2565 แต่ยังไม่มีความคืบหน้าจากไทย ด้านนายคุรุจิต นาครทรรพ กรรมการบริหารสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวคาดหวังให้รัฐบาลทั้งสองประเทศทำงานร่วมกันเพื่อลดผลกระทบจากราคาพลังงานโลก
สำนักข่าวซินหัว รายงานเมื่อ 20 มี.ค. 66 ว่า ธนาคารกลางจีนจะลดอัตราเงินสำรองขั้นต่ำ (Required Reserve Ratio-RRR) ของสถาบันทางการเงินภายในจีนลงร้อยละ 0.25 ตั้งแต่ 27 มี.ค. 66 เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงิน ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ทั้งนี้ จากมาตรการดังกล่าวและปริมาณเงินฝากในธนาคารของจีนที่มีประมาณ 268 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 39 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) จะส่งผลให้มีกระแสเงินสดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของจีน ประมาณ 600,000 ล้านหยวน โดยนักวิเคราะห์คาดว่า มาตรการดังกล่าวจะทำให้สถาบันทางการเงินสามารถออกเงินกู้ให้ผู้ประกอบการของจีนในภาคส่วนที่ยังอ่อนแอและกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ได้มากขึ้น
หนังสือพิมพ์ The Jakarta Globe รายงานเมื่อ 20 มี.ค.66 อ้างรายงาน Indonesia : Bright spot in a vibrant ASEAN-6 region ของ DBS Group Research โดยธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย คาดว่าจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 5 – 5.5 ที่มูลค่า 4,000,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568 (จากมูลค่า 2,900,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2563) เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และการบูรณาการระหว่างกันผ่านกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional…