วิกฤตการณ์ธนาคารระดับภูมิภาคในสหรัฐฯ อย่าง Silicon Valley Bank (SVB) กับ First Republic Bank (FRB) และระดับโลกอย่าง Credit Suisse (CS) ล้มละลายอย่างกะทันหันจากปัญหาสภาพคล่องเมื่อไม่นานมานี้ กลายเป็นสิ่งที่ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิดเมื่อทั้งรัฐบาลสหรัฐฯ และสวิตเซอร์แลนด์ต่างประกาศเข้าอุ้มธนาคารดังกล่าวด้วยการอัดฉีดเงินปริมาณมากกว่า 100,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ[1] เข้าสู่ระบบเพื่อป้องกันปรากฏการณ์โดมิโนในกลุ่มธุรกิจธนาคาร นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากท่าทีของธนาคารกลางแห่งยุโรป (ECB) ที่ตัดสินใจดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.50 ตามแผนเดิม พร้อมยืนยันว่า ECB จะยังไม่ยุติภารกิจลดเงินเฟ้อ และจะรักษาเพดานของอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น สะท้อนว่ากรณี CS ขาดสภาพคล่องห้วงที่ผ่านมาไม่ได้กระทบถึงจุดยืนทางการคลังของสหภาพยุโรปเลย ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีในการบ่งชี้ว่าภาคธนาคารยังคงแข็งแกร่ง และยังไม่มีแนวโน้มที่จะล้มลงง่ายๆแบบที่เป็นกระแสมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ประเด็นใหม่ที่เกิดขึ้น และกำลังกลายเป็นกระแสในกลุ่มนักลงทุนห้วงสัปดาห์นี้ คือ กรณีตัวเลขภายในงบดุล (Balance sheet) ของ Fed ได้ปรับตัวทะยานขึ้นอย่างรุนแรงกว่า 300,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ[2] จากการอัดฉีดเงินกู้ชะลอวิกฤติ (Crisis lending) เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่กำลังจะตกอยู่ในภาวะล้มละลาย โดย…