วิเคราะห์ผลการประชุม FOMC Meeting 2-3 พฤษภาคม 2566
กระแสธุรกิจในกลุ่มการเงิน การธนาคารของสหรัฐฯที่เสี่ยงเข้าสู่ภาวะล่มสลาย (bank run) เมื่อห้วงมีนาคม-เมษายนที่ผ่านมากลายเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนให้นักลงทุนในตลาดจำนวนมากทยอยถอนเงินดอลลาร์สหรัฐ ออกจากธนาคาร แล้วหันเหไปให้ความสนใจต่อโลหะมีค่า (precious metals) อย่างทองคำ แร่เงิน และสินทรัพย์ที่อยู่นอกระบบเงินสกุลดอลลาร์อย่างกลุ่ม Cryptocurrencies ส่งผลให้ราคาของกลุ่มสินทรัพย์ดังกล่าวปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับอารมณ์ของตลาดที่กำลังตกอยู่ในภวังค์ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นภายในห้วงปี 2566-2567 ทั้งนี้ ภาคเอกชนหลายแห่งเริ่มเข้าสู่การรัดเข็มขัด ลดการใช้จ่าย และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ/การลงทุน เนื่องจากการขาดสภาพคล่องในตลาดอันเป็นผลกระทบมาจากนโยบาย Quantitative Tightening (QT) และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรุนแรงโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และเลือกที่จะรอความชัดเจนจากทางองค์กรดังกล่าวในห้วงมิถุนายน-กรกฎาคมว่าจะส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเมื่อใด นอกจากนี้ นักลงทุนหลายกลุ่มยังมีความเชื่อดั้งเดิมอยู่ว่าเดือนพฤษภาคมจะเป็นห้วงที่สินทรัพย์เสี่ยงในตลาดจะถูกเทขาย (Sell in May) เพราะนักลงทุนในยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นรายใหญ่ของตลาด จะขายสินทรัพย์บางส่วนเพื่อนำกำไรไปพักผ่อนท่องเที่ยวห้วงฤดูร้อนในไตรมาสที่ 3 ของทุกปี ผลการประชุม FOMC Meeting เดือนพฤษภาคม 2566 การประชุมในครั้งนี้นับว่าไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือเกินกว่าความคาดหมายของนักลงทุน และการสำรวจของเว็บไซต์ CME Group ที่ประเมิน (priced in) กันเอาไว้ตั้งแต่เมื่อห้วง 2-3 เดือนก่อนหน้านี้ว่า Fed จะสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ…