The Intelligence Weekly Review (11/06/2023)
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
“นกอพยพมาเพื่อหนีอากาศหนาว และหาแหล่งที่อยู่อาศัยเพื่อเอาตัวรอด จากนั้นก็จะอพยพกลับไปยังแหล่งกำเนิด” วงจรนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะสิ่งมีชีวิตจะหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม เพื่อสร้างภาวะที่สบาย ไม่แตกต่างจากสิ่งที่มนุษย์ต้องการ คือ “ความสบาย” ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดการเดินทางระยะไกล ดังนั้น ระยะทางและการขนส่งจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ทรัพยากรเป็นอย่างมาก ..ทั้งการทำโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานพาหนะ และการใช้พลังงานเพื่อขับเคลื่อนยานพาหนะ แล้วโลกนี้จะเป็นอย่างไร?? หากเส้นทางที่ต้องใช้ทรัพยากรมากมายเหล่านี้หายไป!! และเปลี่ยนสภาพกลายไปเป็นเพียง “คลื่นวิทยุ” ที่เคลื่อนที่ผ่านอากาศได้ เราเชื่อว่า นวัตกรรมนี้จะเปลี่ยนแปลงโลกได้อีกครั้ง ทั่วโลกได้ทำความรู้จักและใช้การชาร์จพลังงานแบบ “ไร้สาย” หรือ การส่งกระแสไฟฟ้าที่สามารถผ่านได้ด้วยการสัมผัส ถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าสู่แบตเตอร์รี่ได้มาระยะหนึ่งแล้ว และ “การแปรรูปพลังงาน” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เช่น เตาไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานความร้อน การเปลี่ยนสัญญาณโทรศัพท์เป็นคลื่นเสียง เปลี่ยนสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นข้อมูลมหาศาล เป็นต้น และการส่งไฟฟ้าแบบไร้สาย ก็เป็นการแปรรูปพลังงานแบบหนึ่ง โดยเป็นกระบวนการแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อัดแน่น จากนั้นก็ส่งออกคลื่นแม่เหล็กไป คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไร้อันตรายนี้จะส่งต่อไปยังตัวรับ เพื่อแปลงคลื่นให้กลับไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้อีกครั้ง …กระบวนการนี้ทำให้สามารถลดต้นทุนการส่งไฟฟ้าได้ โดยเฉพาะในยุคที่วัสดุสำคัญในการส่งไฟฟ้าอย่าง “ทองแดง” มีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ นอกจากนี้ การส่งไฟฟ้าแบบไร้สายยังลดอุปสรรคการส่งไฟฟ้าในพื้นที่ที่ยากต่อการเดินสายไฟเช่นพื้นที่ภูเขา ทำให้พื้นที่ชุมชนที่อยู่ห่างไกล มีโอกาสที่จะเข้าถึงไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เป็นการกระจายความเจริญให้ทั่วทุกพื้นที่ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โลกมีการส่งกระแสไฟฟ้าแบบไร้สาย ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ.1891…
Trend สุขภาพกำลังเป็นที่มาแรงเป็นอย่างมาก บทความนี้ไม่ได้เขียนมาเพื่อโน้มน้าวให้เชื่อว่า การดูแลสุขภาพนั้นดีอย่างไร …….แต่จะเล่าถึงความยิ่งใหญ่ของวงการสุขภาพ ที่มีมิติกว้างกว่าการรักษาพยาบาล แต่ครอบคลุมถึงการดูแลสุขภาพเชิงรุก การป้องกันโรค การดูแลผู้สูงอายุ ศัลยกรรมเพื่อความงาม การชะลอวัย เทคโนโลยีทางการแพทย์ วิทยาการทางการแพทย์ งานวิจัยทางการแพทย์ และการฟื้นฟูบำรุงร่างกาย ภายใต้คำว่า Health care ปัจจุบันธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์นั้นมีหลากหลายมาก ตั้งแต่การให้บริการ โรงงานผลิตอุปกรณ์ ห้องทดลองยารักษาโรค มหาวิทยาลัยที่พัฒนาความรู้ทางด้านการแพทย์ และธุรกิจเหล่านี้กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องไปจนถึงในอนาคตที่มีแนวโน้นการเติบโตที่มั่นคงกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอวกาศหรือธุรกิจเทคโนโลยีที่ดูอาจจะเป็นอนาคตอันเลือนลาง อะไรคือหลักฐานที่ทำให้เราเชื่อเรื่องนี้? ก็มาจากการที่รายได้จากบริษัท Pfizer ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 เพิ่มขึ้น 41% เป็นมูลค่ากว่า 18.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลาแค่ 2 ไตรมาส ตัวเลขเหล่านี้ทำให้การลงทุนในกลุ่ม Healthcare ทั้งหมด เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนในช่วงโควิด 19 แม้ในปัจจุบันอัตราการเติบโตของกองทุนจะไม่รวดเร็วหรือหวือหวาเท่ากับในช่วงเกิดโควิด แต่การเติบโตของธุรกิจในกลุ่ม Healthcare ยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นต่อเนื่อง เพราะความนิยมในการดูแลรักษาสุขภาพ ทำให้เรื่องของการดูแลรักษาร่างกายไม่ใช่เรื่องในโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะกับธุรกิจ การบริการในรูปแบบของ Wellness กิจกรรม Wellness มีอะไรบ้าง…
การทำงานของบุคลากรแต่ละองค์กรในปัจจุบันย่อมที่จะต้องการสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี เพื่อการเตรียมความพร้อมในการทำงาน หากบุคลากรเหล่านั้นได้รับความต้องการตามลำดับ โดยความต้องการในการทำงานลำดับแรกที่จะมีมากที่สุดเป็นความต้องการพื้นฐานที่ทุกคนขาดไม่ได้ ไปจนถึงความต้องการสูงสุดในบันไดขั้นที่ 5 หรือทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการของมาส์โลว์ (Maslow’s hierarchy of needs Theory) 5 ประการ ได้แก่ ……….1)ความต้องการด้านร่างกายหรือด้านกายภาพ (Physiological Needs) 2)ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) 3)ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love Need) 4)ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและความภาคภูมิใจ (Self- Esteem Need) และ 5)ความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-Actualization Needs) ……..จากข้างต้นที่กล่าวมา สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์กรจึงมีผลต่อความต้องการ 5 ประการ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นำไปสู่กระบวนการคิดที่ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานอย่างที่หลายคนมองอย่างจินตภาพไว้คร่าว ๆ “องค์กรแห่งความสุข” หรือ Happy Workplace จึงเป็นกระบวนการพัฒนาบุคลากรในองค์กรอย่างมีเป้าหมาย (Goals) ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) ขององค์กร เพื่อให้บุคลากรมีความพร้อมต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลง นำพาองค์กรไปสู่ความก้าวหน้า ซึ่งมีลักษณะสำคัญ…
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency – IAEA) เผยแพร่แถลงการณ์ เมื่อ 8 มิ.ย.66 เกี่ยวกับเหตุโจมตีเขื่อนโนวา คาคอฟกา ว่าเหตุดังกล่าวยังไม่ส่งผลเสียหายรุนแรงแก่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมืองซาปอริเซียของยูเครน โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริเซีย ยังคงสามารถสูบน้ำหล่อเย็นจากเขื่อนโนวา คาคอฟกา ได้เป็นปกติ แม้ว่าระดับน้ำในเขื่อนจะลดลง 11 เมตร อย่างไรก็ดี IAEA ประเมินว่าหากระดับน้ำในเขื่อนลดลงมากกว่า 12.7 เมตร จะส่งผลให้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริเซียไม่สามารถใช้น้ำจากแหล่งดังกล่าวได้อีกต่อไป และจำเป็นต้องหาแหล่งน้ำอื่นทดแทน ทั้งนี้ นาย Rafael Mariano Grossi ผู้อำนวยการ IAEA มีกำหนดเดินทางไปตรวจสอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริเซียใน 12 มิ.ย.66
เว็บไซต์ทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ รายงานเมื่อ 8 มิ.ย.66 อ้างถ้อยแถลงของประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ขณะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน หลังจากเข้าร่วมพิธีมอบรางวัล Award for Promoting Philippines-China Understanding (APPCU) ที่จัดโดยสมาคมเพื่อความเข้าใจฟิลิปปินส์-จีน และสถานเอกอัครราชทูตจีน ณ กรุงมะนิลา ว่า ฟิลิปปินส์กับจีนจะทำงานร่วมกันเพื่อทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค เฉพาะอย่างยิ่งในทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก รวมทั้งแสวงหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายระหว่างกัน บนพื้นฐานของมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ยาวนาน อีกทั้งจะรักษาความเป็นพันธมิตรทางการค้าที่ดีต่อกัน โดยเฉพาะภาคเอกชนของฟิลิปปินส์ที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน นอกจากนี้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ระบุว่า ความสนใจร่วม ความเชื่อ และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน จะเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างฟิลิปปินส์กับจีน ไม่ใช่ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างกัน Image Credit : Office of the President of the Philippines Presidential Communications Office Tanggapang Pampanguluhan SA Komunikasyon
สำนักข่าว Kyodo News รายงานเมื่อ 9 มิ.ย.66 อ้างถ้อยแถลงของนายมัตสึโนะ ฮิโรคาซุ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ว่า สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะของญี่ปุ่น จะเสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ ระหว่าง 17-23 มิ.ย.66 หลังได้รับคำกราบบังคมทูลเชิญจากนายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียตั้งแต่ ส.ค.62 โดยในการเสด็จฯเยือนครั้งนี้จะประกอบพระราชกรณียกิจต่าง ๆ เช่น เสวยพระกระยาหารร่วมกับประธานาธิบดีอินโดนีเซียและภริยา ทรงมีพระราชดำรัสในโอกาสเสด็จฯเยือนอินโดนีเซีย เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมโครงการรถไฟความเร็วสูงที่อินโดนีเซียก่อสร้างโดยได้รับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น และทรงมีพระราชดำรัสกับชาวญี่ปุ่นในอินโดนีเซียที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ
สำนักข่าว New Straits Times รายงานเมื่อ 8 มิ.ย.66 ว่า นายโมฮัมหมัด ซาบู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารของมาเลเซีย เตรียมประกาศมาตรการลอยตัวราคาไก่แปรรูปและไข่ไก่ ตั้งแต่ 1 ก.ค.66 เพื่อลดภาระแบกรับของรัฐบาล และให้ราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณไก่แปรรูปและไข่ไก่ในตลาดอยู่ในระดับคงที่ นอกจากนี้ มาเลเซียเตรียมยกเลิกมาตรการระงับการส่งออกไก่เนื้อ (ยกเว้นลูกไก่อายุ 1 วัน) และไก่แปรรูป เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้จากการส่งออก และช่วยให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ตลอดจนอนุญาตการนำเข้าสัตว์ปีกจากต่างประเทศ อาทิ ไทย จีน บราซิล เดนมาร์ก และนำเข้าไข่เฉพาะจากไทยกับยูเครน
เว็บไซต์ Reuters รายงานเมื่อ 7 มิ.ย.66 ว่า ศรีลังกาและไทยน่าจะลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement-FTA) ได้ใน มี.ค.67 โดยทั้งสองฝ่ายเริ่มกลับมาเจรจาข้อตกลงอีกครั้งเมื่อ ม.ค.66 หลังการเจรจาหยุดชะงักไป 4 ปี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และเป็นช่วงที่ศรีลังกาเผชิญกับวิกฤตการเงินอย่างรุนแรงและทุนสำรองเงินตราต่างประเทศลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ คณะผู้แทนฝ่ายไทยมีกำหนดเยือนศรีลังการะหว่าง 26-28 มิ.ย.66 เพื่อหารือรายละเอียดข้อตกลง ซึ่งจะเป็นการหารือครั้งที่ 5 โดยจะครอบคลุมประเด็นการค้าสินค้าและบริการ พิธีการทางศุลกากร และการลงทุน
สำนักข่าว Bloomberg รายงานเมื่อ 7 มิ.ย.66 ว่า กองกำลังอวกาศสหรัฐฯ ร่วมกับ สำนักงานลาดตระเวนแห่งชาติ (U.S. National Reconnaissance Office-NRO) เตรียมปล่อยกลุ่มดาวเทียม “Silent Barker” ใน ก.ค.66 เพื่อติดตาม ตรวจจับ และป้องกันภัยคุกคามทางอวกาศจากจีนและรัสเซีย เฉพาะอย่างยิ่งดาวเทียม SJ-21 ของจีน ซึ่งจะทำให้การแข่งขันทางอวกาศระหว่างมหาอำนาจรุนแรงขึ้น โดยกลุ่มดาวเทียม Silent Barker เป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำประจำที่มีเซนเซอร์ตรวจจับจากภาคพื้นดิน อยู่เหนือพื้นโลกประมาณ 22,000 ไมล์ (35,400 กิโลเมตร) และใช้จรวด Atlas V booster ของบริษัท United Launch Alliance นำทางสู่อวกาศ